พิชัย เลิศพงศ์อดิศร
พิชัย เลิศพงศ์อดิศร | |
---|---|
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 – 17 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | |
ก่อนหน้า | บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ |
คะแนนเสียง | 421,679 (51.17%) |
สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มีนาคม พ.ศ. 2551 – 1 มีนาคม พ.ศ. 2557 (5 ปี 348 วัน) | |
ก่อนหน้า | ไกร ดาบธรรม |
ถัดไป | อดิศร กำเนิดศิริ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ชูชัย เลิศพงศ์อดิศร 24 มีนาคม พ.ศ. 2507 จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2563–ปัจจุบัน) |
พิชัย เลิศพงศ์อดิศร ชื่อเดิม ชูชัย เลิศพงศ์อดิศร หรือ สว.ก๊อง[1] (เกิด 24 มีนาคม พ.ศ. 2507) เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่[2] อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ และประธานสโมสรฟุตบอลเชียงใหม่ ยูไนเต็ด
ประวัติ
[แก้]พิชัย เลิศพงศ์อดิศร เดิมชื่อ "ชูชัย เลิศพงศ์อดิศร" เกิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2507 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา[3]
การทำงาน
[แก้]พิชัย หรือชูชัย เลิศพงศ์อดิศร ประกอบอาชีพทนายความตั้งแต่ พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา เคยเป็นอาจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ และป็นที่ปรึกษากฎหมายให้กับสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ ธกส.เชียงใหม่ ที่ปรึกษากฎหมายสหกรณ์การเกษตรดอยหล่อ เชียงใหม่ ที่ปรึกษากฎหมายนายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้
พิชัย เคยลงสมัครรับเลือกตั้งที่จังหวัดเชียงใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคความหวังใหม่ ร่วมกับอำนวย ยศสุข อดีต ส.ส. อินสอน บัวเขียว อดีต ส.ส. แต่ได้รับเลือกตั้งเพียงคนเดียวคืออำนวย ยศสุข[4]
พิชัย ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2551 หมายเลข 1 ได้รับคะแนน 171,090 คะแนน ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ และได้รับตำแหน่งประธานกรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคมในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 10
ต่อมาการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2563 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งโดยการสนับสนุนของพรรคเพื่อไทย และสามารถเอาชนะบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
กีฬา
[แก้]พิชัย เลิศพงศ์อดิศร ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลขึ้นในปี พ.ศ. 2558 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลช้างเผือก เชียงใหม่ และจดทะเบียนก่อตั้งเป็นนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทขึ้นเมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ในชื่อบริษัท ช้างเผือกเชียงใหม่ ยูไนเต็ด จำกัด โดยสโมสรส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในรายการของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรกในฟุตบอลดิวิชัน 3 ฤดูกาล 2559 ซึ่งเป็นการแข่งขันในระดับสมัครเล่น โดยสโมสรใช้วิธีการคัดเลือกนักฟุตบอลจากผู้ที่มาทดสอบฝีเท้ากว่า 900 คน[5][6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ก่อนเล่าหลังฉากพยานคดี‘บอส’!โพรไฟล์ ‘ชูชัย เลิศพงศ์อดิศร’อ้างรู้จัก‘เฉลิม อยู่วิทยา’?
- ↑ ป.ป.ช.เปิดทรัพย์สิน "พิชัย เลิศพงศ์อดิศร"นายก อบจ.เชียงใหม่
- ↑ นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร
- ↑ ผลการเลือกตั้ง เก็บถาวร 2004-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเว็บไซต์กรมการปกครอง
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-04. สืบค้นเมื่อ 2023-05-23.
- ↑ http://www.goal.com/th/ข่าว/เปดบนทก-15-เดอน-เจแอล-เชยงใหม-จากนอกลกสทมลนแชมป-ชาง-fa-cup/17bnmq17qb1j71k5lhace56jkb
ก่อนหน้า | พิชัย เลิศพงศ์อดิศร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ | นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ (20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน) |
อยู่ในวาระ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2507
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ทนายความชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่
- นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
- นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคนำไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
- อาจารย์คณะนิติศาสตร์