ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
ศาสนาพุทธเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านประเทศเกาหลี ในหนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นชื่อ นิฮงโชคิ (ญี่ปุ่น: 日本書紀(にほんしょき); โรมาจิ: Nihon Shoki)[1] ได้บันทึกไว้ว่า วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 1095 (ในยุคอาซึกะ) เป็นปีที่ 13 ของรัชกาลจักรพรรดิคิมเม จักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 29 พระพุทธศาสนาได้เข้าสู่ญี่ปุ่น โดยพระเจ้าซองแห่งอาณาจักรแพ็กเจส่งราชทูตมายังราชสำนักจักรพรรดิคิมเม พร้อมด้วยพระพุทธรูป ธง คัมภีร์พุทธธรรม และพระราชสาสน์แสดงพระราชประสงค์ที่จะขอให้จักรพรรดิคิมเมรับนับถือพระพุทธศาสนา จักรพรรดิคินเมทรงรับด้วยความพอพระทัย
แม้จะมีการนับถือศาสนาพุทธในหมู่ชาวญี่ปุ่นอยู่ก่อนแล้ว โดยรับจากประเทศอินเดียผ่านประเทศจีนเข้ามายังญี่ปุ่นที่มีผู้นำมาถ่ายทอดจากแผ่นดินใหญ่ในช่วงก่อนต้นพุทธศตวรรษที่ 10 เพียงแต่ครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นอย่างเป็นหลักเป็นฐานที่ชัดเจนอยู่ในบันทึกนิฮงโชคิพงศาวดารญี่ปุ่นซึ่งเขียนโดยอาลักษณ์
พระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของรากฐานในวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นมาร่วมสหัสวรรษ และในพันปีกว่านี้ชาวญี่ปุ่นยังได้เชื่อมโยงความเชื่อของพุทธศาสนาบางส่วนเข้าผสมผสานกับปรัชญาหลักคำสอนของศาสนาชินโตพื้นบ้าน[2] เช่น ความเชื่อในเรื่องของพระโพธิสัตว์และทวยเทพในศาสนาพุทธ ซึ่งได้ผนวกเป็นเทพเจ้าที่ได้รับการเคารพนับถือในศาสนาชินโต ความเชื่อมโยงนี้ซึมซับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของแกนรากทางวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นมาเนิ่นนานหลายศตวรรษ[3]
พุทธศาสนาเริ่มรุ่งเรืองในญี่ปุ่น
[แก้]พระพุทธศาสนาได้เจริญขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ในสมัยจักรพรรดิคิมเมเป็นอย่างมากแต่ที่ปรึกษาฝ่ายทหารและฝ่ายชินโตในยุคนั้นไม่เห็นด้วยกับจักรพรรดิคิมเม ฝ่ายไม่เห็นชอบพยายามขัดขวางการเผยแพร่ศาสตร์ทางพุทธเป็นสาเหตุสำคัญที่พุทธศาสนาไม่เผยแผ่กว้างขวางไปในทุกหมู่ชนชั้น และภายหลังที่พระองค์สิ้นพระชนม์แล้วจักรพรรดิองค์ต่อ ๆ มาก็มิได้ใส่พระทัยในพระพุทธศาสนาปล่อยให้พระพุทธศาสนาเสื่อมโทรมลง
กลางพุทธศตวรรษที่ 12 รัชสมัยจักรพรรดิโยเม จักรพรรดิองค์ที่ 31 ได้ทรงโปรดให้สร้างพระพุทธรูป ยากุชิเนียวไร หรือ พระไภษัชยคุรุ (ญี่ปุ่น: 薬師如来; โรมาจิ: Yakushi Nyorai , バイシャジヤグル Bhaisajyaguru) ต่อมารัชสมัยจักรพรรดิองค์ที่ 33 จักรพรรดินีซุอิโกะ พระนางทรงได้ตราพระราชเสาวนีย์เกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยให้ยึดถือเป็นนโยบายของราชอาณาจักร ประกอบกับขณะนั้นเจ้าชายโชโตกุ ผู้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ได้พิจารณาเห็นว่าพุทธศาสนาเป็นแหล่งความคิดที่ก่อให้เกิดปัญญา พระองค์ได้ส่งเสริมฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในทุกวิถีทาง เมื่อ พ.