ข้ามไปเนื้อหา

พายุไต้ฝุ่นนันมาดอล (พ.ศ. 2565)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุไต้ฝุ่นนันมาดอล (โจซี)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
พายุไต้ฝุ่นนันมาดอลขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565
พายุไต้ฝุ่นนันมาดอลขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565
พายุไต้ฝุ่นนันมาดอลขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565
ก่อตัว 14 กันยายน พ.ศ. 2565
สลายตัว 20 กันยายน พ.ศ. 2565
ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 10 นาที:
195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.)
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
250 กม./ชม. (155 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 910 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.87 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต 4 ราย[1]
ความเสียหาย 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี พ.ศ. 2565)
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
ประเทศญี่ปุ่น, ประเทศเกาหลีใต้
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565

พายุไต้ฝุ่นนันมาดอล พ.ศ. 2565 ในประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า พายุไต้ฝุ่นหมายเลข 14 ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นโจซี (ญี่ปุ่น: 令和4年台風第14号โรมาจิReiwa Yonen Taifū Dai Ichiyon Gō; อังกฤษ: Typhoon Nanmadol, Super Typhoon Josie) เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ขึ้นฝั่งจังหวัดคาโงชิมะตอนใต้บนเกาะคีวชูในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2565 และมุ่งหน้าสู่เกาะญี่ปุ่นใหญ่[2] กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นประกาศเตือนภัยพิเศษในจังหวัดคาโงชิมะและจังหวัดมิยาซากิ[3] หนึ่งวันก่อนพายุไต้ฝุ่นจะขึ้นฝั่ง ซึ่งเป็นการประกาศเตือนภัยพิเศษครั้งแรกนอกจังหวัดโอกินาวะ[4][5] มีการสั่งให้ประชาชนกว่า 2 ล้านคนที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่นอพยพ กรมอุตุนิยมวิทยากล่าวว่าพายุไต้ฝุ่นนี้ "รุนแรงและอันตราย" และ "อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่"[6]

มีรายงานว่า 300,000 กว่าครัวเรือนทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถใช้ไฟได้หลังพายุไต้ฝุ่นนันมาดอลขึ้นฝั่งในวันอาทิตย์ตอนกลางคืน[7] เจแปนแอร์ไลน์ยกเลิกเที่ยวบินกว่า 800 เที่ยว วันจันทร์ที่ 19 เจอาร์ตะวันตกยกเลิกการให้บริการซันโยชิงกันเซ็งระหว่างสถานีฮิโรชิมะและฮากาตะ[8] นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ ชะลอการเดินทางไปนครนิวยอร์กเพื่อกล่าวสุนทรพจน์ในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเพื่อเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากพายุไต้ฝุ่น[9]

การเตรียมพร้อมและผลกระทบ

[แก้]
แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
■ พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
▲ พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน

ประเทศญี่ปุ่น

[แก้]

มีการพยากรณ์พายุไต้ฝุ่นลูกนี้ว่าเป็นพายุไต้ฝุ่นใน 5 อันดับที่มีความรุนแรงมากที่สุดที่จะขึ้นฝั่งญี่ปุ่น[10] อีกทั้งยังมีการคาดการณ์ว่ากระแสลมกรด (jet stream) จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้น้ำท่วมในปัจจุบันแย่ลงอีก[11] มีการประกาศเตือนภัยพิเศษในจังหวัดคาโงชิมะโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเตือนภัยพิเศษครั้งแรกนอกจังหวัดโอกินาวะ เจแปนแอร์ไลน์ได้ยกเลิกเที่ยวบินกว่า 800 เที่ยว[12] และการบริการรถไฟล่าช้าเป็นอย่างมาก[13] มีการคาดการณ์ว่าบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นหินหนามหน่อสองสัปดาห์ก่อนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพายุไต้ฝุ่นนันมาดอล[14] โดยรวม ประชาชนกว่า 7 ล้านคนได้รับคำสั่งให้อพยพ[15] จากจำนวนประชากร 7 ล้านคนนั้น อย่างน้อย 965,000 คนอยู่ในจังหวัดมิยาซากิ, จังหวัดคาโงชิมะ และหมู่เกาะอามากูซะ มีการเตือนภัยขั้นสูงสุดตามมาตราวัดญี่ปุ่น (ระดับที่ 5) ในเมืองนิชิโนโอโมเตะ จังหวัดคาโงชิมะ[16]

