ข้ามไปเนื้อหา

พระเยซูถูกเฆี่ยน (เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดูบทความหลักที่ พระเยซูถูกเฆี่ยน

พระเยซูถูกเฆี่ยน
ศิลปินเปียโร เดลลา ฟรานเชสกา
ปีprobably 1468–1470
ประเภทสีน้ำมันและสีฝุ่นเทมเพอราบนภาพ
มิติ58.4 cm × 81.5 cm (23.0 นิ้ว × 32.1 นิ้ว)
สถานที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งมาร์เค เออร์บิโน

พระเยซูถูกเฆี่ยน (อังกฤษ: Flagellation of Christ) เป็นภาพที่เขียนโดยเปียโร เดลลา ฟรานเชสกาจิตรกรสมัยเรอเนซองส์ชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งมาร์เคที่เมืองเออร์บิโนในประเทศอิตาลี เปียโรเขียนภาพนี้ประมาณระหว่างปี ค.ศ. 1455 ถึงปี ค.ศ. 1460 นักเขียนผู้หนึ่งบรรยายภาพนี้ว่าเป็นภาพ “enigmatic little painting”[1] องค์ประกอบของภาพต่างจากการวางองค์ประกอบภาพโดยทั่วไปและค่อนข้างซับซ้อน รูปสัญลักษณ์และความหมายในการสื่อเป็นเรื่องที่ถกเถียงทางทฤษฎีกันอย่างกว้างขวาง เค็นเน็ธ คล้าค (Kenneth Clark) นักประวัติศาสตร์ศิลปะนับภาพ “พระเยซูถูกเฆี่ยน” เป็นภาพหนึ่งในจำนวนภาพเขียนที่ดีที่สุดสิบภาพและเรียกว่าเป็น “ภาพเขียนเล็กที่ดีที่สุดในโลก”[2]

เนื้อหา

[แก้]

หัวเรื่องของภาพเคือ “พระเยซูถูกเฆี่ยน” โดยทหารโรมันซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงเวลาที่เรียกว่าทุกขกิริยาของพระเยซู (Passion of Christ) การเฆี่ยนในภาพเกิดขึ้นบนระเบียงที่ใกลออกไปจากคนสามคนที่ยืนอยู่ตอนหน้าทางด้านขวาของรูป ที่ดูเหมือนจะไม่สนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นข้างหลังภาพ ลักษณะที่เด่นของภาพคือการใช้การเขียนแบบทัศนมิติและความนิ่งที่กระจายไปทั่วภาพ

เปียโรลงชื่อใต้ที่นั่งของจักรพรรดิ - OPVS PETRI DE BVRGO S[AN]C[T]I SEPVLCRI - “งานของเปียโรแห่งซานเซพอลโคร” (เมืองเกิดของเปียโร)

“พระเยซูถูกเฆี่ยน” มีคุณค่าตรงที่มีลักษณะการวางองค์ประกอบของภาพที่สมบูรณ์ และความสามารถของเปียโรในการสร้างความลึกระหว่างพระเยซูที่กำลังถูกเฆี่ยนกับผู้ยืนอยู่ด้านหน้าของรูปสามคนอย่างเห็นจริงโดยการใช้ทัศนมิติ ภาพเหมือนของชายมีหนวดทางซ้ายถือกันว่าเป็นภาพเหมือนที่เป็นจริงเป็นจัง (intense) ในสมัยของเปียโร

ความหมาย

[แก้]

หัวข้อที่มีการถกเถียงกันมากทางวิชาการของภาพนี้มักจะเกี่ยวกับความสำคัญของคนสามคนที่ยืนอยู่ที่ด้านหน้ารูป; ใครคือคนสามคนที่เห็น และ ใครคือผู้ที่นั่งอยู่ทางซ้ายซึ่งในรูปคือปอนติอุส ปิลาเตแต่จะเป็นสัญลักษณ์แทนผู้ใดในสมัยนั้น

นอกจากนั้นก็ยังมีผู้เสนอว่าคนสามคนจะเป็นใครก็ขึ้นอยู่กับการตีความหมายของภาพ ฉะนั้นคนคนเดียวอาจจะเป็นตัวแทนของคนมากกว่าหนึ่งคนก็ได้ ฉากภายในมีแสงส่องมาจากทางด้านขวาขณะที่ภายนอกจากทางซ้าย เดิมภาพนี้มีกรอบที่มีคำจารึกเป็นภาษาละติน “Convenerunt in Unum” (“เขามาด้วยกัน”) ซึ่งมาจากเพลงสดุดี 2, ii ในพันธสัญญาเดิม

การตีความหมายโดยทั่วไป

[แก้]

