ข้ามไปเนื้อหา

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว29 มีนาคม พ.ศ. 2565
ระบบสุดท้ายสลายตัว12 ธันวาคม พ.ศ. 2565
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อนันมาดอล
 • ลมแรงสูงสุด195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด910 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมด36 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมด25 ลูก
พายุไต้ฝุ่น10 ลูก
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น3 ลูก (ไม่เป็นทางการ)
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด490 คน
ความเสียหายทั้งหมด3.384 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี พ.ศ. 2565)
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก
2563, 2564, 2565, 2566 , 2567

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 เป็นเหตุการณ์ในรอบวัฎจักรของการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในอดีตของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวลากยาวตลอด พ.ศ. 2565 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม

ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมของสหรัฐอเมริกายังได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย

การพยากรณ์ฤดูกาล

[แก้]
วันที่พยากรณ์โดย
TSR
จำนวน
พายุโซนร้อน
จำนวน
พายุไต้ฝุ่น
จำนวน
พายุรุนแรง
ดัชนีเอซีอี อ้างอิง
เฉลี่ย (2508–2564) 25.9 ลูก 16.2 ลูก 8.8 ลูก 293 หน่วย [1]
5 พฤษภาคม 2565 23 ลูก 13 ลูก 7 ลูก 293 หน่วย [1]
6 กรกฎาคม 2565 23 ลูก 13 ลูก 7 ลูก 217 หน่วย [2]
9 สิงหาคม 2565 23 ลูก 14 ลูก 6 ลูก 166 หน่วย [3]
วันที่พยากรณ์โดย
ศูนย์พยากรณ์อื่น
ศูนย์พยากรณ์ ช่วงเวลา ระบบพายุ อ้างอิง
22 ธันวาคม 2564 PAGASA มกราคม–มีนาคม 0–3 ลูก [4]
22 ธันวาคม 2564 PAGASA เมษายน–มิถุนายน 1–4 ลูก [4]
29 มิถุนายน 2565 PAGASA กรกฎาคม–กันยายน 3–6 ลูก [5]
29 มิถุนายน 2565 PAGASA ตุลาคม–ธันวาคม 5–9 ลูก [5]
ฤดูกาล 2565 ศูนย์พยากรณ์ พายุหมุน
เขตร้อน
พายุโซนร้อน พายุไต้ฝุ่น อ้างอิง
เกิดขึ้นจริง: JMA 26 ลูก 17 ลูก 8 ลูก
เกิดขึ้นจริง: JTWC 20 ลูก 14 ลูก 9 ลูก
เกิดขึ้นจริง: PAGASA 12 ลูก 9 ลูก 5 ลูก

ในระหว่างฤดูกาล หลายหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศจะมีการคาดการณ์ของพายุหมุนเขตร้อน, พายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่น ที่จะก่อตัวในช่วงฤดู และ/หรือ จะมีพายุกี่ลูกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศนั้น หลายหน่วยงานนี้ได้รวมไปถึงองค์กรความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน, สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) และสำนักสภาพอากาศกลางของไต้หวันด้วย การพยากรณ์แรกของปีได้รับการเผยแพร่โดย PAGASA เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ในคาดการณ์ภูมิอากาศรายฤดูประจำเดือนเป็นการคาดการณ์ช่วงครึ่งแรกของฤดูกาล 2565[4] หน่วยงานคาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเพียง 0–3 ลูกที่เข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ในระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม ขณะเดือนเมษายนถึงมิถุนายนจะมีพายุหมุนเขตร้อนเพียง 1–4 ลูก นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่าสภาวะลานีญาที่กำลังดำเนินอยู่นั้นจะคงอยู่ต่อไปจนกว่าจะถึงการเปลี่ยนผ่านกลับไปสู่สภาวะที่เป็นกลางของเอ็นโซในไตรมาสที่สองของปี 2565[4]

วันที่ 5 พฤษภาคม องค์กรความเสี่ยงพายุโซนร้อนได้ออกการคาดการณ์ฉบับแรกของฤดูกาล 2565 ซึ่งคาดว่าสภาวะลานีญาจะคงอยู่ไปจนถึงช่วงไตรมาสที่สามของปี โดยคาดว่ากิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนในฤดูกาล 2565 จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อยอยู่ที่พายุโซนร้อน 23 ลูก พายุไต้ฝุ่น 13 ลูก และพายุไต้ฝุ่นรุนแรง 7 ลูก[2] วันที่ 9 สิงหาคม องค์กรความเสี่ยงพายุโซนร้อนได้ออกการคาดการณ์ฉบับที่สองของฤดูกาล โดยเปลี่ยนแปลงจำนวนพายุไต้ฝุ่นเพิ่มเป็น 14 ลูก และลดจำนวนพายุไต้ฝุ่นรุนแรงลงไปที่ 6 ลูก รวมทั้งลดดัชนีเอซีอีที่คาดไว้ลงไปอย่างมีนัยสำคัญที่ 166 ซึ่งเป็นไปตามเวลาดังกล่าวขณะนั้นที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนลดลงในเดือนมิถุนายน[3]

วันที่ 26 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนพัดเข้าสู่ประเทศไทยจำนวน 2 ลูกโดยมีโอกาสเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในเดือนสิงหาคมหรือกันยายน[6]

ภาพรวมฤดูกาล

[แก้]
Typhoon NoruTyphoon Nanmadol (2022)Typhoon Muifa (2022)Typhoon HinnamnorTropical Storm Ma-on (2022)Tropical Storm Megi (2022)

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (คณะกรรมการไต้ฝุ่น)
  พายุดีเปรสชัน (≤61 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (118–156 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (62–88 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (157–193 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อนกำลังแรง (89–117 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (≥194 กม./ชม.)

พายุโซนร้อนมาลากัสที่ทวีความรุนแรงขึ้นทางตะวันออกของแยปขณะที่พายุโซนร้อนเมกี (อากาโตน)ใกล้ภูมิภาควิซายัสและต่อมาหยุดนิ่งในอ่าวเลย์เตทำให้เกิดน้ำท่วมและดินถล่มครั้งใหญ่ในฟิลิปปินส์

