ข้ามไปเนื้อหา

สถาปัตยกรรมศตวรรษที่ 20 ของแฟรงก์ ลอยด์ ไรต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาปัตยกรรมศตวรรษที่ 20
ของแฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศ สหรัฐ
ภูมิภาค **ยุโรปและอเมริกาเหนือ
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(ii)
อ้างอิง1496
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2019 (คณะกรรมการสมัยที่ 43)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

สถาปัตยกรรมศตวรรษที่ 20 ของแฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ (อังกฤษ: The 20th-Century Architecture of Frank Lloyd Wright) คือแหล่งมรดกโลกของสหรัฐ ประกอบด้วยอาคารจำนวน 8 โครงการ ที่ออกแบบโดยแฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ สถาปนิกชาวอเมริกัน[1]

แหล่งมรดกโลก

[แก้]

ไรต์ออกแบบอาคารที่ได้รับเลือกให้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยอาคารหลังแรก ได้แก่ วิหารยูนิตี (Unity Temple) ที่สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1908 และอาคารสุดท้าย เดอะกุกเกนไฮม์ (The Guggenheim) ที่แม้จะออกเริ่มออกแบบในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 แต่สร้างแล้วเสร็จใน ค.ศ. 1959 ซึ่งเป็นปีที่แฟรงก์เสียชีวิต