ถ้าจะตีความหมายกันอย่างปกติแล้วชายสามคนก็คือ ออดดาโตนิโอ ดา มอนเตเฟลโตร (Oddantonio da Montefeltro) ดยุกแห่งเออร์บิโนผู้อุปถัมภ์ของเปียโร และที่ปรึกษาสองคน เซราฟินี และริชเชียเรลลิผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าฆ่าดยุกเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1444 หรือที่ปรึกษาสองคนอาจจะเป็นมานเฟรโด เดอิ ปิโอ และทอมมาโซ ดิ กุยโด เดลอักเนลโลผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าฆ่าดยุกเช่นกันเพราะความที่เป็นรัฐบาลที่ไม่เป็นที่นิยม ความตายอย่างบริสุทธิ์ของออดดาโตนิโอจึงอาจจะเทียบได้กับการสิ้นพระชนม์ของพระเยซู

การตีความหมายทางความสัมพันธ์ทางตระกูล

[แก้]

อีกทฤษฎีหนึ่งก็ว่าอาจจะเป็นภาพที่ได้รับจ้างโดยเฟเดอริโคที่ 2 แห่งมอนเตเฟลโตร (Federico II da Montefeltro) สำหรับการฉลอง ดยุกแห่งเออร์บิโนเป็นดยุกต่อจากออดดาโตนิโอ ชายสามคนจึงน่าจะเป็นผู้ที่เป็นดยุกมาก่อนหน้านั้น ความหมายนี้เป็นความหมายที่เริ่มตีความกันในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ตามหลักฐานจากมหาวิหารเออร์บิโน ซึ่งเป็นเคยเป็นที่เก็บภาพเขียน ตามคำบรรยายที่บันทึกไว้ว่า “การเฆี่ยนของพระเยซูผู้เป็นเจ้า พร้อมกับภาพบุคคลและภาพเหมือนของดยุกกุยดูบาลโด และออดโด อันโตนิโอ”

การตีความหมายทางการเมืองของคริสต์ศาสนา

[แก้]

ตามความคิดเห็นเดิมผู้ที่ยืนตรงกลางเป็นสัญลักษณ์ของเทวดาที่ยืนขนาบระหว่างคริสต์ศาสนาลัทธิตะวันตกและตะวันออก ซึ่งเกิดความแตกแยกและมีผลกระทบกระเทือนต่อคริสต์ศาสนจักรทั้งหมด

ผู้ที่นั่งดูการเฆี่ยนอยู่ทางด้านซ้ายคือจักรพรรดิจอห์นที่ 8 พาลาโอโลกอสแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่เห็นได้จากฉลองพระองค์โดยเฉพาะหมวกสีแดงที่มีลักษณะแปลกที่ขอบนอกม้วนขึ้นมาซึ่งปรากฏบนเหรียญโดยPisanello อีกทฤษฎีนี้เสนอโดยคาร์โล กินซ์เบิร์กในปี ค.ศ. 2000[3] ว่าเป็นภาพเขียนของการเชิญชวนจากคาร์ดินาลเบสซาริโอน (Basilius Bessarion) และจิโอวานนิ บาชชิแก่เฟเดริโกในการเข้าร่วมทำสงครามครูเสด ชายหนุ่มในภาพอาจจะเป็นบอนคอนติที่ 2 แห่งมอนเตเฟลโตรผู้มาเสียชีวิตระหว่างที่มีโรคระบาดในยุโรปในปี ค.ศ. 1458 ฉะนั้นความทรมานของพระเยซูจึงเปรียบได้กับทั้งผู้ถูกทรมานที่ไบเซ็นไทน์และความทรมานของบอนคอนติ

ซิลเวีย รอนชีและนักประวัติศาสตร์ศิลปะอีกหลายคน[4] เชื่อว่าภาพสื่อความหมายทางการเมืองโดยคาร์ดินาลเบสซาริโอน พระเยซูที่ถูกเฆี่ยนเป็นสัญลักษณ์การทรมานของคอนแสตนติโนเปิลซึ่งขณะนั้นถุกล้อมโดยกองทัพของจักรวรรดิออตโตมัน และทั้งคริสต์ศาสนจักร ผู้ที่นั่งดูอยู่ทางซ้ายคือสุลต่านมูรัดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน และทางด้านซ้ายเป็นจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 คนสามคนทางด้านขวาจากซ้ายคือ คาร์ดินาลเบสซาริโอน, ทอมัส พาเลอิโอโลกอส (Thomas Palaiologos) (พระอนุชาของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8) ผู้ไม่สวมรองเท้าเพราะไม่ใช่พระจักรพรรดิ และนิโคโลที่ 3 เดสเต (Niccolò III d'Este) ผู้เป็นเจ้าภาพในการ , host of the การประชุมบาทหลวงแห่งเฟอร์รารา (Council of Florence) เมื่อนิโคโลย้ายการปกครองไปที่เฟอร์รารา.