ในช่วงสองเดือนแรกของปี พ.ศ. 2565 ไม่มีพายุก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวทางตะวันตกของเกาะปาลาวันและมุ่งหน้าไปยังเวียดนามและได้รับการกำหนดเป็นพายุดีเปรสชัน 01W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมแต่พายุดีเปรสชัน 01W อยู่เพียงแค่ 3วัน ก่อนที่จะสลายไป ในช่วงต้นเดือนเมษายน มีบริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำที่กำหนดเป็น 94W และ95W ได้ก่อตัวขึ้น 95W กลายเป็นพายุโซนร้อนมาลากัสซึ่งต่อมาทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนลูกแรก และต่อมาเป็นพายุไต้ฝุ่นลูกแรกของฤดูกาล นอกจากนี้ยังได้รับชื่อ บาชัง(Basyang) จากPAGASA แต่ใช้เวลาเพียง 5 ชั่วโมงภายในเขตรับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ และ 94W ขึ้นฝั่งเกาะมินดาเนา ครั้งแรก ก่อนที่จะเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกในที่สุด และต่อมาทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนเมกีซึ่งได้รับชื่ออากาโตน (Agaton) โดยตั้งชื่อโดย PAGASA เมื่อมันก่อตัวขึ้น ก่อนที่ พายุไต้ฝุ่นมาลากัสจะเข้ามาในเขตรับผิดชอบของฟิลิปปินส์ พายุโซนร้อนเมกี (หรือที่รู้จักในชื่ออากาโตนในประเทศฟิลิปปินส์ ) ได้นำภัยพิบัติน้ำท่วมและดินถล่มในประเทศฟิลิปปินส์ เนื่องจากพายุโซนร้อนเมกี เกือบจะหยุดนิ่งในอ่าวเลย์เตก่อนจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่ง หลังจากนั้นเมกีก็สลายไป และรวมตัวเข้ากับพายุไต้ฝุ่นมาลากัสที่ใหญ่กว่า ซึ่งทำให้รุนแรงขึ้นเป็นไต้ฝุ่นระดับ 4 จากนั้นมาลากัสก็เริ่มอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วเมื่อเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือและกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และแอ่งก็สงบงบ

พายุ

[แก้]

พายุไต้ฝุ่นมาลากัส

[แก้]
2201 (JMA)・02W (JTWC)・บาชัง (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 6 เมษายน พ.ศ. 2565 – 15 เมษายน พ.ศ. 2565
ความรุนแรง 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)

ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ตรวจพบบริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำเป็นครั้งแรกเมื่อ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2565[7] มีสภาวะที่เอื้ออำนวยที่ทำให้บริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำเกิดการพัฒนา โดย กรมอุตุนิยมญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับบริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำ เป็นพายุดีเปรสชัน ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2565[8] ต่อมาในวันนั้น JTWC ได้ออก TCFA[9] วันรุ่งขึ้น JTWC ได้ยกระดับบริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำเป็นพายุดีเปรสชัน 02W[10] เมื่อเวลา 21:00 น. UTC JTWC ได้ยกระดับจากพายุดีเปรสชันเป็นพายุโซนร้อน[11] ในวันที่ 8 เมษายน พายุดีเปรสชันพัฒนาเป็นพายุโซนร้อนและถูกตั้งชื่อโดย JMA ว่า มาลากัส(Malakas) ซึ่งเสนอชื่อจากประเทศฟิลิปปินส์แปลว่าความแข็งแกร่ง[12] พายุโซนร้อนมาลากัส ยังคงอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก และเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นอย่างช้าๆ กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2565 และเป็นพายุไต้ฝุ่นเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2565[13][14] ในวันเดียวกันพายุไต้ฝุ่นมาลากัสได้เข้าสู่เขตความรับผิดชอบของฟิลิปปินส์โดยได้รับชื่อท้องถิ่นของ บาชัง (Basyang) จาก PAGASA เมื่อเวลา 10.00 น. ตามเวลาของประเทศฟิลิปปินส์ [15] มาลากัส/บาชังอยู่บริเวณเขตรับผิดชอบของฟิลิปปินส์ประมาณ 5 ชั่วโมงก่อนที่จะออกไป[16] จากนั้นพายุไต้ฝุ่นมาลากัสก็ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 จากนั้นพายุไต้ฝุ่นมาลากัสยังคงทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก โดยทวีความรุนแรงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ในเช้าวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2565 และพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 ในตอนเที่ยงของวันนั้น ถึงระดับความรุนแรงสูงสุด โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ประเมินความเร็วขณะไต้ฝุ่นมาลากัสมีความเร็วสูงสุดถึง 215 กม./ชม.(เฉลี่ย 1 นาที) และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ประเมินความเร็วขณะพายุไต้ฝุ่นมาลากัสมีความเร็วสูงสุดถึง 165 กม./ชม. (เฉลี่ย 10 นาที) วันรุ่งขึ้นไต้ฝุ่นมาลากัสอ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 เนื่องจากโครงสร้างตาพายุเริ่มกระจัดกระจายเนื่องจากเคลื่อนผ่านบริเวณน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำ ต่อมาได้อ่อนกำลังเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2565 พายุมาลากัสได้เป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว JTWC ได้ออกคำเตือนครั้งสุดท้ายเกี่ยวกับพายุลูกนี้ เมื่อเวลา 09:00 UTC ของวันเดียวกัน JMA ได้ออกคำเตือนครั้งสุดท้ายเมื่อเวลาประมาณ 18:00 UTC

พายุโซนร้อนเมกี

[แก้]
2202 (JMA)・03W (JTWC)・อากาโตน (PAGASA)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 8 เมษายน พ.ศ. 2565 – 13 เมษายน พ.ศ. 2565
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2565 JTWC สังเกตเห็นการคงอยู่ของบริเวณการพาความร้อน 359 ไมล์ทะเล (665 กม.; 413 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของปาเลา[17] เนื่องจากสภาพของพายุมีความเอื้ออำนวยต่อการพัฒนา JMA จึงประกาศเป็นพายุดีเปรสชันนอกชายฝั่งตะวันออกของวิซายัสในวันนั้น[17][18] ในช่วงเวลาเดียวกัน PAGASA ประกาศว่าบริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำได้ทวีความรุนแรงเป็นพายุดีเปรสชันและได้ตั้งชื่อว่าอากาโตน(Agaton)[19] โดยหน่วยงาน PAGASA เริ่มออก Tropical Cyclone Bulletins (TCBs) สำหรับพายุในวันนั้น[20] ในวันรุ่งขึ้น JTWC ได้ออก TCFA สำหรับพายุในภายหลัง [21] เวลา 03:00 UTC JTWC ได้อัปเกรดเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และกำหนดตัวระบุ 03W [22] เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2565 JMA ได้อัปเกรดเป็นพายุโซนร้อน โดยกำหนดให้ชื่อ เมกี (Megi) 메기 เสนอชื่อโดยประเทศเกาหลีใต้ แปลว่า ปลาดุก,ปลาดุกอามูร์ [23] และพายุได้ขึ้นฝั่งครั้งแรกที่เกาะ Calicoan , Guiuan เมื่อเวลา 07:30 PHT (23:30 UTC)[24] พายุโซนร้อนเมกีอยู่ในอ่าวเลย์เตหลายชั่วโมงก่อนที่จะขึ้นฝั่งอีกครั้งที่เกาะ Basey, Samar.[25] พายุโซนร้อนเมกีได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันหลังขึ้นฝั่งที่เกาะ Samar และ Leyte, และPAGASA ยกเลิกคำเตือนทั้งหมดหลังพายุได้อ่อนกำลังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ และสลายตัวในตอนเที่ยงคืนของวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2565[26]

ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน ถึง 10 เมษายน พายุได้เคลื่อนตัวไปตามภูมิภาควิซายัสตะวันออก ส่งผลให้มีฝนตกหนักในภูมิภาค[27] PAGASA ยกสัญญาณพายุขึ้นเป็นสัญญาณหมายเลข 2 เมื่อพายุเข้าใกล้ฝั่ง[28][29] เมืองเซบูเกิดฝนตกหนักและเสี่ยงภัยพิบัติ[30] พายุโซนร้อนเมกีได้ทำให้มีชีวิต 214 ราย ซึ่งทำให้เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ร้ายแรงที่สุดในเดือนเมษายนเป็นประวัติการณ์ในประเทศฟิลิปปินส์ [31][32] มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 8 คน[33] และเกิดพลิกคว่ำของเรือสินค้าในOrmocหลังเกิดฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง และเกิดอุทกภัยที่ทำให้ประชาชนกว่า 136,390 คนต้องพลัดถิ่น [34] ผู้ว่าเมือง Davao de Oro ประเมินความเสียหายทางเกษตรความเสียหายประมาณ 4.72 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์(90.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ).[35]

พายุไต้ฝุ่นชบา

[แก้]
2203 (JMA)・04W (JTWC)・กาโลย (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 28 มิถุนายน – 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ความรุนแรง 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนแอรี

[แก้]
2204 (JMA)・05W (JTWC)・โดเมง (PAGASA)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 30 มิถุนายน – 4 กรกฎาคม
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนซงด่า

[แก้]
2205 (JMA)・06W (JTWC)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 26 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนตรอแซะฮ์

[แก้]
2206 (JMA)・07W (JTWC)・เอสเตร์ (PAGASA)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 29 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนมู่หลาน

[แก้]
2207 (JMA)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันมรสุม
ระยะเวลา 8 – 11 สิงหาคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนเมอารี

[แก้]
2208 (JMA)・09W (JTWC)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 10 – 14 สิงหาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงหมาอ๊อน

[แก้]
2209 (JMA)・10W (JTWC)・โฟลรีตา (PAGASA)
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 20 – 26 สิงหาคม
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นโทกาเงะ

[แก้]
2210 (JMA)・11W (JTWC)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 21 – 25 สิงหาคม
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นหีนหนามหน่อ

[แก้]
2211 (JMA)・12W (JTWC)・เฮนรี (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 28 สิงหาคม – 6 กันยายน
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
920 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.17 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นหมุ่ยฟ้า

[แก้]
2212 (JMA)・14W (JTWC)・อินได (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 5 – 16 กันยายน
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเมอร์บก

[แก้]
2213 (JMA)・15W (JTWC)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 9 – 15 กันยายน
ความรุนแรง 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นนันมาดอล

[แก้]
2214 (JMA)・16W (JTWC)・โจซี (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 9 – 19 กันยายน
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
910 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.87 นิ้วปรอท)

วันที่ 9 กันยายน เวลา 06:00 UTC กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนกำลังอ่อนที่อยู่ทางตะวันออกของเกาะอิโวะจิมะ ประเทศญี่ปุ่น[36] กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนอีกครั้งในอีกสองวันถัดมา วันที่ 12 กันยายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้กำหนดรหัสเรียกขานกับระบบว่า 16W ขณะที่ระบบอยู่ห่างจากเกาะอิโวะจิมะไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ที่ระยะ 262 nmi (485 km; 302 mi)[37] ในวันเดียวกันนั้นทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นและศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับให้ระบบเป็นพายุโซนร้อน โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ตั้งชื่อให้กับระบบว่า นันมาดอล[38][39] พายุมีความรุนแรงเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันที่ 15 กันยายน[40] ตามประกาศฉบับที่สิบสามของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม พายุนันมาดอลได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นพายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก[41] จากนั้นพายุนันมาดอลได้เข้าสู่พื้นที่ของฟิลิปปินส์ของ PAGASA ในวันที่ 16 กันยายน เวลา 09:40 UTC สำนักงานฯ จึงให้ชื่อท้องถิ่นฟิลิปปินส์กับระบบว่า โจซี[42][43] อย่างไรก็ตาม พายุนันมาดอลได้ออกจากพื้นที่ดังกล่าวของฟิลิปปินส์อย่างรวดเร็วในเวลาประมาณ 14:00 UTC ของวันเดียวกัน[44] ระบบพายุมีความกดอากาศ 910 hPa (mbar) ซึ่งต่ำสุดของฤดูกาลนี้[45][ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง] เมื่อพายุใกล้พัดขึ้นฝั่งในภาคใต้ของญี่ปุ่น ตัวพายุได้เริ่มอ่อนกำลังลงขณะเข้าใกล้กับเกาะคีวชู[46] และเมื่อพัดขึ้นฝั่ง พายุได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1[47] ขณะที่ตัวพายุเคลื่อนไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นภายหลังจากการพัดขึ้นฝั่ง พายุได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนตามประกาศของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ส่วนกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ลดความรุนแรงระบบเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ต่อมาในประกาศฉบับที่ยี่สิบเก้าของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ศูนย์ฯ ระบุว่าพายุนันมาดอลนั้นได้อ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่องขณะเคลื่อนตัวเหนือแผ่นดินญี่ปุ่น และได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน[ต้องการอ้างอิง]

ก่อนพายุจะส่งผลกระทบต่อประเทศ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ออกประกาศเตือนภัยฉบับพิเศษ ระบุว่าพายุนันมาดอลอาจส่งกระทบอย่างรุนแรง และมีคำแนะนำให้ประชาชนอย่างน้อย 4 ล้านคนอพยพออกจากบ้าน[48] มีการบันทึกปริมาตรหยาดน้ำฟ้าได้ในระดับสูงมากจนเกิดน้ำท่วมบนถนน ทำลายกำแพงอาคาร และทำลายเสาไฟฟ้า ประชาชนเสียชีวิตอย่างน้อย 2 คนและได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 70 คน และประชาชนมากกว่า 200,000 คนต้องอยู่อย่างไร้ไฟฟ้าใช้[49][50][51] ในเกาหลีใต้ ลมและฝนจากพายุไต้ฝุ่นทำให้เกิดความไม่สะดวกสบายขึ้น มีผู้บาดเจ็บหนึ่งราย และประชาชนกว่า 700 คนต้องอพยพออกจากบ้านของตน มีรายงานต้นไม้หักโค่นและไฟฟ้าดับทางด้านตะวันออก-ใต้ของประเทศ[52]

พายุโซนร้อนตาลัส

[แก้]
2215 (JMA)・17W (JTWC)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 20 – 23 กันยายน
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

วันที่ 20 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นรายงานว่าความแปรปรวนของอากาศได้พัฒนาขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[53] ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมรายงานว่าระบบความกดอากาศต่ำดังกล่าวได้พบกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการทวีกำลังขึ้น นั่นคืออุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อุ่นและลมเฉือนความรุนแรงต่ำ[54] วันรุ่งขึ้น ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ให้รหัสว่า 17W เมื่อระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[55] วันที่ 23 กันยายน ประกาศฉบับที่หกของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับให้ระบบเป็นพายุโซนร้อน ส่วนกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ให้ชื่อกับพายุว่า ตาลัส[56] เมื่อมันขึ้นฝั่งในภาคใต้ของประเทศญี่ปุ่น ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับลดความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[57]

