พูดคุย:การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
เพิ่มหัวข้อการอภิปรายภายในหน้านี้อาจกลายเป็นการโต้เถียงอย่างรุนแรงได้ โปรดใจเย็นและกรุณาตอบอย่างสันติวิธีในหน้านี้ |
|
|
|
การเปิดดูหน้าเว็บประจำวันของ การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
กราฟควรแสดงอยู่ที่นี่แต่กราฟถูกปิดใช้งานชั่วคราว จนกว่ากราฟจะเปิดใช้งานอีกครั้ง ดูกราฟเชิงโต้ตอบที่ pageviews.wmcloud.org |
|
คำชี้แจงเกี่ยวกับบทความกรณีสวรรคต พ.ศ. 2489
[แก้]บทความนี้เขียนขึ้นโดยเจตนาจะนำเสนอแต่เพียงเรื่องราวกรณีสวรรคตและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น มิได้ต้องการจะแก้ต่างให้ใครทั้งสิ้น หากผู้ดูแลระบบเห็นว่าบทความนี้จะก่อให้เกิดปัญหาในภายหลังก็สามารถลบบทความนี้ได้ครับ 202.12.97.119 09:48, 6 มกราคม 2007 (UTC)
"อัตนิวิบากกรรม" สงสัยว่าสะกดผิด ช่วยสอบทานอีกที :)
"อัตตวินิบาตกรรม" แปลว่า การฆ่าตัวตาย ครับ -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry 10:15, 12 มกราคม 2007 (UTC)
อัตวินิบาตกรรม (อัด-ตะ-วิ-นิ-บาด-ตะ-กำ) น. การฆ่าตัวตาย [อ้างอิงจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปีพ.ศ. 2525]
เสนอเปลี่ยนชื่อ
[แก้]ผมว่า ควรจะเป็น เหตุการณ์... มากกว่ากรณีนะครับ เพื่อให้เข้ากับรูปแบบบทความอื่นๆ ที่ใช้คำว่า เหตุการณ์ขึ้นต้น --Jutiphan | พูดคุย - 07:28, 8 มกราคม 2007 (UTC)
ผมเห็นว่าควรจะคงชื่อนี้ไว้ เพราะเป็นชื่อเฉพาะของเหตุการณ์ดังกล่าวที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว ถ้าหากจะเปลี่ยนชื่อบทความก็น่าจะใช้ชื่อว่า เหตูการณ์การสวรรคตของรัชกาลที่ 8 พ.ศ. 2489 แต่ถ้าใช้ชื่ออย่างนี้แล้วก็เห็นว่ามันค่อนข้างจะยาวเกินไป สุทธิพงษ์ พื้นแสน 09:54, 25 มกราคม 2007 (UTC)
- อย่าลืมนะครับว่า วิกิพีเดียสามารถทำหน้าเปลี่ยนทางได้ โดยชื่ออื่นๆสามารถเปลี่ยนทางมาได้เช่นกันครับ --Jutiphan | พูดคุย - 01:22, 26 มกราคม 2007 (UTC)
- เรียบร้อยแล้วครับ โดยชื่อเดิมนั้น ไม่ได้หายไปนะครับ แต่เปลี่ยนทางมา และสามารถใช้ได้ในการค้นหาเช่นเดียวกันครับ --Jutiphan | พูดคุย - 01:37, 26 มกราคม 2007 (UTC)
ราชาศัพท์
[แก้]เพื่อความอ่านง่าย น่าจะมีวงเล็บอธิบายคำสามัญไว้ด้วย เช่นพวกอวัยวะต่าง ๆ
เช่น พระนาภี .. แปลว่า ท้องน้อย หรือ สะดือ ? -- bact' 07:41, 16 พฤษภาคม 2007 (UTC)
ขอเสนอชื่อเรื่องบ้าง