ศ. 1135 เจ้าชายพระองค์นี้เองที่ได้วางรากฐานการปกครองประเทศญี่ปุ่นและสร้างสรรค์วัฒนธรรมพร้อมทรงเชิดชูพระพุทธศาสนา ยุคสมัยนี้ได้ชื่อว่า ยุคโฮโก คือยุคที่สัทธรรมไพโรจน์ ประชาชนญี่ปุ่นรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ข้าราชการทหารพลเรือนทั้งปวงต่างแข่งขันกันสร้างวัดและสำนักปฏิบัติธรรมเป็นอันมาก ในงานด้านศาสนาและพระคัมภีร์แม้แต่ตัวเจ้าชายเองก็ได้ทรงงานเกี่ยวกับพระสูตรเขียนอรรถกถาอธิบายไว้ 3 เล่มด้วย นอกจากนี้เจ้าชายทรงได้ส่งคณะทูตและเหล่านักศึกษาไปยังจีนแผ่นดินใหญ่เพื่อศึกษาค้นคว้าหลักธรรมของพระพุทธศาสนากับวัฒนธรรมอื่น ๆ เพื่อยังประโยชน์ที่จะนำมาปรับปรุงราชอาณาจักรต่อไป ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1177 องค์พระจักรพรรดินีซุอิโกะได้ทรงประกาศพระราชโองการเชิดชูพระรัตนตรัย ตราขึ้นเป็นกฎหมาย ธรรมนูญ 17 มาตรา หลักแห่งธรรมนูญบัญญัตินี้สืบเนื่องด้วย เจ้าชายโชโตกุ ทรงได้มีพระราชนิพนธ์ขึ้นในปี พ.ศ.1147 รัฐธรรมนูญ 17 มาตรา เป็นกฎบัญญัติที่ประกาศหลักสามัคคีธรรมของสังคม และด้วยรูปการณ์ในกาลนั้นพระพุทธศาสนาได้หยั่งรากเจริญรุ่งเรืองอย่างมั่นคงในญี่ปุ่น
ส่วนงานสร้างจากรัชกาลก่อนด้วยพระประสงค์ของจักรพรรดิโยเม พระพุทธรูปยากุชิเนียวไรสร้างแล้วเสร็จหลังจากที่ทรงสวรรคตไป 20 ปี ภายในยุคสมัยของเจ้าชายโชโตกุผู้เป็นพระราชโอรสได้ทรงอัญเชิญองค์พระไปประดิษฐานอยู่ใน โฮริวจิ วัดแห่งนี้ได้สร้างขึ้นตามพระบัญชาของเจ้าชายและเพื่อเทิดพระเกียรติยศอุทิศแก่พระราชบิดาของพระองค์
ความเสื่อมและย่างก้าวของพุทธศาสตร์ในญี่ปุ่น
[แก้]ในสมัยที่ได้มีการติดต่อทางวัฒนธรรมนำเอาพระคัมภีร์ทางพุทธศาสนาและอรรถกถาต่าง ๆ เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น เจ้าชายโชโตกุสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 1165 บรรดาประชาชนทั้งปวงมีความเศร้าโศกเป็นอันมาก จึงได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปขนาดเท่าพระองค์ขึ้น 1 องค์ องค์ประดิษฐานไว้เป็นอนุสรณ์ที่วัดโฮริว และถัดมา พ.ศ. 1171 จักรพรรดินีซุอิโกะเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นมาพระพุทธศาสนาก็ถูกแบ่งออกเป็นหลายนิกาย เป็นการคล้ายกับว่าพระพุทธศาสนาได้ถูกหยุดชะงักเพราะนโยบายการปกครองประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคของการเปลี่ยนผู้นำ ด้วยพระนักบวชเป็นที่เคารพอย่างสูงจากทั้งชาวบ้านขุนนางโดยไม่เว้นแม้แต่ระดับผู้นำอย่างราชวงศ์จักรพรรดิและโชกุน แต่ภาระหน้าที่ของพระสงฆ์นักบวชแต่โบราณกาลนอกจากเทศน์แก่สาธุชนช่วยเหลือผู้พอเหมาะสมพอควรอันอยู่ในทางที่พอช่วยได้แล้ว เดิมยังได้มีบทบาทในทางสังคมเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ ที่ปรึกษาปัญหาทางโลก ปัญหาทางธรรม ไปจนถึงการมีส่วนร่วมชี้นำการปกครองบ้างบางครั้งในคราวจำเป็น