ข้ามไปเนื้อหา

ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2565–2566

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2565–2566
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว27 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ระบบสุดท้ายสลายตัวฤดูกาลกำลังดำเนินอยู่
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อ01U
 • ลมแรงสูงสุด65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด994 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน1 ลูก
ผู้เสียชีวิตทั้งหมดไม่มี
ความเสียหายทั้งหมดไม่มี
ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย
2563–64, 2564–65, 2565–66, 2566–67, 2568–69

ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2565–2566 เป็นฤดูกาลในปัจจุบันที่กำลังมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน ภายในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ระหว่าง 90°ตะวันออก ถึง 160°ตะวันออก โดยฤดูกาลนี้ได้เริ่มนับอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 และไปสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2566 อย่างไรก็ตาม พายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวได้ตลอดเวลาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 และจะถูกนับรวมในฤดูกาลนี้ด้วย ในระหว่างฤดูกาล พายุหมุนเขตร้อนจะถูกติดตามอย่างเป็นทางการโดยสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย (BOM), สำนักอุตุนิยมวิทยา สภาพภูมิอากาศ และธรณีฟิสิกส์แห่งอินโดนีเซีย (BMKG) ในจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และศูนย์บริการสภาพอากาศแห่งชาติปาปัวนิวกินี ในพอร์ตมอร์สบี ส่วนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมของกองทัพเรือสหรัฐ (JTWC) ในรัฐฮาวาย สหรัฐ และศูนย์บริการทางอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติอื่น ๆ ประกอบด้วย เมทเซอร์วิซแห่งประเทศนิวซีแลนด์, เมเตโอ-ฟร็องส์แห่งประเทศฝรั่งเศสบนเกาะเรอูนียง และกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี ก็ต่างเฝ้าติดตามส่วนของแอ่งในระหว่างฤดูกาลด้วยแบบไม่เป็นทางการ

ภาพรวมฤดูกาล

[แก้]

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในภูมิภาคออสเตรเลีย
  หย่อมความกดอากาศต่ำ (≤63 กม./ชม.)   พายุไซโคลนกำลังแรงระดับ 3 (118–159 กม./ชม.)
  พายุไซโคลนระดับ 1 (63–88 กม./ชม.)   พายุไซโคลนกำลังแรงระดับ 4 (160–200 กม./ชม.)
  พายุไซโคลนระดับ 2 (89–117 กม./ชม.)   พายุไซโคลนกำลังแรงระดับ 5 (≥200 กม./ชม.)

หย่อมความกดอากาศต่ำเขตร้อนก่อตัวขึ้นในด้านตะวันตกเฉียงเหนือไกลของภูมิภาคด้านตะวันตกในวันที่ 27 กรกฎาคม นับเป็นการเริ่มต้นฤดูกาลล่วงหน้าอย่างผิดปกติ[1] ระบบได้บรรลุแรงลมในระดับพายุโซนร้อนและคงการหมุนเวียนได้อยู่เพียงไม่กี่วันก็สลายตัวไปเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของลมเฉือน[2]

พายุ

[แก้]

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 01U

[แก้]
บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 27 – 31 กรกฎาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)

หย่อมความกดอากาศต่ำเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางขอบด้านตะวันตกเฉียงเหนือของภูมิในภาคในวันที่ 28 กรกฎาคม[1] ภาพถ่ายจากดาวเทียมบ่งชี้ว่าตัวระบบมีการพาความร้อนในระดับลึกร่วมกับการหมุนเวียนลมในระดับต่ำ[3] เวลา 15:00 UTC ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนกับความแปรปรวนที่เกิดขึ้น[4] ระบบที่ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม กล่าวคือมีอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเล 28 ถึง 30 องศาเซลเซียส หกชั่วโมงต่อมาศูนย์ฯ จึงได้ออกคำเตือนแรกกับระบบพายุ โดยเรียกว่า พายุไซโคลน 01S[2] และยังได้รับรหัสเรียกขานจากสำนักอุตุนิยมวิทยาว่า 01U ในวันเดียนกันนั้นด้วย[5]

รายชื่อพายุ

[แก้]

สำนักอุตุนิยมวิทยา

[แก้]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551–52 มีรายชื่อพายุเพียงชุดเดียวที่สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียประกาศใช้ โดยสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียได้แบ่งศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในประเทศออสเตรเลียออกเป็นสามศูนย์ ได้แก่ ศูนย์เพิร์ท, ศูนย์ดาร์วิน และศูนย์บริสเบน[6] โดยมีหน้าที่ตรวจสอบพายุหมุนเขตร้อนทั้งหมดที่ก่อตัวในภูมิภาคออสเตรเลีย รวมถีงทำหน้าที่ออกคำแนะนำพิเศษให้ทั้งพื้นที่รับผิดชอบของ TCWC จาการ์ตาหรือ TCWC พอร์ตมอร์สบีด้วย