ตลอดช่วงบ่ายของวันที่ 18 กันยายน มิยาซากิวัดปริมาณน้ำฝนได้ที่ 381 มิลลิเมตร กรมอุตุนิยมวิทยากล่าวเพิ่มเติมว่าเป็น "ฝนตกที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน" เสาไฟโค่นล้มตลอดพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ อย่างน้อย 190,000 ครัวเรือนไม่สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้[17] ในจังหวัดคาโงชิมะ ประชาชนมากกว่า 8,000 คน ย้ายออกจากบ้านและ 12,000 คนอยู่ในที่หลบภัย นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ นักดับเพลิง กองกำลังป้องกันตนเอง และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ลงไปในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ[18] ระดับน้ำในแม่น้ำหลายสายใน 4 จังหวัด: คาโงชิมะ, โออิตะ, มิยาซากิ และ คูมาโมโตะ ขึ้นสูงเกินระดับเตือนภัยน้ำท่วม เขือนกว่า 100 เขื่อนมีการปล่อยน้ำก่อนพายุไต้ฝุ่นจะมาถึงเพื่อป้องกันน้ำท่วม โดยตัวเลขของจำนวนเขื่อนที่มีการปล่อยน้ำก่อนนั้นสูงกว่าพายุไต้ฝุ่นไห่เฉิน[19]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Japan cleans up after Typhoon Nanmadol leaves 4 dead
  2. "Japan tells 2m to shelter from 'very dangerous' Typhoon Nanmadol". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2022-09-17.
  3. "Thousands in shelters in Japan as 'very dangerous' Typhoon Nanmadol makes landfall". Channel News Asia (ภาษาอังกฤษ). 2022-09-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-18. สืบค้นเมื่อ 2022-09-18.
  4. "【速報】台風14号で鹿児島県に暴風・波浪・高潮特別警報 危険になる前に避難を". Weather News (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2022-09-17.
  5. "鹿児島県に「暴風・高潮・波浪特別警報」 命を守る行動を 沖縄県以外では初". Tenki (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2022-09-17.
  6. Ogura, Junko; Yeung, Jessie (2022-09-18). "Millions told to evacuate as Typhoon Nanmadol heads for Japan". CNN (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  7. "Severe power outages as Typhoon Nanmadol travels towards Tokyo". CNN (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-09-18.
  8. "Powerful typhoon slams into Japan as flood warnings issued". Japan Times (ภาษาอังกฤษ). 2022-09-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-19. สืบค้นเมื่อ 2022-09-19.
  9. "Typhoon batters Japan with record rain, killing one - NHK". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2022-09-19.
  10. Duff, Renee (September 16, 2022). "Japan braces for flooding, destructive winds from Super Typhoon Nanmadol".
  11. Wulfeck, Andrew (2022-09-16). "Super typhoon takes aim at Japan with life-threatening flooding, damaging winds". FOX Weather (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-09-17.
  12. 日本放送協会. "台風14号【交通】新幹線 運転取りやめ拡大へ 空の欠航700便超 | NHK". NHKニュース. สืบค้นเมื่อ 2022-09-18.
  13. Traylor, Daniel (2022-09-17). "Japan issues rare special warning as 'violent' Typhoon Nanmadol approaches Kyushu". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-09-17.
  14. Yoon, John (2022-09-17). "Japan Warns 'Violent Typhoon' Could Hit on Sunday". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2022-09-17.
  15. AFP (2022-09-18). "Rare 'special warning' issued as violent typhoon makes landfall in Japan". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-19.
  16. Hauser, Jessie Yeung,Sahar Akbarzai,Jennifer (2022-09-18). "Millions told to evacuate as Typhoon Nanmadol heads for Japan". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-18.
  17. Hida, Hikari; Yoon, John (2022-09-18). "Powerful Typhoon Thrashes Japan, With Millions Told to Evacuate". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2022-09-18.
  18. Bacon, John. "'Raining like never before': Thousands flee as Typhoon Nanmadol slams Japanese coast". USA TODAY (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-09-18.
  19. 日本放送協会. "台風14号【氾濫危険水位超の河川】(19日0:30) | NHK". NHKニュース. สืบค้นเมื่อ 2022-09-18.