นักบวชพระสงฆ์เองผู้ซึ่งปฏิบัติธรรมย่อมตระหนักดีในเท็จจริงของโลกนี้ว่าการมุ่งไปสู่จุดหมายสูงสุดของสายทางบำเพ็ญเพียรจำเป็นต้องพิจารณาสรรพสิ่งความเป็นไปอย่างยิ่งจิตใจและธาตุสี่แห่งกายสังขารตน[4] ซึ่งยังคงพึ่งอิงอาศัยอยู่บนโลก[5] อีกด้านของยุคต่าง ๆ สมัยที่บ้านเมืองต้องอยู่กับสงครามความวุ่นวายปั่นป่วน นักบวชพุทธมหายานในญี่ปุ่น[6][7] เองนั้นก็ยังมีพระนักบวชซึ่งฝึกฝนเก่งกาจวิชาการต่อสู้เป็นพระนักรบ(ญี่ปุ่น: 僧兵(そうへい); โรมาจิ: Sōhei "โซเฮ")[8][9] ซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่ยุคสมัยเฮอัน และกองกำลังกองทัพพระนักรบ[10] นั้นเป็นที่ยอมรับได้รับการยำเกรง
ความที่พระภิกษุมีจุดยืนอยู่ในตำแหน่งที่ได้รับความเคารพนับถือเป็นที่รวมความเคารพเชื่อถืออย่างสูง อำนาจของพระสามารถทำได้แม้แต่การจะชี้นำหรือแทรกแซงเปลี่ยนแปลงกระแสทิศทางในการปกครองมาแล้วหลายครั้งในหน้าประวัติศาสตร์[11][12][13] แม้พระภิกษุในญี่ปุ่นโดยปกติจะถือคติไม่เข้าไปยุ่งการเมืองหรือสงครามหากไม่โดนระรานขัดขวางหนทางก่อนแต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าความน่าหวั่นเกรงนี้เองจึงถูกกดดันบีบบังคับทั้งทางตรงทางอ้อมจากชนชั้นปกครองญี่ปุ่น ลดทอนอำนาจจำกัดบทบาทของบุคคลสายนักบวช และนักบวชในศาสนาพุทธของญี่ปุ่นสมัยหลัง ๆ จำเป็นต้องหาเลี้ยงชีพตนเองหาค่าบำรุงในการดูแลวัดและผจญกับความลำบากกับการต้องพยายามธำรงรักษาพุทธศาสนาให้มีคงอยู่สืบสานต่อไปในญี่ปุ่นได้
ทว่าจากหลากหลายนิกายที่แบ่งออกมาจากนิกายหลัก ได้ทำให้ การถือบวชของนักบวชในศาสนาพุทธในญี่ปุ่นแตกแขนงออกเป็น 2 กลุ่ม 1.ถือบวชในรูปแบบที่เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย 2. ถือบวชโดยที่เป็นผู้อยู่ครองเรือนไม่ต่างจากฆราวาส เหตุที่นักบวชในศาสนาพุทธในญี่ปุ่นส่วนหนึ่งแต่งงานมีภรรยาได้สืบเนื่องมาจากนักปราชญ์สำคัญแห่งนิกายโจโด นักบวชโซนินชินรัน (พ.ศ. 1716 - พ.ศ. 1805) เป็นคนริเริ่มแรกที่นำเสนอว่าพระและวัดไม่สำคัญ ด้วยหลักคิดของนิกายโจโดเอง อีกทั้งตัวนักบวชโซนินชินรันมีภรรยา แต่ยังคงถือว่าตนเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนาหากอยู่ร่วมกับผู้เป็นฆราวาส และตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบทอดทางสายตระกูล ภายแรกเรื่องเช่นแนวทางนี้เป็นการลับ[14] โซนินชินรันเป็นสาวกของโฮเน็น เป็นผู้ก่อตั้งนิกายโจโดซินชู (สุขาวดีที่แท้) ได้ย้ำว่าพระพุทธองค์นั้นได้เตรียมสวรรค์ไว้ให้แก่ผู้มีใจกุศลและลงโทษผู้มีใจอกุศล สิ่งที่จำเป็นสำหรับการที่จะได้มาซึ่งการช่วยเหลือให้พ้นทุกข์ก็คือการมีความเชื่อมั่นศรัทธา ถ้อยคำสอนของท่านนักบวชทั้งสองเป็นที่เข้าใจง่ายจึงได้รับความศรัทธาจากประชาชนชาวญี่ปุ่นตั้งแต่นั้นมา
