พิรุณ แผ้วพลสง
พิรุณ แผ้วพลสง | |
---|---|
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
เสนาธิการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 – 30 กันยายน พ.ศ. 2553 | |
ก่อนหน้า | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ถัดไป | พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พ.ศ. 2494 จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | นางลักขณา แผ้วพลสง |
พลเอก พิรุณ แผ้วพลสง อดีตประธานกรรมการ การไฟฟ้านครหลวง อดีตราชองครักษ์พิเศษ[1] อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2494 ที่จังหวัดบุรีรัมย์ จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม, โรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10 (ตท.10), โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 21 (จปร.21) กรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[2] กรรมการ เป็นหนึ่งในนายทหารที่ ควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553[3] ปฏิบัติหน้าที่ตาม พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
การรับราชการเคยดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ), ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการทหารสูงสุด, รองผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.), ราชองครักษ์, ที่ปรึกษากองบัญชาการทหารสูงสุด, ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการทหารสูงสุด, รองเสนาธิการทหารบก เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และ เสนาธิการทหารบก พร้อมกับดำรงตำแหน่งเลขาธิการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส) ในตำแหน่งด้วย
ซึ่งการดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบกของ พล.อ.พิรุณ นั้นทำให้เป็นที่จับตามองว่าอาจจะได้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกเป็นคนต่อไปจาก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ในปี พ.ศ. 2553 ที่จะเกษียณอายุราชการ จากเดิมที่ผู้ที่ถูกคาดหมายว่าจะได้ดำรงตำแหน่งนี้คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองผู้บัญชาการทหารบก [4]
แต่แล้วในที่สุดก็เป็น พล.อ.ประยุทธ์ ที่ได้เป็นผู้บัญชาการทหารบก ขณะที่ พล.อ.พิรุณ เป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[5]
พล.อ.พิรุณ เป็นนายทหารที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี, รัฐบุรุษ และอดีตนายกรัฐมนตรี ฝากฝังให้ช่วยก่อตั้ง กองพลทหารม้าที่ 3 (พล.ม.3) ขึ้นที่ภาคอีสาน ซึ่งเป็นกองพลใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตตามความปรารถนาของ พล.อ.เปรม เมื่อครั้งขึ้นดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบกเมื่อปี พ.ศ. 2552 ในฐานะที่เป็นทหารม้าด้วยกัน[6]
พล.อ.พิรุณ มีชื่อที่เรียกอย่างไม่เป็นทางการจากสื่อมวลชนว่า "บิ๊กแผ้ว" ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นางลักขณา แผ้วพลสง (ชื่อเล่น-ต้อย)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2553 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2550 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2521 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[9]
- พ.ศ. 2530 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[10]
- พ.ศ. 2531 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ กรรมการศอฉ.
- ↑ "ป๊อกแป๊ก" เปรยคนสนิทไม่เต็มใจคุม ศอฉ. จำใจเรียก ผบ.หน่วย ถกเครียด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-08. สืบค้นเมื่อ 2016-10-05.
- ↑ ประวัติ พิรุณ แผ้วพลสง จากไทยรัฐ
- ↑ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
- ↑ พยัคฆ์บูรพาตัวจริง!เก็บถาวร 2010-08-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากกรุงเทพธุรกิจ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑๑, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๒๕ สิงหาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๓๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๘, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