พายุไต้ฝุ่นโนรู

[แก้]
2216 (JMA)・18W (JTWC)・การ์ดิง (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 21 – 29 กันยายน
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วปรอท)

วันที่ 21 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นรายงานว่าความแปรปรวนได้ก่อตัวขึ้นและพัฒนาเป็นพายุดีเปรสชันใกล้กับประเทศฟิลิปปินส์[58] ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมเรียกระบบดังกล่าวว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 95W (Invest 95W) และออกประกาศชี้ว่าระบบความกดอากาศต่ำนั้นอาจทวีกำลังแรงขึ้นได้เนื่องจากลมเฉือนอยู่ในระดับต่ำและน้ำทะเลที่อุ่น[59] หลายชั่วโมงต่อมา ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมปรับความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชัน และใช้รหัสว่า 18W[60] ซึ่ง PAGASA ก็กระทำในลักษณะเดียวกันในเวลา 00:00 UTC ของวันที่ 22 กันยายน และตั้งชื่อท้องถิ่นของฟิลิปปินส์ว่า การ์ดิง (Karding)[61] ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมปรับให้พายุดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อนในประกาศฉบับที่ 5 ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นใช้ชื่อ โนรู กับระบบพายุ[62] ในประเทศฟิลิปปินส์ PAGASA ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านอุตุนิยมวิทยาของประเทศได้ประกาศสัญญาณเตือนภัยลมจากพายุหมุนเขตร้อนระดับ 1 และต่อมาได้ยกขึ้นเป็นระดับ 3 เนื่องจากระบบพายุมีการทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นอย่างรวดเร็ว[63][64] วันที่ 24 กันยายน พายุโนรูเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์และมีกำลังเป็นพายุไต้ฝุ่น[65] จากนั้นพายุโนรูได้เข้าสู่กระบวนการการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามข้อมูลรายงานจากศูนย์ร่วมเตือนไต้ฝุ่นพบว่าตัวพายุมีความเร็วลมสูงสุดต่อเนื่องใน 1 นาทีที่ 165 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (103 ไมล์ต่อชั่วโมง)[66] วันเดียวกันนั้น PAGASA ได้ยกระดับสัญญาณเตือนภัยเป็นระดับที่ 4 และระบุว่าภาคเหนือของเกาะลูซอนจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากพายุหมุน[67] วันที่ 25 กันยายน เวลา 00:00 UTC ศูนย์ร่วมเตือนไต้ฝุ่นปรับให้พายุมีความรุนแรงในระดับพายุเทียบเท่าซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5[68] ต่อมา PAGASA ได้ปรับให้โนรูเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นเช่นกัน และยกระดับสัญญาณเตือนภัยเป็นระดับ 5 โดยนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ครั้งพายุไต้ฝุ่นโคนี เทียบตามมาตราใหม่ในปี พ.ศ. 2565[69] เวลา 05:30 น. ตามเวลามาตรฐานฟิลิปปินส์ PAGASA รายงานว่าพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นโนรูขึ้นฝั่งที่เทศบาลเบอร์เดโอส หมู่เกาะโปลิญโญ จังหวัดเกซอน โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมรายงานว่าเมื่อพายุพัดขึ้นฝั่งแล้วได้ลดความรุนแรงลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4[70]

พายุโซนร้อนกำลังแรงกุหลาบ

[แก้]
2217 (JMA)・19W (JTWC)
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 25 – 29 กันยายน
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)

วันที่ 24 กันยายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมออกรายงานฉบับแรกเกี่ยวกับระบบความกดอากาศต่ำ และจากการที่ตัวระบบเคลื่อนเข้าสู่พื้นที่ที่มีอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อุ่นขึ้นและมีลมเฉือนความรุนแรงต่ำ ศูนย์ฯ จึงได้ตั้งชื่อกับระบบว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 96W (Invest 96W)[71] รุ่งขึ้นกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้จัดให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[72]

พายุไต้ฝุ่นโรคี

[แก้]
2218 (JMA)・20W (JTWC)・ลุยส์ (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 27 กันยายน – 1 ตุลาคม
ความรุนแรง 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนเซินกา

[แก้]
2219 (JMA)・22W (JTWC)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 16 ตุลาคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเนสาท

[แก้]
2220 (JMA)・23W (JTWC)・เนเนง (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 20 ตุลาคม
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนไห่ถาง

[แก้]
2221 (JMA)・24W (JTWC)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 18 – 19 ตุลาคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงนัลแก

[แก้]
2222 (JMA)・26W (JTWC)・ปาเอง (PAGASA)
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 26 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนบันยัน

[แก้]
2223 (JMA)・27W (JTWC)・กวีนี (PAGASA)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 28 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนยามาเนโกะ

[แก้]
2224 (JMA)・28W (JTWC)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 14 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตะวันออก-ตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะWake ในวันที่ 11 พฤศจิกายน จากนั้นก็ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน จนได้ชื่อว่ายามาเนโกะจาก JMA [73]พายุลูกนี้มีอายุสั้นและอ่อนกำลังลงเนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่เย็นลง และสลายไปในเช้าวันที่ 14 พฤศจิกายน

พายุโซนร้อนปาข่า

[แก้]
2225 (JMA)・29W (JTWC)・โรซัล (PAGASA)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 10 – 12 ธันวาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)


พายุดีเปรสชันเขตร้อน

[แก้]

รายการพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงสูงสุดเป็นเพียงพายุดีเปรสชัน โดยอาจเป็นพายุที่มีรหัสเรียกตามหลังด้วยตัวอักษร W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม หรืออาจได้รับชื่อท้องถิ่นจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) แต่ไม่ถูกตั้งชื่อตามเกณฑ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวระบุเพียงแต่คำว่า TD (Tropical Depression) หรือพายุดีเปรสชันเท่านั้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 01W

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 29 – 31 มีนาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

บริเวณความกดอากาศต่ำเกิดหลังจากเคลื่อนตัวข้ามภูมิภาควิซายัสและปาลาวันเมื่อปลายเดือนมีนาคมได้พัฒนาเป็นหย่อมกดอากาศต่ำกำลังแรงอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม จากนั้นได้พัฒนาตัวเป็นพายุดีเปรสชัน ของวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 18:00 UTC ซึ่งเป็นพายุลูกแรกของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ที่มีความรุนแรงระดับพายุดีเปรสชันขึ้นไป [74] เมื่อเวลา 21:00 UTC ในวันเดียวกัน JTWC ได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน (TCFA) สำหรับพายุลูกนี้[75] ในวันรุ่งขึ้น JTWC ได้กำหนดให้เป็นพายุดีเปรสชัน โดยกำหนดให้เป็นชื่อ 01W ไม่นานหลังจากนั้น JTWC ได้ออกคำเตือนครั้งสุดท้ายให้กับพายุดีเปรสชัน 01W หลังจากที่พายุได้ขึ้นฝั่งที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเวียดนาม เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565[76]