แล้วเมื่อถึงยุคเมจิแนวคิดนี้ได้รับการสานต่ออย่างแพร่หลาย และส่วนหนึ่งจำยอม เมื่อองค์พระจักรพรรดิผู้นำผู้เป็นประมุขของประเทศสมัยนั้นต้องการให้พระนักบวชทุกนิกายล้มเลิกการถือพรหมจรรย์ ผู้นำของประเทศมีนโยบายล้มล้างพระพุทธศาสนาความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นก็ยิ่งถูกสั่นคลอนอำนาจทางสังคมลดบทบาทลงไปอีก ลัทธิชินโตที่เดิมเป็นศาสนาความเชื่อดั้งเดิมของดินแดนหมู่เกาะญี่ปุ่นได้รับการนำกลับมาเชิดชูให้รับการนิยมแทนพระพุทธศาสนาซึ่งถูกกะเกณฑ์ให้ยกเลิกไปจากราชสำนักของพระจักรพรรดิสมัยนั้น นโยบายนี้เป็นนโยบายทางการเมืองที่ใช้เป็นวิธีการเรียกรวมความเชื่อเชิดชูธงชินโตเดิมขึ้นมาใช้แก้เกมหลังจากล้มรัฐบาลโชกุนลงได้ แต่แล้วผลที่เกิดขึ้นจากการที่ญี่ปุ่นไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้บทบาทความเป็นศาสนาชินโตถูกลดลงเป็นลัทธิ[15] วัฒนธรรมตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาในญี่ปุ่น การศึกษาเจริญมากขึ้น พระพุทธศาสนาถูกยกขึ้นมาในแง่ของวิชาการ พระสงฆ์เริ่มงานการศึกษาและวิจัยอย่างจริงจังกว้างขวางตามวิธีสมัยใหม่ ส่วนหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์นั้น พระสงฆ์แต่ละนิกายก็ยังคงจัดพิธีกรรมเป็นประเพณีตามนิกายของตน
นิกายของพุทธศาสนา
[แก้]ในปัจจุบันชาวญี่ปุ่นนับถือพระพุทธศาสนาควบคู่ไปกับชินโต พระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็นหลายนิกาย นิกายที่สำคัญ มีดังนี้
- พระไซโจ (เด็งกะโยไดชิ) เป็นผู้ตั้ง มีหลักคำสอนเป็นหลักธรรมชั้นสูง ส่งเสริมให้บูชาพระโคตมพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์
- พระกุไก หรือโกโบไดชิ เป็นผู้ตั้งในเวลาใกล้เคียงกับเทนได มีหลักคำสอนตามนิกายตันตระ หรือ วัชรยาน สอนให้คนบรรลุโพธิญาณด้วยการสวดมนต์อ้อนวอน ถือมหาไวโรจนสูตรเป็นสำคัญ
- โฮเนน เป็นผู้ตั้งเมื่อ พ.ศ. 1718 นิกายนี้สอนว่า สุขาวดีเป็นแดนอมตสุขผู้จะไปถึงได้ด้วยออกพระนามพระอมิตาภพุทธะ นิกายนี้มีนิกายย่อยอีกมาก เช่น โจโดชิน (สุขาวดีแท้) ตั้งโดยชินแรน มีคติว่า ฮิโชฮิโชกุ ไม่มีพระไม่มีฆราวาส ทำให้พระในนิกายนี้มีภรรยาได้ฉันเนื้อได้ มีความเป็นอยู่คล้ายฆราวาส
- นิกายนี้ถือว่า ทุกคนมีธาตุพุทธะอยู่ในตัว ทำอย่างไรจึงจะให้ธาตุพุทธะนี้ปรากฏออกมาได้ โดยความสามารถของตัวเอง สอนให้ดำเนินชีวิตอย่างง่าย ให้เข้าถึงโพธิญาณอย่างฉับพลัน นิกายนี้คนชั้นสูง และพวกนักรบนิยมมาก เป็นต้นกำเนิดของลัทธิบูชิโด นับถือพระโพธิธรรมผู้เผยแพร่ในประเทศจีน
- พระนิจิเร็งเป็นผู้ตั้ง นับถือสัทธรรมปุณฑริกสูตรอย่างเดียว โดยภาวนาว่า นัม เมียว โฮ เร็ง เง เคียว (นโม สทฺธมฺมปุณฺฑริก สุตฺตสฺส ขอนอบน้อมแด่ สัทธรรม ปุณฑริกสูตร) เมื่อเปล่งคำนี้ออกมาด้วยความรู้สึกว่ามีตัวธาตุพุทธะอยู่ในใจ ก็บรรลุพุทธภาวะได้ ปัจจุบันมีนิจิเร็นโชชูเป็นนิกายที่สืบทอดมาโดยตรง และมีนิกายแตกย่อยมาอีก โดยมีกลุ่มสมาคมสร้างคุณค่า หรือ สมาคมโซคา ที่ไม่อยู่สังกัดนิกายใด มีสมาชิกมากกว่า 12 ล้านครอบครัวใน 192 ประเทศเขตแคว้น
พุทธศาสนาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