  • ดาเรียน (ยังไม่ใช้)
  • เอลลี (ยังไม่ใช้)
  • เฟรดดี (ยังไม่ใช้)
  • แกบรีเอลล์ (ยังไม่ใช้)
  • เฮอร์มัน (ยังไม่ใช้)
  • อิลซา (ยังไม่ใช้)
  • แจสเปอร์ (ยังไม่ใช้)
  • เคียร์ริลี (ยังไม่ใช้)
  • ลิงคอล์น (ยังไม่ใช้)
  • มีกัน (ยังไม่ใช้)
  • เนวิลล์ (ยังไม่ใช้)
  • ออลกา (ยังไม่ใช้)

TCWC จาการ์ตา

[แก้]

ศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนในจาการ์ตา ทำการติดตามพายุหมุนเขตร้อนในขอบเขตตั้งแต่เส้นศูนย์สูตรลงไปทางใต้ถึงเส้นขนานที่ 11 องศาใต้ และระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 90 องศาตะวันออกไปจนถึง 145 องศาตะวันออก เมื่อพายุดีเปรสชันเขตร้อนใดทวีกำลังเป็นพายุไซโคลนในขอบเขตรับผิดชอบของ JTWC จาการ์ตานี้ พายุลูกนั้นจะได้รับชื่อจากทางศูนย์ฯ[6] โดยในฤดูกาลนี้มีชื่อของ TCWC จาการ์ตาถูกใช้ 1 ชื่อ คือ

  • อังเกร็ก (ยังไม่ใช้)
  • บากุง (ยังไม่ใช้)
  • เจิมปากา (ยังไม่ใช้)
  • ดะฮ์เลีย (ยังไม่ใช้)
  • ฟลัมโบยัน (ยังไม่ใช้)
  • ลีลี (ยังไม่ใช้)


TCWC พอร์ตมอร์สบี

[แก้]

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นในระหว่างขอบเขตตั้งแต่เส้นศูนย์สูตรลงไปทางใต้จนถึงเส้นขนานที่ 11 องศาใต้ และระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 151 องศาตะวันออกไปทางตะวันออกจนถึงเส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออก จะได้รับชื่อจากศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนในพอร์ตมอร์สบี ประเทศปาปัวนิวกินี บริเวณนี้บริเวณที่พบการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนได้ยาก และไม่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวและมีกำลังขึ้นจนได้รับชื่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 แล้ว[7]

  • ฮีบู (ยังไม่ใช้)
  • อีลา (ยังไม่ใช้)
  • กามา (ยังไม่ใช้)
  • โลบู (ยังไม่ใช้)
  • ไมลา (ยังไม่ใช้)
  • อาลู (ยังไม่ใช้)
  • บูรี (ยังไม่ใช้)
  • โดโด (ยังไม่ใช้)
  • อีเมา (ยังไม่ใช้)
  • เฟเร (ยังไม่ใช้)

ผลกระทบ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Tropical Cyclone Outlook for the Western Region (28 July 2022)". Bureau Of Meteorology. 28 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 28, 2022. สืบค้นเมื่อ 28 June 2022.
  2. 2.0 2.1 Prognostic Reasoning for พายุหมุนเขตร้อนไม่ทราบกำลัง 01S (One) Warning No. 1 (Report). United States Joint Typhoon Warning Center. 28 กรกฎาคม 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กรกฎาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2565. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Oceans, 1550Z 28 กรกฎาคม 2565 (Report). United States Joint Typhoon Warning Center. 28 กรกฎาคม 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กรกฎาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2565. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. Tropical Cyclone Formation Alert (Invest 95S) (Report). United States Joint Typhoon Warning Center. 28 กรกฎาคม 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กรกฎาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2565. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. "Tropical Cyclone Techical Bulletin 29 July 2022". Australian Bureau of Meteorology. 29 July 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-24. สืบค้นเมื่อ 29 July 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 "Tropical Cyclone Operational plan for the South Pacific & Southeast Indian Ocean, 2014 Edition" (PDF). WMO. สืบค้นเมื่อ 2016-06-12.
  7. Gary Padgett (2008). "Monthly Global Tropical Cyclone Summary October". Australian Severe Weather. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-04. สืบค้นเมื่อ 2013-07-01.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]