ในประเทศเวียดนาม พายุดีเปรสชันทำให้เกิดน้ำท่วมและได้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย สูญหาย 1 ราย บาดเจ็บ 8 ราย น้ำท่วมยังทำให้บ้านเรือน 2 หลังพังเสียหาย หลังคาได้รับความเสียหาย 50 หลัง เรือจม 229 ลำ และแพ 2,592 แพได้รับความเสียหาย [77]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 30 – 31 พฤษภาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 24 – 26 กรกฎาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 08W

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 4 – 5 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 14 – 15 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1012 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.88 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 22 – 23 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 13W

[แก้]
ชื่อของ PAGASA: การ์โด
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 30 สิงหาคม – 1 กันยายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
Counterclockwise vortex
ระยะเวลา 25 – 27 กันยายน
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1012 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.88 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

[แก้]
ชื่อของ PAGASA: ไมไม
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 11 – 12 ตุลาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 21W

[แก้]
21W (JTWC)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 12 – 14 ตุลาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 25W

[แก้]
25W (JTWC)・โอเบต (PAGASA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 18 – 23 ตุลาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ

[แก้]

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ต่างทำหน้าที่กำหนดชื่อของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งเป็นผลให้พายุหมุนเขตร้อนอาจมีสองชื่อ[78] RSMC โตเกียวโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น — ศูนย์ไต้ฝุ่นจะกำหนดชื่อสากลให้กับพายุหมุนเขตร้อนในนามของคณะกรรมการไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งพวกเขาจะประมาณความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาทีของพายุหมุนเขตร้อน หากมีความเร็วลมถึง 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (40 ไมล์ต่อชั่วโมง) พายุหมุนเขตร้อนดังกล่าวจะได้รับชื่อ[79] ส่วน PAGASA จะกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเคลื่อนตัวเข้าหรือก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ มีขอบเขตอยู่ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 135°ดะวันออก ถึง 115°ตะวันออก และระหว่างเส้นขนานที่ 5°เหนือ ถึง 25°เหนือ แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนลูกนั้นจะได้รับชื่อสากลแล้วก็ตาม[78] โดยชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญจะถูกถอนโดยทั้ง PAGASA และ คณะกรรมการไต้ฝุ่น[79] ในระหว่างฤดูกาล หากรายชื่อของภูมิภาคฟิลิปปินส์ที่เตรียมไว้ถูกใช้จนหมด PAGASA จะใช้ชื่อจากรายชื่อเพิ่มเติม ซึ่งถูกกำหนดขึ้นไว้ในแต่ละฤดูกาลมาใช้กับพายุหมุนเขตร้อนแทนชื่อที่หมดไป

ชื่อสากล

[แก้]

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะเป็นหน่วยงานที่กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน เมื่อระบบได้รับการประมาณว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาที ที่ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (40 ไมล์ต่อชั่วโมง)[80] โดย JMA จะคัดเลือกชื่อจากรายการ 140 ชื่อ ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดย 14 ประเทศสมาชิกและดินแดนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/WMO คณะกรรมการไต้ฝุ่น[81]

ชุดที่ 4

  • มาลากัส (2201)
  • เมกี (2202)
  • ชบา (2203)
  • แอรี (2204)
  • ซงด่า (2205

ชุดที่ 5

  • ตรอแซะฮ์ (2206)
  • มู่หลาน (2207)
  • เมอารี (2208)
  • หมาอ๊อน (2209)
  • โทกาเงะ (2210)
  • หินหนามหน่อ (2211)
  • หมุ่ยฟ้า (2212)
  • เมอร์บก (2213)
  • นันมาดอล (2214)
  • ตาลัส (2215)
  • โนรู (2216)
  • กุหลาบ (2217)
  • โรคี (2218)
  • เซินกา (2219)
  • เนสาท (2220)
  • ไห่ถาง (2221)
  • นัลแก (2222)
  • บันยัน (2223)
  • ยามาเนโกะ (2224)
  • ปาข่า (ยังไม่ใช้)
  • ซ้านหวู่ (ยังไม่ใช้)
  • มาวาร์ (ยังไม่ใช้)
  • กูโชล (ยังไม่ใช้)
  • ตาลิม (ยังไม่ใช้)
  • ทกซูรี (ยังไม่ใช้)
  • ขนุน (ยังไม่ใช้)
  • แลง (ยังไม่ใช้)
  • เซาลา (ยังไม่ใช้)

ฟิลิปปินส์

[แก้]

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน[82] โดยชื่อที่ใช้ถูกนำมาจากรายชื่อ เป็นรายชื่อเดียวกับที่ถูกใช้ไปในฤดูกาล ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 2561) และมีกำหนดจะถูกนำมาใช้อีกครั้งในฤดูกาล ค.ศ. 2026 (พ.ศ. 2569) ด้วย[82] ซึ่งรายชื่อทั้งหมดเหมือนเดิมกับครั้งก่อน เว้น โอเบต, โรซัล และ อุมเบร์โต ที่ถูกนำมาแทน โอมโปง, โรซีตา และอุสมัน ที่ถูกถอนไป[82]

  • อากาโตน (2202)
  • บาชัง (2201)
  • กาโลย (2203)
  • โดเมง (2204)
  • เอสเตร์ (2206)
  • โฟลรีตา (2209)
  • การ์โด
  • เฮนรี (2211)
  • อินได (2212)
  • โจซี (2214)
  • การ์ดิง (2216)
  • ลุยส์ (2218)
  • ไมไม
  • เนเนง
  • โอเบต
  • ปาเอง (2222)
  • กวีนี (2223)
  • โรซัล (ยังไม่ใช้)
  • ซามูเวล (ยังไม่ใช้)
  • โตมัส (ยังไม่ใช้)
  • อุมเบร์โต (ยังไม่ใช้)
  • เบนุส (ยังไม่ใช้)
  • วัลโด (ยังไม่ใช้)
  • ยายัง (ยังไม่ใช้)
  • เซนี (ยังไม่ใช้)
รายชื่อเพิ่มเติม
  • อากีลา (ยังไม่ใช้)
  • บากวิส (ยังไม่ใช้)
  • ซีโต (ยังไม่ใช้)
  • ดีเยโก (ยังไม่ใช้)
  • เอเลนา (ยังไม่ใช้)
  • เฟลีโน (ยังไม่ใช้)
  • กุนดิง (ยังไม่ใช้)
  • แฮร์เรียต (ยังไม่ใช้)
  • อินดัง (ยังไม่ใช้)
  • เจสซา (ยังไม่ใช้)

ผลกระทบ

[แก้]

