ข้ามไปเนื้อหา

เปรุวุไฏยารโกยิล (ตัญจาวูร)

พิกัด: 10°46′58″N 79°07′54″E / 10.78278°N 79.13167°E / 10.78278; 79.13167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เปรุวุไฏยารโกยิล
เปรุวุไฏยารโกยิล
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตอำเภอตัญจาวูร
เทพพระศิวะ
เทศกาลมหาศิวราตรี
ที่ตั้ง
ที่ตั้งตัญจาวูร
รัฐทมิฬนาฑู
ประเทศอินเดีย
เปรุวุไฏยารโกยิล (ตัญจาวูร)ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
เปรุวุไฏยารโกยิล (ตัญจาวูร)
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
เปรุวุไฏยารโกยิล (ตัญจาวูร)ตั้งอยู่ในรัฐทมิฬนาฑู
เปรุวุไฏยารโกยิล (ตัญจาวูร)
เปรุวุไฏยารโกยิล (ตัญจาวูร) (รัฐทมิฬนาฑู)
พิกัดภูมิศาสตร์10°46′58″N 79°07′54″E / 10.78278°N 79.13167°E / 10.78278; 79.13167
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตยกรรมดราวิเดียน
ผู้สร้างราชาราชโจฬะที่หนึ่ง
เสร็จสมบูรณ์1010[1][2]
จารึกทมิฬ, สันสกฤต, มราฐา
ระดับความสูง66 m (217 ft)
ชื่อทางการหมู่วิหารพฤหทีศวรที่ตัญจาวูร
บางส่วนหมู่วิหารโจฬะที่มีชีวิต
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: (ii), (iii)
อ้างอิง250bis-001
ขึ้นทะเบียน1987 (สมัยที่ 11th)
เพิ่มเติม2004
พื้นที่18.07 ha (44.7 เอเคอร์)
พื้นที่กันชน9.58 ha (23.7 เอเคอร์)

เปรุวุไฏยารโกยิล (ทมิฬ: பெருவுடையார் கோயில்) หรือ ราชราเชศวรัม (Rajarajesvaram) เป็นมนเทียรพระศิวะ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำตอนใต้ของแม่น้ำกาเวรีในตัญจาวูร รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย[1][3] เป็นหนึ่งในมนเทียรแบบอินเดียใต้ที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวอย่างชิ้นสำคัญของสถาปัตยกรรมแบบทราวิฑ[4] มีการเรียกขานมนเทียรนี้ว่าเป็น ทักศิณาเมรุ (เขาพระสุเมรุแห่งทิศใต้)[5] หมู่วิหารนี้สร้างขึ้นโดยกษัตริย์ชาวทมิฬ ราชาราชโจฬะที่หนึ่งระหว่างปี 1003 ถึง 1010 ในปัจจุบันเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกในฐานะ "หมู่วิหารโจฬะมีชีวิต" ร่วมกับมนเทียรจากจักรวรรดิโจฬะ ได้แก่ คงไคโกนทะโจฬปุรัมมนเทียร และ ไอรวเตสวรมนเทียรซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของที่นี่ห่างไป 70 กิโลเมตร (43 ไมล์) และ 40 กิโลเมตร (25 ไมล์) ตามลำดับ[6]

สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในนี้สร้างขึ้นจากหินแกรนิต หอวิมานของมนเทียรนี้เป็นหนึ่งในวิมานที่สูงที่สุดในอินเดียใต้[3] และประดิษฐานศิวลึงค์ที่ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งของประเทศอินเดีย[3][6][7] นอกจากนี้ที่นี่ยังขึ้นชื่อจากงานประติมากรรมที่วิจิตร ตัวอย่างสำคัญคือเทวรูปพระศิวนาฏราชจากศตวรรษที่ 11 ก็แกะสลักขึ้นที่นี่ ภายในหมู่มนเทียรมีเทวสถานย่อยที่บูชาโคนนทิ, พระแม่ปารวตี, พระขันทกุมาร, พระคเณศ, พระสภาบดี, พระทักษิณามูรติ, พระจันเทศวร, พระวราหิ เป็นต้น[6][8] ที่นี่เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้เดินทางมาเยี่ยมชมมากที่สุดแห่งหนึ่งในทมิฬนาฑู[9]

ศัพทมูล

[แก้]

ราชราชา (Raja Raja) กษัตริย์ผู้ทรงดำริสร้างมนเทียรนี้ พระราบทานนามให้ว่า ราชราเชศวรัม (Rajarājeśvaram) แปลว่า "มนเทียรของเทพเจ้าแห่งพระเจ้าราชราชา"[10] มีการพบจารึกในเวลาต่อที่เทวสถานพฤหันนายกี (Brihannayaki shrine) เรียกเทพองค์ประธานของที่นี่ว่า เปริยอุทัยนายะนาร์ (Periya Udaiya Nayanar) ซึ่งน่าจะเป็นที่มาของชื่อในปัจจุบันว่า พฤหทีศวร (Brihadisvara) และ เปรุวุทัยยาร์โกวิล (Peruvudaiyar Kovil)[11]

ส่วนคำว่า พฤหทีศวร (ไอเอเอสที: Bṛihádīśvara) เป็นคำภาษาสันสกฤต เกิดจากการรวมกันของคำว่า พฤหัต แปลว่า "ยิ่งใหญ่"[12] และ อิศวร คือ "พระศิวะ"[13][14] จึงรวมกันแปลว่า "พระศิวะผู้ยิ่งใหญ่"

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Thanjavur, Encyclopaedia Britannica
  2. Michell 1988, pp. 145–148
  3. 3.0 3.1 3.2 "The Archaeological Survey of India (ASI)".
  4. Keay, John (2000). India, a History. New York, United States: Harper Collins Publishers. pp. xix. ISBN 0-00-638784-5.
  5. K. V. Raman. Temple Art, Icons And Culture Of India And South-East Asia. Sharada Publishing House, 2006. p. 136.
  6. 6.0 6.1 6.2 "Great Living Chola Temples". UNESCO World Heritage Centre. 2004. สืบค้นเมื่อ 28 November 2015.
  7. S.R. Balasubrahmanyam 1975, pp. 20–21.
  8. S.R. Balasubrahmanyam 1975, pp. 16–29.
  9. Gopal, Madan (1990). K.S. Gautam (บ.ก.). India through the ages. Publication Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India. p. 185.
  10. D. Raphael (1996). Temples of Tamil Nadu, Works of Art. Ratnamala. p. 9. ISBN 978-955-9440-00-0.
  11. S. R. Balasubrahmanyam (1975). Middle Chola Temples: Rajaraja I to Kulottunga I, A.D. 985-1070. Thomson. p. 87.
  12. Brihat, Monier Monier Williams, Sanskrit English Dictionary, Oxford University Press, page 735
  13. Monier Williams, Sanskrit-English dictionary, Iṡvará, Oxford University Press, page 171
  14. James Lochtefeld, "Ishvara", The Illustrated Encyclopedia of Hinduism, Vol. 1: A–M, Rosen Publishing. ISBN 0-8239-2287-1, page 306

บรรณานุกรม

[แก้]