ภาพแสดงแผนที่สหรัฐอันเป็นที่ตั้งของอาคารที่ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
รูป ID[2] ชื่อ ที่ตั้ง คำอธิบาย พิกัดแผนที่ พื้นที่ [พื้นที่กันชน]
1496rev-001 วิหารยูนิตี
(Unity Temple)
โอคพาร์ก,
รัฐอิลลินอย
สร้างเสร็จในปี 1908 วิหารแห่งนี้ใช้คอนกรีตเสริมเหล็กในรูปแบบใหม่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน สร้างพื้นที่ที่เต็มไปด้วยแสงด้วย "สีสันของธรรมชาติ"[3] 41°53′18″N 87°47′48″W / 41.88833°N 87.79667°W / 41.88833; -87.79667 0.167 ha (0.41 เอเคอร์) [10.067 ha (24.88 เอเคอร์)]
1496rev-002 คฤหาสน์เฟรเดอริก ซี. โรบี
(Frederick C. Robie House)
ชิคาโก,
รัฐอิลลินอยส์
สร้างในปี 1910 และถือเป็นผลงานชิ้นเอกของสถาปัตยกรรม Prairie School[4] 41°47′23.4″N 87°35′45.3″W / 41.789833°N 87.595917°W / 41.789833; -87.595917 0.130 ha (0.32 เอเคอร์) [1.315 ha (3.25 เอเคอร์)]
1496rev-003 Taliesin สปริงกรีน,
รัฐวิสคอนซิน
เริ่มสร้างในปี 1911 และยังสร้างไม่เสร็จ[5] Taliesin (แปลว่า คิ้วส่องแสง หรือ shining brow ในภาษาเวลส์) คือบ้าน สตูดิโอ และโรงเรียนสถาปนิกของไรท์ เขาสร้างที่ดินขนาดใหญ่บนสันเขาเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของภูเขา ไม่ใช่บนภูเขา (to be "'of the hill' not on it)[6] 43°08′30″N 90°04′15″W / 43.14153°N 90.07091°W / 43.14153; -90.07091 4.931 ha (12.18 เอเคอร์) [200.899 ha (496.43 เอเคอร์)]
1496rev-004 Hollyhock House ลอสแอนเจลิส,
รัฐแคลิฟอร์เนีย
สร้างขึ้นช่วงปี 1918-1321 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นที่แสดงศิลปะแลแสดงละครสดในฮอลลีวูดตะวันออก ซึ่งสร้างขึ้นใกล้กับเวลาที่ธุรกิจภาพยนตร์แคลิฟอร์เนียตอนใต้กำลังจะปิดตัวลง งานของไรท์และเด็กฝึกงานของเขากลายเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งที่เรียกว่า California Modernism[7] 34°05′59.85″N 118°17′40.61″W / 34.0999583°N 118.2946139°W / 34.0999583; -118.2946139 4.608 ha (11.39 เอเคอร์) [13.986 ha (34.56 เอเคอร์)]
1496rev-005 ฟอลลิงวอเทอร์
(Fallingwater)
มิลรัน,
รัฐเพนซิลเวเนีย
ฟอลลิงวอเทอร์สร้างขึ้นเพื่อเป็นบ้านพักฤดูร้อนเมื่อ ค.ศ. 1935 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กรูปทรงเรขาคณิต เหนือธารน้ำและน้ำตกลานหินที่ลาดเอียง ผสมผสานกับการก่อตัวของหินตามธรรมชาติ ไรท์ต้องการให้คู่สามีภรรยาที่ว่าจ้างเขาให้ไม่เพียงแค่มองออกไปที่ลำธารบนทรัพย์สินของพวกเขาในช่วงฤดูร้อน แต่ให้ "อยู่กับน้ำตก ... โดยเป็นส่วนสำคัญของชีวิต [ของพวกเขา]" ("live with the waterfall . . . as an integral part of [their] lives".) สถาบันสถาปนิกอเมริกันยกย่องให้ฟอลลิงวอเทอร์เป็น "งานสถาปัตยกรรมอเมริกันที่ดีที่สุดตลอดกาล"[8] 39°54′22″N 79°28′5″W / 39.90611°N 79.46806°W / 39.90611; -79.46806 11.212 ha (27.71 เอเคอร์) [282.299 ha (697.58 เอเคอร์)]
1496rev-006 Herbert and Katherine Jacobs House แมดิสัน,
รัฐวิสคอนซิน
สร้างขึ้นในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (1937) แนวคิดเบื้องหลังอาคารหลังนี้ เกิดจากแนวคิดการวางผังเมืองของไรท์ที่ต้องการสร้างชุมชนที่อยู่อาศัยอย่างดีในราคาประหยัดสำหรับครอบครัวเดี่ยว ในงบประมาณเพียง 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ[9][10] 43°3′31″N 89°26′29″W / 43.05861°N 89.44139°W / 43.05861; -89.44139 0.139 ha (0.34 เอเคอร์) [1.286 ha (3.18 เอเคอร์)]
1496rev-007 Taliesin West สกอตต์สเดล,
รัฐแอริโซนา
ไรท์เริ่มสร้างอาคารหลังนี้ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1937 เพื่อให้เป็นบ้านประจำฤดูหนาว สตูดิโอและศูนย์มิตรภาพทางสถาปัตยกรรม บริเวณเชิงเขาแมคโดเวลล์ในรัฐแอริโซนา ออกแบบโดยไรท์และนักเรียนของเขา สร้างขึ้นโดยใช้ไม้และหินท้องถิ่นและคอนกรีตผสมทราย[11] 33°36′22.8″N 111°50′45.5″W / 33.606333°N 111.845972°W / 33.606333; -111.845972 4.285 ha (10.59 เอเคอร์) [198.087 ha (489.48 เอเคอร์)]
1496rev-008 พิพิธภัณฑ์โซโลมอน อาร์. กุกเกนไฮม์
(Solomon R. Guggenheim Museum)
นครนิวยอร์ก,
รัฐนิวยอร์ก
เป็นงานที่ไรท์ออกแบบให้กับมูลนิธิกุกเกนไฮม์ในช่วงทศวรรษที่ 1940 ถึง 1950 โดยให้นิยามความเป็นพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ให้เป็นสถานที่ที่สามารถสนทนากับงานศิลปะภายในอาคาร ไรท์ยังคิดว่าการมีพิพิธภัณฑ์ไว้ตรงข้ามกับพื้นที่ธรรมชาติในเซ็นทรัลพาร์คเป็นเรื่องสำคัญ และเขาได้รวมเอารูปแบบของธรรมชาติที่มีความบิดเบี้ยวไว้ในโครงสร้างแบบเกลียว[12][13][14] 40°46′59″N 73°57′32″W / 40.782975°N 73.958992°W / 40.782975; -73.958992 0.251 ha (0.62 เอเคอร์) [2.164 ha (5.35 เอเคอร์)]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The 20th-Century Architecture of Frank Lloyd Wright". UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ July 7, 2019.
  2. "The 20th-Century Architecture of Frank Lloyd Wright : Multiple locations". UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 7 July 2019.
  3. "Unity Temple". Frank Lloyd Wright Foundation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-07-10.
  4. Desai, Sapna (April 22, 1019). "Robie House Reopens After Extensive Restoration". The Chicago Maroon (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-07-10.[ลิงก์เสีย]
  5. Waldek, Stefanie (May 11, 2018). "7 Things You Didn't Know About Frank Lloyd Wright's Taliesin". Architectural Digest (ภาษาอังกฤษ).
  6. "Taliesin". Frank Lloyd Wright Foundation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-07-10.
  7. "Hollyhock House". Barnsdall Art Park Foundation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-07-10.
  8. "Fallingwater". Frank Lloyd Wright Foundation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-07-11.
  9. "First Jacobs House". WTTW Chicago (ภาษาอังกฤษ). 2016-03-26. สืบค้นเมื่อ 2019-07-11.
  10. Wright, Amy Beth (2017-07-04). "Seven Hidden Gems from Frank Lloyd Wright's Usonian Period". Metropolis (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-07-11.
  11. "Taliesin West". The Cultural Landscape Foundation. สืบค้นเมื่อ 2019-07-11.
  12. Kamin, Blair (July 7, 2019). "Column: 8 Frank Lloyd Wright buildings, including Chicago's Robie House and Oak Park's Unity Temple, named to World Heritage List". Chicago Tribune. สืบค้นเมื่อ 2019-07-12.
  13. "The Architecture of the Solomon R. Guggenheim Museum". Guggenheim.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-07-12.
  14. "Organic Architecture". Guggenheim.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2010-09-08. สืบค้นเมื่อ 2019-07-12.