ข้ามไปเนื้อหา

อินสอน บัวเขียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อินสอน บัวเขียว
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
26 มกราคม พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 ตุลาคม พ.ศ. 2492
อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
เสียชีวิต24 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (69 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองสังคมนิยมแห่งประเทศไทย
ความหวังใหม่

อินสอน บัวเขียว อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเลือกตั้งครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย[1][2] อดีตรองหัวหน้าพรรคสังคมประชาธิปไตย อดีตกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)[3] และเป็นเพื่อนสนิทของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร[4]

ประวัติ

[แก้]

อินสอน บัวเขียว จบการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) จากวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน (มหาวิทยาลัยบูรพา ในปัจจุบัน) ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ Doctorate of Public Administration, Century University, Albuquerque, New Mexico, USA

การทำงาน

[แก้]

อินสอน บัวเขียว เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. 15 คน จากผู้สมัครทั่วประเทศ 82 คน ของพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518[5]

หลังจากนั้นเป็นผู้ประสานงาน สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย องค์การสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2519 ถึงปี พ.ศ. 2523 ต่อมาเป็นผู้บริหารกลุ่มบริษัทสุราทิพย์ และ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาบริษัท ลาว – ชินวัตร เทเลคอมมินิเคชั่น จำกัด (ปี พ.ศ. 2533 - 2538)[6]

ในปี พ.ศ. 2525 อินสอน บัวเขียว ร่วมฟื้นฟูพรรคสังคมประชาธิปไตย ร่วมกับ ชาญ แก้วชูใส และ ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จทางการเมือง ต่อมาในปี 2539 อินสอนได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัดเชียงใหม่ เขตเลือกตั้งที่ 2 สังกัดพรรคความหวังใหม่ ร่วมกับอำนวย ยศสุข และชูชัย เลิศพงศ์อดิศร แต่ได้รับเลือกตั้งนายอำนวยยศสุข เพียงคนเดียว[7]

ในปี พ.ศ. 2552 เข้าร่วมกับมิตรสหาย เช่น สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, อุดม ขันแก้ว, ประชา อุดมธรรมานุภาพ, สรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน และ ไม้หนึ่ง ก.กุนที เป็นต้น เพื่อรื้อฟื้นพรรคสังคมนิยม แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

ถึงแก่อนิจกรรม

[แก้]

อินสอน บัวเขียว ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 2551
  2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
  3. อดีตกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
  4. "แม้จะเพลี้ยงพล้ำ…ก็อย่าดูเบา "ทักษิณ" - สำนักข่าวเจ้าพระยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-07. สืบค้นเมื่อ 2019-03-10.
  5. "สุดอาลัย 'อุดร ทองน้อย' ตำนาน ส.ส.สังคมนิยม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 2019-03-10.
  6. ประวัติบริษัท ปตท.
  7. ผลการเลือกตั้ง เก็บถาวร 2004-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเว็บไซต์กรมการปกครอง
  8. "ข่าวตาย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-05-25.
  9. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)