ตารางนี้รวมเอาทั้งหมดของระบบพายุที่ก่อตัวภายใน หรือ เคลื่อนตัวเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ทางฝั่งตะวันตกของเส้นแบ่งวันสากล ภายในปี พ.ศ. 2565 ตารางนี้ยังมีภาพรวมของความรุนแรงของระบบ ระยะเวลา บริเวณที่มีผลกระทบกับแผ่นดิน และจำนวนความเสียหายหรือจำนวนผู้เสียชีวิตใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบพายุ

ชื่อพายุ ช่วงวันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีกำลังสูงสุด
ความเร็วลมต่อเนื่อง
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
01W 29–31 มีนาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1006 hPa เวียดนาม ไม่มี 6 [83]
มาลากัส 6–15 เมษายน พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก 165 กม./ชม. 945 hPa หมู่เกาะแคโรไลน์,หมู่เกาะโองาซาวาระ &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
เมกี 8–13 เมษายน พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 996 hPa ประเทศฟิลิปปินส์ &000000009080000000000090.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 214 [31]
ดีเปรสชัน 30 พฤษภาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1006 hPa ฟิลิปปินส์ ไม่มี ไม่มี
ชบา 28 มิถุนายน – 5 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง 130 กม./ชม. 965 hPa จีน, เวียดนาม &0000000000000000000000 ไม่ทราบ 12 [84]
แอรี 30 มิถุนายน – 4 กรกฎาคม พายุโซนร้อน 85 กม./ชม. 994 hPa ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่ทราบ &0000000000000000000000 ไม่มี
ดีเปรสชัน 24–25 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1006 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ซงด่า 26 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 996 hPa ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, เกาหลีเหนือ &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ตรอแซะฮ์ 29 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 998 hPa หมู่เกาะรีวกีว, เกาหลีใต้ &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
08W 3–4 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa จีนตอนใต้, เวียดนาม &0000000000000000000000 ไม่ทราบ &0000000000000000000000 ไม่มี
มู่หลาน 8–11 สิงหาคม พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 996 hPa จีนตอนใต้, เวียดนาม, ลาว, ไทย, เมียนมาร์ &0000000000106850000000107 พันดอลลาร์สหรัฐ 7 [85][86][87]
เมอารี 10–14 สิงหาคม พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 994 hPa ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่ทราบ &0000000000000000000000 ไม่มี
ดีเปรสชัน 14–15 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1012 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
หมาอ๊อน 20–26 สิงหาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 110 กม./ชม. 980 hPa ฟิลิปปินส์, จีนตอนใต้, เวียดนาม &00000000091300000000009.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 7 [88][89][90]
โทกาเงะ 21–25 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง 140 กม./ชม. 970 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 22 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1008 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
หินหนามหน่อ 28 สิงหาคม – 6 กันยายน พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 195 กม./ชม. 920 hPa ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, จีนตะวันออก, เกาหลีใต้, เกาหลีเหนือ, รัสเซียตะวันออกไกล &00000012085000000000001.21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 12 [91][92]
13W 30 สิงหาคม – 1 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 998 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
หมุ่ยฟ้า 5–16 กันยายน พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก 155 กม./ชม. 950 hPa ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, หมู่เกาะยาเอยามะ, จีนตะวันออก &0000000000000000000000 ไม่ทราบ &0000000000000000000000 ไม่มี
เมอร์บก 9–15 กันยายน พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง 130 กม./ชม. 965 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
นันมาดอล 9–19 กันยายน พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 195 กม./ชม. 910 hPa ญี่ปุ่น, คาบสมุทรเกาหลี, รัสเซียตะวันออกไกล &0000000000000000000000 ไม่ทราบ &0000000000000000000000 4 [93]
ตาลัส 20–23 กันยายน พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 1000 hPa ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 3
โนรู 21–29 กันยายน พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก 175 กม./ชม. 940 hPa ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, ลาว, ไทย, กัมพูชา &000000002620000000000026.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ &0000000000000008000000 8
กุหลาบ 25–29 กันยายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 110 กม./ชม. 970 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ดีเปรสชัน 25–26 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1012 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
โรคี 27 กันยายน – ปัจจุบัน พายุโซนร้อนกำลังแรง 100 กม./ชม. 990 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
สรุปฤดูกาล
26 ลูก ฤดูกาลดำเนินอยู่ในปัจจุบัน   195 กม./ชม. 950hPa   1.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 269


ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Saunders, Mark; Lea, Adam (May 5, 2022). Extended Range Forecast for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2022 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. สืบค้นเมื่อ May 5, 2022.
  2. 2.0 2.1 Saunders, Mark; Lea, Adam (July 6, 2022). July Forecast Forecast Update for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2022 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. สืบค้นเมื่อ July 7, 2022.[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 Saunders, Mark; Lea, Adam (August 9, 2022). August Forecast Forecast Update for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2022 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. สืบค้นเมื่อ August 9, 2022.[ลิงก์เสีย]
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 143rd Climate Forum Climate Outlook January–June 2022 (PDF) (Seasonal Climate Outlook). Philippine Atmospheric Geophysical and Astronomical Services Administration. December 22, 2021. p. 32. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 30, 2021. สืบค้นเมื่อ December 22, 2021.
  5. 5.0 5.1 149th Climate Forum July–December 2022 (PDF) (Seasonal Climate Outlook). Philippine Atmospheric Geophysical and Astronomical Services Administration. June 29, 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 30, 222. สืบค้นเมื่อ June 30, 2022.
  6. "การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2565". กรมอุตุนิยมวิทยา. July 26, 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 28, 2022. สืบค้นเมื่อ September 28, 2022.
  7. Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Oceans, 1830Z 3 เมษายน 2565 (Report). United States Joint Typhoon Warning Center. 3 เมษายน 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 เมษายน 2565. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2565. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  8. WWJP27 RJTD 060000 (Report). Japan Meteorological Agency. 2022-04-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-06. สืบค้นเมื่อ 2022-04-08.
  9. Tropical Cyclone Formation Alert (Invest 95W) (Report). United States Joint Typhoon Warning Center. 3 เมษายน 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 เมษายน 2565. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2565. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  10. พายุหมุนเขตร้อนไม่ทราบกำลัง 02W (Two) Warning No. 1 (Report). United States Joint Typhoon Warning Center. 7 เมษายน 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 เมษายน 2565. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2565. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  11. พายุหมุนเขตร้อนไม่ทราบกำลัง 02W (Two) Warning No. 4 (Report). United States Joint Typhoon Warning Center. 7 เมษายน 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 เมษายน 2565. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2565. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  12. Japan Meteorological Agency (2022-04-08). RSMC Tropical Cyclone Advisory on Tropical Storm 2201 (Malakas) (Report). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 8, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-08.
  13. Japan Meteorological Agency (2022-04-10). RSMC Tropical Cyclone Advisory on Tropical Storm 2201 (Malakas) (Report). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-19. สืบค้นเมื่อ 2022-04-14.{{cite report}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  14. Japan Meteorological Agency (2022-04-12). RSMC Tropical Cyclone Advisory on Tropical Storm 2201 (Malakas) (Report). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-19. สืบค้นเมื่อ 2022-04-14.{{cite report}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  15. "Tropical Cyclone Bulletin #1 for Typhoon 'Basyang'" (PDF). PAGASA. 12 เมษายน 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 เมษายน 2565. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  16. "Tropical Cyclone Bulletin #2F for Typhoon 'Basyang'" (PDF). PAGASA. 12 เมษายน 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 เมษายน 2565. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  17. 17.0 17.1 Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Oceans, 0330Z 3 เมษายน 2565 (Report). United States Joint Typhoon Warning Center. 3 เมษายน 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 เมษายน 2565. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2565. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  18. Japan Meteorological Agency (2022-04-08). WWJP27 RJTD 081800 (Report). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 8, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-08.
  19. PAGASA. "At 2:00 AM today, the Low Pressure Area east of Visayas developed into Tropical Depression #AgatonPH. Tropical Cyclone Bulletins will be issued starting at 5AM today". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 8, 2022. สืบค้นเมื่อ April 11, 2022.
  20. "Tropical Cyclone Bulletin #1 for Tropical Depression 'Agaton'" (PDF). PAGASA. 8 เมษายน 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 เมษายน 2565. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  21. Tropical Cyclone Formation Alert (Invest 94W) (Report). United States Joint Typhoon Warning Center. 9 เมษายน 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 เมษายน 2565. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2565. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  22. พายุหมุนเขตร้อนไม่ทราบกำลัง 03W (Three) Warning No. 1 (Report). United States Joint Typhoon Warning Center. 9 เมษายน 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 เมษายน 2565. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2565. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  23. "RSMC Tropical Cyclone Advisory Name TS 2202 Megi (2202) Upgraded from TD". Japan Meteorological Agency. April 10, 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-13. สืบค้นเมื่อ April 10, 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  24. "'Agaton' slightly weakens; to make landfall over Leyte's eastern coast, says PAGASA". ABS-CBN News. 2022-04-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-10.
  25. "At 4:00 PM today, Tropical Depression "AGATON" made landfall over Basey, Samar. #AgatonPH". Twitter (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-12. สืบค้นเมื่อ 2022-04-12.
  26. Sarao, Zacarian (2022-04-13). "Agaton weakens into LPA but will still cause heavy rainfall". INQUIRER.net (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-13.
  27. Arceo, Acor (2022-04-10). "Tropical Storm Agaton slightly weakens before looming 2nd landfall". Rappler (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-11. สืบค้นเมื่อ 2022-04-10.
  28. "Tropical Cyclone Bulletin #9 for Tropical Storm 'Agaton'" (PDF). PAGASA. 10 เมษายน 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 เมษายน 2565. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  29. "Signal No. 2 up over parts of Eastern Samar, 3 other areas due to Agaton". GMA News Online (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-10.
  30. Israel, Dale (2022-04-10). "Cebu City placed under state of calamity due to Agaton". CNN Philippines. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-10.
  31. 31.0 31.1 Situational Report No. 14 for TC AGATON (2022) (PDF) (Report). National Disaster Risk Reduction and Management Council. April 24, 2022. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ April 24, 2022. สืบค้นเมื่อ April 24, 2022.
  32. Alota, Bobbie; Morella, Cecil (April 14, 2022). "'Agaton' death toll from landslides, floods hits 148: official tallies". ABS-CBN News. Agence France-Presse. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-14. สืบค้นเมื่อ April 14, 2022.
  33. Abania, Lolet (2022-04-11). "3 patay, 1 nawawala, 2 nasaktan dahil sa Bagyong Agaton — NDRRMC" [3 dead, 1 missing, 2 injured due to Typhoon Agaton - NDRRMC]. Bulgar Online (ภาษาตากาล็อก). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-11.
  34. Gabieta, Joey (2022-04-10). "Cargo vessel capsizes off Ormoc City amid 'Agaton' onslaught". INQUIRER.net (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-10.
  35. "One dead in Davao de Oro due to Agaton – governor". CNN Philippines. 2022-04-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-10.
  36. "Archive.ph". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-09. สืบค้นเมื่อ 2022-09-26.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  37. "Tropical depression 16W (Sixteen) Warning #01 Issued 12/2100Z". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 12 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-20. สืบค้นเมื่อ 12 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  38. "Tropical storm 16W (Nanmadol) Warning #05 Issued 13/2100Z". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 13 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-20. สืบค้นเมื่อ 13 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  39. "Bulletin released of typhoon Muifa, typhoon Merbok and tropical storm Nanmadol Issued 13/2100Z". Japan Meteorological Agency (ภาษาอังกฤษ). 13 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-04. สืบค้นเมื่อ 13 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  40. "Typhoon Nanmadol (16W) Warning #12 Issued 15/1500Z". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 15 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-20. สืบค้นเมื่อ 15 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  41. "Typhoon Nanmadol (16W) Warning #13 Issued 16/0000Z". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 16 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-20. สืบค้นเมื่อ 16 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  42. "Watch". www.facebook.com. สืบค้นเมื่อ 16 September 2022.
  43. Arceo, Acor (16 September 2022). "Typhoon Josie enters PAR, no landfall seen". rappler.com. Rappler. สืบค้นเมื่อ 16 September 2022.[ลิงก์เสีย]
  44. "Watch". www.facebook.com. สืบค้นเมื่อ 16 September 2022.