เปียโรเขียนภาพ “พระเยซูถูกเฆี่ยน” 20 ปีหลังจากคอนแสตนติโนเปิลเสียเมืองแต่ในขณะนั้นสัญลักษณ์แฝงคติของเหตุการณ์นั้นและบุคคลในไบเซ็นไทน์ในการเมืองของอิตาลียังเป็นที่รู้จักกันในอิตาลี เช่นในงานเขียนของเบนนอซโซ กอซโซลิ ในชาเปลแมไจที่วังเมดิชิ-ริคคาดิในฟลอเรนซ์

เค็นเน็ธ คล้าค

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1951 นักประวัติศาสตร์ศิลปะ เค็นเน็ธ คล้าค (Kenneth Clark) กล่าวว่าผู้มีหนวนในรูปคือนักปราชญ์กรีกและภาพเขียนเป็นสัญลักษณ์แฝงคติที่แสดงถึงความลำบากของสถาบันศาสนาหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ในปี ค.ศ. 1453 และความพยายามที่เข้าร่วมสงครามครูเสดโดยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 2ที่ถกเถียงกันที่การประชุมสภาบาทหลวงแห่งมานตัว ชายที่ทางซ้ายสุดจึงเป็นพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์

มาริลิน อารอนเบิร์ก ลาวิน

[แก้]

คำอธิบายอีกคำหนึ่งเป็นของมาริลิน อารอนเบิร์ก ลาวิน (Marilyn Aronberg Lavin) ใน “เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา: พระเยซูถูกเฆี่ยน”[5]

ฉากภายในเป็นสัญลักษณ์ของปอนติอุส ปิลาเตแสดงให้เห็นพระเจ้าแฮรอดทรงยืนหันหลังเพราะเป็นลักษณะของภาพเขียนหลายภาพที่เป็นภาพการเฆี่ยนพระเยซูที่เปียโรได้เคยเห็นมา

ลาวินกล่าวว่าชายที่ยืนทางขวาคือ ลุโดวิโคที่ 2 กอนซากา มาร์ควิสแห่งมานตัว (Ludovico II Gonzaga, Marquis of Mantua) และทางซ้ายคือเพื่อนสนิทนักดาราศาสตร์ออตตาวิโอ อูบาลดินิ เดลลา คาร์ดาผู้พำนักอยู่ในวังของดยุก ออตตาวิโอแต่งตัวตามแบบนักดาราศาสตร์โบราณไปจนถึงหนวดสองแฉก ในช่วงเวลาที่วาดภาพทั้งลุโดวิโคและออตตาวิโอต่างก็สูญเสียบุตรชายที่เป็นที่รักซึ่งในรูปเป็นชายหนุ่มที่ยืนอยู่ระหว่างทั้งสองคน สังเกตว่าศีรษะของชายหนุ่มมีรัศมีที่เป็นต้นลอเรลซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความรุ่งโรจน์ ลาวินตั้งข้อสังเกตว่าจุดหมายของภาพเขียนก็เพื่อเปรียบเทียบความทุกข์ทรมานของพระเยซูกับความโศรกเศร้าของพ่อทั้งสองคน และออตตาวิโอเป็นผู้จ้างให้วาดภาพสำหรับชาเปลเปอร์โดโนที่เป็นชาเปลส่วนตัวภายในวังดยุกที่เออร์บิโน ซึ่งมีแท่นบูชาที่มีด้านที่มีขนาดเดียวกับภาพเขียนพอดี ถ้าภาพเขียนอยู่บนแท่นบูชาทัศนมิติของภาพจะดูเหมือนถูกต้องต่อผู้คุกเข่าหน้าแท่น

เดวิด เอ คิง

[แก้]

ในหนังสือที่เขียนเมื่อไม่นานมานี้[6] เป็นการตีความหมายใหม่โดย เดวิด เอ คิง (David King) ผู้อำนวยการของสถาบันเพื่อประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์ในแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศเยอรมันี ซึ่งเปรียบเทียบภาพเขียนกับรอยจารึกบนเครื่องคำนวณทางดาราศาสตร์แอสโตรลาเบ (astrolabe) ที่ทำในปี ค.ศ. 1462 โดย เรจิโอมอนตานุส (Regiomontanus) ให้แก่คาร์ดินัลเบสซาริออน (Basilius Bessarion)[7] คิงอ้างว่าการค้นหาอักษรย่อของชื่อจากคำจารึกทำให้ทราบได้ว่าแต่ละคนในภาพคือใครและบางคนอาจจะเป็นสัญลักษณ์ของคนมากกว่าหนึ่งคนและพระเจ้ากรีกโรมันอีกองค์หนึ่ง