[แก้]หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เปลี่ยนผ่านจากยุคเมจิเข้าสู่ยุคโชวะ มีนักการศึกษามากมายพยายามเชื่อมประสานพระพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยจัดตั้งเป็นองค์การขึ้น องค์การสื่อสารสัมพันธ์ระหว่างชาวพุทธที่ใหม่ที่สุด คือ พุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งญี่ปุ่น (Japan Buddhist Federation) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเสริมความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างนิกายและชาวพุทธในญี่ปุ่น วางแผนผนึกกำลังชาวพุทธในการดำเนินการเพื่อความก้าวหน้าและเสริมสร้างสันติสุขแก่ชาวโลก ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2500 มีสำนักงานอยู่ที่วัดชุกิจิ ฮองวันจิ ในนครโตเกียว กิจการทางพุทธศาสนาที่สำคัญและมีจุดเด่นก้าวหน้าที่สุดของญี่ปุ่น คือ การจัดการศึกษา พระพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ จะมีมหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาและระดับประถมศึกษาเป็นจำนวนมาก
ในด้านความเป็นอยู่ของนักบวชในศาสนาพุทธในญี่ปุ่นปัจจุบันนี้ นักบวชยังคงแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม | |
---|---|
1. ดำรงตนรักษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดและประพฤติพรหมจรรย์ตลอดการถือบวช | 2. ถือบวชโดยยังคงแต่งงานมีครอบครัวมีภรรยามีลูกหลานสืบสกุลและใช้ชีวิตไม่ต่างจากฆราวาสที่เป็นชาวบ้านทั่วไป |
จากนโยบายเดิมที่มีใช้กันในประเทศโดยรวมทั้งปรับตัวเพื่อความอยู่รอดจนคุ้นชินผู้คนส่วนหนึ่งไม่เห็นแปลกอย่างไร ต่อ ๆ มา นักบวชในศาสนาพุทธในญี่ปุ่นนิกายต่าง ๆ ส่วนใหญ่จึงมีครอบครัวภรรยาและบุตรสืบกันมา อีกเช่นเคยไม่ว่าที่ไหนหมู่คณะใดก็ย่อมมีที่ยกเว้นและต่างไปจากชนเหล่านั้น นักบวชที่เป็นพระระดับเจ้าอาวาสบางรูปและพระสงฆ์นักบวชที่ตั้งใจเคร่งเอาจริงเอาจังเอาพ้นทุกข์ก็ได้ยึดเอาพระธรรมวินัยเป็นหลักที่ตั้งประเภทที่ ยอมตายดีกว่าล้มเลิก จึงได้ทางหลุดรอดจากค่านิยมคำบีบบังคับตนที่ว่าที่เป็นความจำเป็นไปได้และปลีกวิเวกไปปฏิบัติอยู่อย่างสงบ ตำแหน่งพระนักบวชในศาสนาพุทธของทางญี่ปุ่นยังสืบทอดเป็นมรดกแก่บุตรคนโตที่ส่งต่อตำแหน่งกันในครอบครัวได้ด้วย นักบวชในศาสนาพุทธในญี่ปุ่นจัดเป็นอาชีพหนึ่ง เรียกว่า อาชีพพระ
พุทธศาสนาในปัจจุบัน
[แก้]ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ประชาชนดำเนินชีวิตด้วยความเร่งรีบเพราะมีการแข่งขันกันมาก ทำให้มีความเครียดและมีปัญหาด้านสุขภาพจิต เป็นโรคประสาท โรคจิต และสถิติการฆ่าตัวตายสูงมาก สิ่งที่จะช่วยบรรเทาความเครียดได้ ก็คือการปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เนื่องจากญี่ปุ่นชอบความเร็วให้ได้ผลทันใจ พระพุทธศาสนานิกายเซนจึงเป็นที่นิยม และมีการสร้างนิกายใหม่ ๆ หรือลัทธิใหม่ ๆ ที่ปฏิบัติได้ผลรวดเร็วอีกมาก คนญี่ปุ่นส่วนหนึ่งไม่นับถือศาสนาใดเลย แต่ยึดถือลัทธิการเมืองตามความชอบใจของตน
