พีระมิดแห่งเจดเอฟเร
บทความนี้ยังไม่ได้รับการจัดหมวดหมู่ คุณสามารถช่วยปรับปรุงแก้ไข โดยการเพิ่มหมวดหมู่ที่เหมาะสมลงในบทความนี้ เพื่อจัดระเบียบบทความที่เกี่ยวข้องกัน ดูเพิ่มที่ โครงการจัดหมวดหมู่ |
พีระมิดแห่งเจดเอฟเร | |
---|---|
ฐานพีระมิดแห่งเจดเอฟเรที่ถูกทำลาย | |
เจดเอฟเร | |
พิกัดทางภูมิศาสตร์ | 30°01′56″N 31°04′29″E / 30.03222°N 31.07472°E |
นามร่วมสมัย | |
การก่อสร้าง | ราชวงศ์ที่สี่ |
ประเภท | มาตรฐาน (เดิม) ถูกทำลาย (ปัจจุบัน) |
ความสูง | 67 m (220 ft; 128 cu) (เดิม)[4] 11.4 m (37 ft; 21.8 cu) (ปัจจุบัน)[5] |
ฐาน | 106 m (348 ft; 202 cu)[5][4] |
ปริมาณ | 131,043 m3 (171,398 cu yd)[6] |
ความชัน | 51°[5] ถึง 52°[4] |
พีระมิดแห่งเจดเอฟเร เป็นพีระมิดที่ตั้งอยู่เหนือสุดของอียิปต์ เชื่อกันว่าโปรดให้สร้างขึ้นโดยฟาโรห์เจดเอฟเร ซึ่งเป็นพระราชโอรสและผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์คูฟู ปัจจุบันประกอบด้วยซากปรักหักพังส่วนใหญ่ที่อะบู เราะวัชในอียิปต์ รายงานการขุดค้นบริเวณพีระมิดถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2011[7]
ด้านทฤษฎี
[แก้]แม้ว่านักไอยคุปต์วิทยาบางคนในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาจะนำเสนอในประเด็นอื่น ๆ แต่การขุดค้นที่อะบู เราะวัชเมื่อเร็ว ๆ นี้ดำเนินการโดย ดร.มีแชล โบด์ จากพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ในปารีส เสนอความเห็นที่ว่าจริง ๆ แล้วพีระมิดดังกล่าวสร้างเสร็จไปแล้วกว่าครึ่งแล้ว[8][9] อย่างไรก็ตาม หากสร้างเสร็จ คาดว่าน่าจะมีขนาดพอ ๆ กับพีระมิดแห่งเมนคาอูเร ซึ่งเป็นพีระมิดที่ใหญ่เป็นอันดับสามของกลุ่มพีระมิดแห่งกิซา[10] เชื่อกันว่าเดิมทีเป็นพีระมิดที่สวยงามที่สุด โดยมีภายนอกเป็นหินแกรนิตนำเข้าขัดเงา หินปูน และสวมยอดด้วยมงกุฏพีระมิดขนาดใหญ่ เชื่อกันว่าด้วยเหตุนี้พีระมิดที่สร้างแล้วเสร็จจึงถูกรื้อถอนออกส่วนใหญ่ในช่วงจักรวรรดิโรมัน เพื่อสร้างโครงการก่อสร้างของตนเองหลังจากการพิชิตอียิปต์โดยจักรพรรดิโรมันออกุสตุส ชื่อโบราณของพีระมิดคือ "ท้องฟ้าเต็มไปด้วยดวงดาวแห่งเจดเอฟเร"[11] การทำลายพีระมิดเริ่มต้นเมื่อสิ้นสุดช่วงสมัยราชอาณาจักรใหม่อย่างช้าที่สุด และทำลายมากเป็นพิเศษในช่วงยุคโรมันและช่วงต้นของช่วงคริสตศาสนาในอียิปต์เมื่อมีการสร้างอารามคอปติกในวาดิ การินที่อยู่ใกล้เคียง ยิ่งไปกว่านั้น ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 19 ยังมีการลากหินออกไปในอัตราอูฐสามร้อยตัวต่อวัน[12]
คำอธิบาย
[แก้]พีระมิดแห่งเจดเอฟเรมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากพีระมิดรุ่นก่อน ๆ ตรงที่ห้องต่าง ๆ จะอยู่ใต้พีระมิดแทนที่จะเป็นด้านใน พีระมิดถูกสร้างขึ้นเหนือเนินดินธรรมชาติ และห้องต่าง ๆ ถูกสร้างขึ้นโดยใช้วิธี "หลุมและทางลาด" ซึ่งก่อนหน้านี้เคยใช้กับสุสานมาสตาบาบางแห่ง โดยที่ขุดหลุมขนาด 21 ม. x 9 ม. และลึก 20 ม. ในเนินธรรมชาติ ทางลาดถูกสร้างขึ้นที่มุม 22°35' และห้องและทางเข้าถูกสร้างขึ้นภายในหลุมและบนทางลาด เมื่อ 'ห้องด้านใน' เสร็จสิ้น หลุมและทางลาดก็ถูกถมให้เต็ม และสร้างพีระมิดไว้ด้านบน ซึ่งช่วยให้สามารถสร้างห้องต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องขุดอุโมงค์ และหลีกเลี่ยงความยุ่งยากทางโครงสร้างของการสร้างห้องต่าง ๆ ภายในตัวพีระมิดเอง นอกจากนี้ยังหวนกลับไปใช้รูปแบบการก่อสร้างแบบเดิมด้วยการสร้างกำแพงล้อมรอบสี่เหลี่ยมโดยวางแนวเหนือ-ใต้ คล้ายกับพีระมิดแห่งดโจเซอร์และเซเคมเคต
พีระมิดและวิหารพระอาทิตย์หลายแห่งถูกสร้างขึ้นเหนือเนินดินธรรมชาติ การใช้วิธีนี้อาจเป็นวิธีหนึ่งในการลดระยะเวลาการทำงานจริงที่ต้องการ ถึงแม้ว่าเนินดินอาจจะเป็นสัญลักษณ์ของเนินดึกดำบรรพ์แห่งตำนานการสร้างของชาวอียิปต์ก็ตาม
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Budge 1920, pp. 684b–685a.
- ↑ Verner 2001d, p. 217.
- ↑ Edwards 1975, p. 297.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Lehner 2008, p. 17.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Verner 2001d, p. 462.
- ↑ Bárta 2005, p. 180.
- ↑ Valloggia, Michel (2011). Abou Rawash. I, Le complexe funéraire royal de Rêdjedef : étude historique et architecturale. Le Caire. ISBN 978-2-7247-0568-3. OCLC 731043888.
- ↑ "Could Djedefre's Pyramid be a Solar Temple?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-19. สืบค้นเมื่อ 2024-05-16.
- ↑ "CyberScribe 178" (PDF). www.fitzmuseum.cam.ac.uk. 2010. สืบค้นเมื่อ 2020-07-15.
- ↑ Vallogia, Michel (1997). Études sur l'Ancien Empire et la nécropole de Saqqara. 418
- ↑ Vallogia, Michel (University of Geneva); Rowlands, Joanne (University of Oxford); Hawass, Zahi (Secretary General, Supreme Council of Antiquities, Egypt) (2008-06-23). The Lost Pyramid. History. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-20. สืบค้นเมื่อ 2008-12-12.
- ↑ Verner, Miroslav (2001). The Pyramids. London: Atlantic Books. p. 144. ISBN 9781782396802.