[แก้]ตามที่ผมได้อ่านและศึกษาจากพจนานุกรมบ้าง ประวัติศาสตร์ชาติไทยบ้าง หรือแม้กระทั่งความรู้เดิมของผมที่พื้นปแพเป็นคนที่สนใจประศาสตร์ การเมือง การปกครองอยู่แล้วจึงขอลงความเห็นว่า เหมาะสมกับคำว่า กรณี แล้วนะครับเพราะคำว่ากรณีเป็นการเจาะลึกลง ซึ่งผู้อ่านสามารถที่เข้าใจในเนืฃ้อหาได้และสอดคล้องกับเจตนารมของผู้สร้างด้วย จาก ผู้อยากรู้ความจริง --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 203.172.184.114 (พูดคุย | ตรวจ) 02:51, 1 กรกฎาคม 2551 (ICT)
- ความจริงแล้ว ในส่วนคดี (ที่ตอนนี้ยังโล่งอยู่ และควรจะแยกไปเป็นบทความใหม่) นั้น ต้องใช้ชื่อว่า "คดีระหว่างพนักงานอัยการ กับเฉลียว ปทุมรส และพวก" แต่ไว้ผมพิมพ์คำพิพากษาศาลฎีกาแล้วเอาไปลงวิกิซอร์ซเสร็จ ผมจะไปตั้งเป็นบทความใหม่ (แต่ถ้าไม่ว่าง ผมก็จะแค่เอาคำพิพากษาไปลงวิกิซอร์ซครับ) --Aristitleism 20:48, 5 พฤษภาคม 2554 (ICT)
in-line ref
[แก้]รู้สึกว่าความแตกต่างของปริมาณอ้างอิงในบรรทัดกับเอกสารเพิ่มเติมมีมากเหลือเกิน คิดว่าอ้างอิงในบรรทัดน่าจะมีมากกว่านี้ครับ (มีแค่ 4) --Horus | พูดคุย 18:58, 29 มิถุนายน 2553 (ICT)
ต้องการการอ้างอิงที่ชัดเจนเกี่ยวกับกรณีเหล่านี้
[แก้]เนื่องจากผมได้อ่านดูแล้วและพบว่าหลายกรณีดูเหมือนเป็นเพียงแค่ความเห็น ขาดการอ้างอิงที่ชัดเจน จะดีมากถ้าห้อยท้ายอ้างอิงเอาไว้ให้หน่อยนะครับ
1. ผลกระทบ - นายปรีดี พนมยงค์ได้รับผลกระทบจากคดีนี้มากที่สุด เพราะถูกคนกล่าวหาว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง" เนื่องจากชี้แจงสาเหตุการสวรรคตแก่ประชาชนได้ไม่ชัดเจนและคลี่คลายคดีนี้ไม่สำเร็จ และกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้นายปรีดีไม่เดินทางกลับมาประเทศไทยอีกเลยจนสิ้นชีวิต หลังจากการลี้ภัยทางการเมืองเพราะเหตุการณ์กบฏวังหลวง พ.ศ. 2492 อย่างไรก็ตาม ในขณะที่มีชีวิตอยู่ก็ได้ให้ลูกชาย (ปาล พนมยงค์) และคนรู้จักที่อยู่เมืองไทยคอยช่วยต่อสู้คดีหมิ่นประมาทจากกรณีสวรรคตอยู่ตลอด เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ว่า ตนเองไม่ได้มีส่วนก่อคดีกรณีสวรรคตนี้แต่อย่างใด ซึ่งผลปรากฏว่าชนะทุกคดี
2. สรุป - และมีหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่าอย่างน้อยนายเฉลียวหนึ่งในสามจำเลยน่าจะเป็นผู้บริสุทธิ์[2]
โดยข้อ 2 ตามไปอ่านแล้วไม่พบหลักฐานที่ว่า ว่าคืออะไร ไม่มีแม้แต่เอ่ยถึงนายเฉลียวในเว็บดังกล่าวที่ถอดเนื้อหามาจากหนังสือนิตยสารสารคดี --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 124.120.31.4 (พูดคุย | ตรวจ) 21:15, 8 ธันวาคม 2011 (ICT)