ในทางมหายานผู้นับถือไม่ว่าพระหรือคฤหัสถ์จะเน้นอุบายโกศลคือความฉลาดในการหาวิธีการต่าง ๆ มาอธิบายคำสอนให้ผู้คนรู้จักแพร่หลายได้ นักบวชในญี่ปุ่นสมัยนี้พยายามปรับตัวทำการปฏิรูปวิธีเผยแผ่คำสอนให้เข้าถึงคนทุกกลุ่มทำให้ศาสนาใกล้ชิดพุทธศาสนิกชนมากขึ้น เจ้าอาวาสวัดโจไซจิบอกว่า ไม่ถือเป็นการผิดแผกแตกต่าง หรือผิดวินัย เพราะดนตรีมีต้นกำเนิดจากศาสนา ในสมัยโบราณนั้นดนตรีถูกบรรเลงเพื่อสรรเสริญพระพุทธเจ้าและพระเจ้าในศาสนาต่าง ๆ และเครื่องดนตรีหลายอย่างก็มีต้นกำเนิดมาจากในวัด ถ้าหากสามารถทำให้คนหันมาสนใจศึกษาพระธรรมได้ แม้เป็นพระก็ไม่ถือว่าผิดศีล เพราะพระมหายานจะเน้นศีลพระโพธิสัตว์มากกว่าศีลของพระดังที่มีในนิกายเถรวาท สำหรับการสวดมนต์ท่ามกลางเสียงดนตรีนั้น บรรดานักบวชจะสวดบทสวดมนต์ตามบทต้นฉบับ โดยมีทำนองดนตรีบรรเลงคลอตามไป ส่วนพุทธศาสนิกชนที่เข้าฟังก็จะพนมมือตั้งจิตตั้งใจฟัง[16]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 日本書紀 kotobank (ในภาษาญี่ปุ่น) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-28.
- ↑ ศาสนาชินโต เก็บถาวร 2018-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วิทยาลัยศาสนศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-06-15.
- ↑ ประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น live japan เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-06-15.
- ↑ ดวงตาเห็นธรรม เก็บถาวร 2018-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน anuchah.com เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-30.
- ↑ หลักธรรมสำคัญของมหายาน โกทูโนว์ เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-29.
- ↑ มหายานในประเทศญี่ปุ่น โกทูโนว์ เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-28.
- ↑ ความแตกต่างระหว่างเถรวาทกับมหายานอย่างไร โกทูโนว์ เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-29.
- ↑ 僧兵 (そうへい) kotobank (ในภาษาญี่ปุ่น) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-30.
- ↑ 僧兵 (そうへい) 中世日本にいた僧形の武者。 dic.pixiv.net (ในภาษาญี่ปุ่น) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-28.
- ↑ พระนักรบญี่ปุ่น ทำไมถืออาวุธไม่ผิด gypzyworld เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-28.
- ↑ 僧侶「戦国時代」における 僧侶 とは? พระสงฆ์นักบวชในช่วงเวลายุคสงครามรัฐ ? kamurai.itspy.com (ในภาษาญี่ปุ่น) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-30.
- ↑ 【歴史を振り返れば奴がいた!】戦国時代に活躍した僧侶たち เก็บถาวร 2020-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มองย้อนอดีตในประวัติศาสตร์พระภิกษุผู้มีส่วนร่วมในสงครามรัฐ rekijin.com (ในภาษาญี่ปุ่น) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-30.
- ↑ 第24回 戦国大名の参謀に多い僧侶、なぜ彼らは大任を与えられたのか taigafan.com (ในภาษาญี่ปุ่น) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-30.
- ↑ วัฒนธรรมและศาสนาของญี่ปุ่น cybervanaram.net เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-28.
- ↑ ทำไมวัดพุทธหลายนิกายในญี่ปุ่นจึงโดนกวาดล้าง ..และชินโตหลังสงครามโลก gypzyworld เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-06-15.
- ↑ https://siampongsnews.blogspot.com/2018/02/blog-post_85.html เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-04-26.