  45. "Super typhoon Nanmadol (16W) Warning #17 Issued 16/2100Z". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 16 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-20. สืบค้นเมื่อ 16 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  46. "Typhoon Nanmadol (16W) Warning #22 Issued 18/0300Z". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 18 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-20. สืบค้นเมื่อ 18 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  47. "Typhoon Nanmadol (16W) Warning #25 Issued 18/2100Z". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 18 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-20. สืบค้นเมื่อ 18 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  48. "Japan storm: Millions told to evacuate as Typhoon Nanmadol makes landfall". BBC News. September 18, 2022.
  49. "Tropical storm Nanmadol (16W) Warning #26 Issued 19/0300Z". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 19 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-20. สืบค้นเมื่อ 19 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  50. "Tropical storm Nanmadol (16W) Prognostic Reasoning Warning #26 Issued 19/0300Z". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 19 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-19. สืบค้นเมื่อ 19 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  51. "At Least Two Killed in Japan Typhoon, Tokyo Under Flood Advisory". Bloomberg (ภาษาอังกฤษ). 19 September 2022. สืบค้นเมื่อ 19 September 2022.
  52. "1 person injured, hundreds evacuated as Typhoon Nanmadol nears". Korea Herald. September 19, 2022. สืบค้นเมื่อ 19 September 2022.
  53. "Bulletin released of Tropical depression (Invest 94W) Issued 20/2100Z". Japan Meteorological Agency (ภาษาอังกฤษ). 20 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-04. สืบค้นเมื่อ 20 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  54. "Tropical cyclone formation alert WTPN21 (Invest 94W) Isuued at 21/0130Z". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 20 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-21. สืบค้นเมื่อ 20 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  55. "Tropical depression 17W (Seventeen) Warning #01 Issued 21/2100Z". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 21 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-23. สืบค้นเมื่อ 22 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  56. "Tropical storm 17W (Talas) Warning #06 Issued 23/0300Z". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 23 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-23. สืบค้นเมื่อ 23 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  57. "Tropical depression 17W (Talas) Warning #07 Issued 21/0900Z". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 23 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-23. สืบค้นเมื่อ 23 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  58. "Bulletin released of tropical depressions (94W and 95W) Issued 21/1500Z". Japan Meteorological Agency (ภาษาอังกฤษ). 21 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-04. สืบค้นเมื่อ 21 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  59. "Current significant tropical weather advisories ABPW10 (Western/South Pacific Ocean) Reissued at 21/1530Z (Invest 95W)". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 21 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-27. สืบค้นเมื่อ 21 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  60. "Tropical depression 18W (Eighteen) Warning #01 Issued 22/0300Z". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 22 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-25. สืบค้นเมื่อ 22 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  61. ABS-CBN News [@ABSCBNNews] (22 September 2022). "JUST IN: The low pressure area east of Central Luzon has developed into Tropical Depression #KardingPH, @dost_pagasa said in its 8 a.m. bulletin Thursday. #WeatherPatrol. Story to follow on http://news.abs-cbn.com" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ 22 September 2022 – โดยทาง ทวิตเตอร์.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  62. "Tropical storm 18W (Eighteen) Warning #04 Issued 22/2100Z". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 22 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-24. สืบค้นเมื่อ 22 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  63. "Tropical Cyclone Bulletin #8 for Tropical Storm 'Karding'" (PDF). PAGASA. 23 กันยายน 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 กันยายน 2565. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  64. "Tropical Cyclone Bulletin #11 for Typhoon 'Karding'" (PDF). PAGASA. 24 กันยายน 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 กันยายน 2565. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  65. "Typhoon 17W (Noru) Warning #11 Issued 24/1500Z". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 24 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-25. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  66. "Super typhoon 17W (Noru) Warning #12 Prognostic Reasoning Issued 24/2100Z". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 24 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-24. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  67. "Tropical cyclone bulletin #15 Super typhoon Karding Issued 24/2100Z". PAGASA (ภาษาอังกฤษ). 24 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2022. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022.
  68. "Super typhoon 17W (Noru) Warning #12 Issued 24/2100Z". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 24 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-25. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  69. PAGASA-DOST [@dost_pagasa] (2022-09-24). "Tropical Cyclone Bulletin No. 16 Super Typhoon "#KardingPH" (NORU)" (ทวีต) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-25 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  70. "Typhoon 17W (Noru) Warning #15 Issued 25/1500Z". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 25 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-25. สืบค้นเมื่อ 25 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  71. "Current Northwest Pacific/North Indian Ocean Tropical Systems Tropical Cyclone Formation Alert WTPN21 Issued at 24/2230Z (Invest 96W)". JTWC (ภาษาอังกฤษ). 25 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2022. สืบค้นเมื่อ 25 September 2022.
  72. "Bulletin released of typhoon Noru and tropical depression (Seventeen) Issued 25/1500Z". Japan Meteorological Agency (ภาษาอังกฤษ). 21 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-04. สืบค้นเมื่อ 22 September 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  73. https://archive.today/2022.11.11-155729/https://tgftp.nws.noaa.gov/data/raw/ww/wwjp27.rjtd..txt
  74. "WWJP27 RJTD 291800". Japan Meteorological Agency. 29 March 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-07. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
  75. Tropical Cyclone Formation Alert (Invest 93W) (Report). United States Joint Typhoon Warning Center. 29 มีนาคม 2564. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มีนาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2564. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  76. พายุหมุนเขตร้อนไม่ทราบกำลัง 01W (One) Warning No. 1 (Report). United States Joint Typhoon Warning Center. 30 มีนาคม 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มีนาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2565. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  77. "Thời tiết, thiên tai ngày càng dị thường" [Weather and natural disasters are becoming more and more unusual]. Báo Thanh Niên (ภาษาเวียดนาม). 2022-04-04. สืบค้นเมื่อ 2022-04-14.
  78. 78.0 78.1 Padgett, Gary. "Monthly Tropical Cyclone Summary December 1999". Australian Severe Weather. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2012. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  79. 79.0 79.1 The Typhoon Committee (February 21, 2013). "Typhoon Committee Operational Manual 2013" (PDF). World Meteorological Organization. pp. 37–38. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2013. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  80. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 2021-12-30.
  81. Zhou, Xiao; Lei, Xiaotu (2012). "Summary of retired typhoons within the Western North Pacific Ocean". Tropical Cyclone Research and Review. The Economic and Social Commission for Asia and the Pacific/World Meteorological Organization's Typhoon Committee. 1 (1): 23–32. doi:10.6057/2012TCRR01.03. ISSN 2225-6032. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-12. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2014.
  82. 82.0 82.1 82.2 "Philippine Tropical Cyclone Names". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-28. สืบค้นเมื่อ April 18, 2015.
  83. "Viet Nam, Storms, Wind, Floods, and Landslide in Central Region (TD One) (1 Apr 2022) - Viet Nam". ReliefWeb (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-09.
  84. "China retrieves dozen bodies after Typhoon Chaba sinks ship". Reuters. July 4, 2022. สืบค้นเมื่อ July 4, 2022.
  85. "Storm Mulan circulation leaves six dead and missing". The World and Vietnam Report. August 15, 2022.
  86. "Farmed lobsters die en masse following storm in south-central Vietnam". Tuổi Trẻ News. August 13, 2022.
  87. "9 người chết và mất tích do mưa lũ sau bão số 2 ở miền Bắc". Voice of Vietnam (ภาษาเวียดนาม). 14 August 2022. สืบค้นเมื่อ 14 August 2022.
  88. "Florita exits PH; death toll now 4". Inquirer. August 28, 2022.
  89. "SitRep No. 7 for Severe Tropical Storm Florita (2022)" (PDF), NDRRMC, สืบค้นเมื่อ August 28, 2022
  90. "3 người chết, nhiều tài sản thiệt hại trong mưa lũ sau bão số 3". Thanh Niên (ภาษาเวียดนาม). 27 August 2022. สืบค้นเมื่อ 27 August 2022.
  91. "Landslide spawned by Typhoon Henry's heavy rains catches farmer inside brother's house in Ifugao". Manila Bulletin. September 2022.
  92. "[태풍 힌남노] 포항서 9명 사망·1명 실종…재산피해 1조7천억 원 – 연합뉴스 (Typhoon Hinnamnor: 9 dead, 1 missing in Pohang; Property damage at KRW 1.7 trillion)". m.yna.co.kr (ภาษาเกาหลี). Yonhap News Agency. September 7, 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 19, 2022. สืบค้นเมื่อ September 19, 2022.
  93. "At Least Two Killed in Japan Typhoon, Tokyo Under Flood Advisory". Bloomberg (ภาษาอังกฤษ). 19 September 2022. สืบค้นเมื่อ 19 September 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]