ในภาพ “พระเยซูถูกเฆี่ยน” ชายหนุ่มที่ใส่เสื้อแดงคือนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันเรจิโอมอนตานุสลูกศิษย์คนโปรดของคาร์ดินัลเบสซาริออน แต่ในขณะเดียวกันชายหนุ่มที่ว่าก็เป็นเป็นสัญลักษณ์ของคนสนิทที่ฉลาดสามคนที่เพิ่งเสียชีวิตไปของคาร์ดินัลเบสซาริออน: บวนคอนเต ดา มอนเตเฟลโตร, เบอร์นาร์ดิโน อูบาลดินิ ดัลลา คาร์ดา และ วันเจลิสตา กอนซากาด้วย จุดมุ่งหมายของภาพเขียนก็เพื่อแสดงถึงความหวังในอนาคตที่จะมาถึงและการมาถึงของนักดาราศาสตร์คนใหม่ในกลุ่มของคาร์ดินัลเบสซาริออนและเพื่อเป็นเกียรติแก่ชายหนุ่มสามคนที่เสียชีวิตไป

จอห์น โป็ป-เฮนเนสซีย์

[แก้]

เซอร์จอห์น โป็ป-เฮนเนสซีย์ (John Pope-Hennessy) นักประวัติศาสตร์ศิลปะถกเถียงในหนังสือ “การสอบสวนของเปียโร เดลลา ฟรานเชสกา” ว่าหัวเรื่องที่แท้จริงของภาพเขียนภาพนี้ไม่ใช่การเฆี่ยนพระเยซูแต่คือภาพ “ความฝันของนักบุญเจอโรม

“เมื่อยังหนุ่มนักบุญเจอโรมฝันว่าถูกเฆี่ยนโดยคำสั่งของเทพเพราะไปอ่านหนังสือของคนนอกรีต และต่อมานักบุญเจอโรมก็กล่าวถึงความฝันนี้ในจดหมายถึง ยุสโตชิอุม (Eustochium) ที่ตรงกับข้อเขียนบนบานซ้ายของแผงเออร์บิโน”

นอกจากนั้นโป็ป-เฮนเนสซีย์ก็ยังแสดงภาพที่เก่ากว่าโดยมัตติโอ ดิ จิโอวานนิ (Matteo di Giovanni) จิตรกรชาวเซียนนาซึ่งเขียนภาพที่บรรยายในจดหมายของนักบุญเจอโรม ซึ่งเป็นการสนับสนุนทฤษฎีนี้[8]

อิทธิพล

[แก้]

การเขียนภาพที่แข็งและเป็นแบบแผนที่เป็นลักษณะที่เปียโรนิยมเป็นลักษณะที่เป็นที่นิยมของผู้ชอบศิลปะคิวบิสม์และศิลปะนามธรรม และเป็นที่สรรเสริญของนัประวัติศาสตร์ศิลปะ ที่บรรยายงานเขียนของเปียโรว่า “most nearly perfect achievement and the ultimate realisation of the ideals of the second Renaissance period”

อ้างอิง

[แก้]
  1. วิลคิน, แคเร็น (4 October 2008). ""ภาพเปียโรไม่มีสหาย"". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 4 October 2008.
  2. เค็นเน็ธ คล้าค[ต้องการอ้างอิง]
  3. กินซเบิร์ก, คาร์โล (ค.ศ. 1985). ความน่าทึ่งของเปีย. ลอนดอน. ISBN 0-86091-904-8. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help) (ฉบับใหม่, ค.ศ. 2000).
  4. See http://www.silviaronchey.it/
  5. อารอนเบิร์ก ลาวิน, มาริลิน (ค.ศ. 1972). เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา: พระเยซูถูกเฆี่ยน. มหาวิทยาลัยชิคาโก Press. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  6. คิง, เดวิด (ค.ศ. 2007). Astrolabes and Angels, Epigrams and Enigmas. From Regiomontanus’ Acrostic for Cardinal Bessarion to Piero della Francesca’s Flagellation of Christ. ชตุทท์การ์ท. ISBN 978-3-515-09061-2. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |middle= ถูกละเว้น (help)
  7. ดูเพิ่ม มาร์แชนต์, เจ (29 มีนาคม ค.ศ. 2007). "วิทยาศาสตร์และศิลปะ: ความศรัทธา". Nature (446(7135)): หน้า 488–92. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help) ข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของคิง เก็บถาวร 2007-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. โป็ป-เฮนเนสซีย์, จอห์น (ค.ศ. 2002). “การสอบสวนของเปียโร เดลลา ฟรานเชสกา”. นิวยอร์ก: New York Review of Books. pp. 16–17. ISBN 1892145138. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

ดูเพิ่ม

[แก้]