ตอบ 1. หลักฐานมีหลายชิ้นครับ เช่น กรณีนาย ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ต้องเขียนจดหมายขอขมานายปรีดีเนื่องในกรณีเขียนหนังสือใส่ร้ายนายปรีดี ในหนังสือชื่อ "ในหลวงอานันท์กับคดีลอบปลงพระชนม์" (คดีหมายเลขดำที่ 8612/2521 คดีหมายเลขแดงที่ 5810/2522 ศาลพิพากษาลงวันที่ 24 มิถุนายน 2522) กรณีมรว.คึกฤทธิ์ ปราโมชกับพวก ต้องประกาศขอขมานายปรีดีในนามบริษัท สยามรัฐ จำกัด เนื่องจากเขียนหมิ่นประมาทนายปรีดี (คดีหมายเลขดำที่ 7236/2513) กรณี หนังสือพิมพ์หลักเมืองไทยเดลี่ ประกาศขอขมานายปรีดีเนื่องจากหมิ่นประมาทใส่ร้ายนายปรีดี (คดีหมายเลขดำที่ 113/2514) กรณี หนังสือ "ชีวิต ๕ แผ่นดินของข้าพเจ้า" โดนนายปรีดีฟ้องจนต้องขอขมานายปรีดี และถูกถอนรางวัล
(คดีหมายเลขดำที่ 8586/2523 ศาลพิพากษาลงวันที่ 14 มีนาคม 2523)
แต่ข้อสังเกตุคือ ทั้งหมดนี้เป็นการฟ้องทาง"แพ่ง"ซึ่งยอมความได้ มิใช่อาญา ข้อสังเกตุ 2 ปัจจุบันนี้มีหนังสือเริ่มเอียงไปทางใส่ร้ายนายปรีดีมากขึ้น เช่นหนังสือ "แฉความลับ" ซึ่งถ้าว่าตามหลักกฎหมายแล้วเห็นว่าน่าจะเข้าข่ายหมิ่นประมาท แต่น่าแปลกใจที่ไม่มีใครฟ้อง อาจเป็นได้ว่าหาได้มีผู้ใดสนใจในเรื่องนี้ไม่
ตอบ 2. หลักฐานที่ทำให้เชื่อว่าอย่างน้อยนายเฉลียวบริสุทธิ์ เห็นชัดเจนที่สุดคงจะเป็น ความเห็นแย้งของหลวงปริพนธ์ พจนพิสุทธิ์ ที่เขียนแย้งไว้ครั้ง ศาลอุทธรณ์ เมื่อวันที่28 ตุลาคม 2496 ว่าหลักฐานยังไม่พอฟ้องนายเฉลียว อีกทั้งยังกล่าวด้วยว่า ข้อกล่าวหาไม่พอฟ้อง นายชิต นายบุศย์ ด้วยซ้ำ--Agatha PSM (พูดคุย) 10:35, 5 มีนาคม 2559 (ICT)
การจัดภาพ
[แก้]@Agatha PSM: ควรจัดภาพให้อยู่ในส่วนที่เกี่ยวกับการสืบสวน (หรือส่วนใดก็ได้ที่ตรงกับเนื้อหา) มากกว่าแยกออกมาเป็นภาพอย่างเดียวครับ และจากรายละเอียดภาพที่คุณบอกว่ารวบรวมมาจากหลายแหล่ง ควรจะระบุด้วยนะครับว่าเอามาจากไหนบ้าง --Horus | พูดคุย 17:52, 5 มีนาคม 2559 (ICT) ได้ครับ ถ้ามีเวลาผมจะพยายามจัดการให้ครับ--Agatha PSM (พูดคุย) 18:33, 5 มีนาคม 2559 (ICT)
อีกทฤษฎีที่เป็นไปได้
[แก้]กระผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับเนื้อหาจากบทความนี้ แต่ให้เพื่อน ๆ ชาววิกิพีเดียลองพิจารณาดูว่าควรจะเรียบเรียงเอามาลงเพิ่มหรือไม่
หมายเหตุ: ไม่ได้มีเจตนาดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เห็นบทความที่ค่อนข้างย้อนแย้งและมักจะเป็นกระแสในปัจจุบัน เลยหยิบมาถามครับ
ลิงก์: คลิกที่นี่ Bp101697 (คุย) 00:18, 23 กรกฎาคม 2562 (ICT)
- ถ้าไม่มี reliable source ก็ถือเป็น fringe theory ครับ --Wedjet (คุย) 10:08, 23 กรกฎาคม 2562 (+07)