บุญเลิศ บูรณุปกรณ์
บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ | |
---|---|
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 3 มิถุนายน พ.ศ. 2551 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563 | |
ก่อนหน้า | ธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ |
ถัดไป | พิชัย เลิศพงศ์อดิศร |
นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง พฤษภาคม พ.ศ. 2543 – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 | |
ก่อนหน้า | ปกรณ์ บูรณุปกรณ์ |
ถัดไป | เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2499 อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | เอมอร บูรณุปกรณ์ |
บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ (เกิด 15 ตุลาคม พ.ศ. 2499) อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
ประวัติ
[แก้]บุญเลิศ เกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ที่ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของนายใช้ และนางจิตรา บูรณุปกรณ์ นักธุรกิจชาวจังหวัดเชียงใหม่
บุญเลิศ จบการศึกษาระดับชั้นประถมและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย รุ่น 15 ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และระดับปริญญาโท รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกจากนั้นยังสำเร็จการศึกษาหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐ เอกชนและการเมือง รุ่นที่ 3 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ใน พ.ศ. 2556 เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดเชียงใหม่
งานการเมือง
[แก้]นายบุญเลิศ บุรณุปกรณ์เริ่มต้นงานการเมืองด้วยตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลนครเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2542
การดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
[แก้]พ.ศ. 2543 นายบุญเลิศได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และได้ดำรงตำแหน่งต่อเป็นสมัยที่สองใน พ.ศ. 2547 แต่หลังจากดำรงตำแหน่งได้เพียงไม่กี่เดือนก็ได้ลาออก จากปัญหาความขัดแย้งภายใน แต่ก็ได้รับเลือกตั้งกลับมาเป็นนายกเทศมนตรีตามเดิม โดยนายบุญเลิศและตระกูลบูรณุปกรณ์นั้น ถือเป็นกำลังที่สำคัญของพรรคไทยรักไทยในจังหวัดเชียงใหม่ และมีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับตระกูลชินวัตร
การดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
[แก้]วาระแรก
[แก้]นายบุญเลิศ ได้ลงสมัครชิงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 โดยได้รับคะแนนนำมาเป็นอันดับหนึ่ง โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ให้การรับรอง ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2551 แต่หลังจากนั้นกกต.เชียงใหม่ซึ่งได้รับเรื่องร้องคัดค้านผลการเลือกตั้งเนื่องจากการทุตจิต ได้มีการสอบสวนหา พยานหลักฐาน และส่งเรื่องให้ กกต.กลางชี้มูล วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552 กกต.กลางได้มีมติให้ใบแดง แก่นายบุญเลิศ พร้อมกับพวกรวม 4 คน ต่อมาทาง กกต.กลางได้ส่งเรื่องให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยชี้ขาด ส่งผลให้ทางนายบุญเลิศต้องหยุดปฎืบัติหน้าที่เกือบ 3 เดือน ในที่สุดวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552 ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จังหวัดเชียงใหม่ได้มีคำพิพากษา ให้ยกคำร้องของกกต. ทำให้คดีนี้ สิ้นสุดลง[1] และได้ปฏิบัติหน้าที่จนครบวาระในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วาระที่สอง
[แก้]นายบุญเลิศ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2555 และได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนน 402,484 คะแนน[2] และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ประกาศผลรับรอง ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เขาถูกพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สั่งระงับการปฏิบัติหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 44/2559[3] กระทั่งนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 6/2561 ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ให้เขากลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิม จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 เนื่องจากมีกำหนดให้เลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ[4]
ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งที่ 3
[แก้]นายบุญเลิศ ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2563 ในนามกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม โดยนำเสนอว่าเป็นกลุ่มการเมืองท้องถิ่นที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด[5] และได้รับการสนับสนุนจากนายจตุพร พรหมพันธุ์[6] แข่งขันกับนายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ ในนามพรรคเพื่อไทย ผลการเลือกตั้งปรากฏว่านายพิชัย เป็นฝ่ายได้รับการเลือกตั้ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[7]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องใบแดง บุญเลิศ-2ส.อบจ.เชียงใหม่-อีกคนถอนสิทธิ์1ปี
- ↑ รายงานผลการเลือกตั้ง อบจ.เชียงใหม่ เก็บถาวร 2012-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์ อบจ.เชียงใหม่ สืบค้นวันที่ 1 กรกฎาคม 2555
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/164/10.PDF
- ↑ กกต.ประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้ง"นายกอบจ.-สมาชิกอบจ."76จังหวัด
- ↑ “บุญเลิศ”ประกาศตัวชัดเจนไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ชูธง”กลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม”สู้ศึกเลือกตั้ง อบจ.เชียงใหม่
- ↑ อบจ.เชียงใหม่เดือด!'จตุพร'ป้อง'บุญเลิศ'ซัดแหลก'พท.'ยัดข้อหาพวก'พปชร.'
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๒, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
ก่อนหน้า | บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ปกรณ์ บูรณุปกรณ์ | นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ (พฤษภาคม พ.ศ. 2543 – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2550) |
ร้อยเอกหญิง เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2499
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองเชียงใหม่
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
- นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
- นักธุรกิจจากจังหวัดเชียงใหม่
- บุคคลจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- สกุลบูรณุปกรณ์