ข้ามไปเนื้อหา

พระเยซูถูกเฆี่ยน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งานกระจกสี “พระเยซูถูกเฆี่ยน” ราว ค.ศ. 1240
“พระเยซูที่เสา” ประติมากรรมอิตาลี ค.ศ. 1817

พระเยซูถูกเฆี่ยน (ภาษาอังกฤษ: Flagellation of Christ หรือ Christ at the Column) เป็นฉากหนึ่งจากทุกขกิริยาของพระเยซูซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระเยซู “พระเยซูถูกเฆี่ยน” เป็นหัวเรื่องของศิลปะคริสต์ศาสนาที่ศิลปินนิยมสร้างหรือเขียนที่แปลงมาจากทางสู่กางเขนแต่มิได้เป็นส่วนหนึ่งของภาพชุดดั้งเดิม คอลัมน์ที่พระเยซูถูกมัด, แส้, หรือไม้เบิร์ช[1]เป็นองค์ประกอบในอุปกรณ์การทรมานพระเยซู (Arma Christi)—สถาบันหลายแห่งอ้างว่าเป็นเจ้าของอุปกรณ์เหล่านี้รวมทั้งบาซิลิกา ดิ ซานตา พราสเซเด (Basilica di Santa Prassede) ในกรุงโรมที่อ้างว่าเป็นเจ้าของคอลัมน์ที่พระเยซูถูกมัด[2]

ประวัติ

[แก้]

เหตุการณ์นี้ปรากฏในสามในสี่ของพระวรสารกฎบัตรและเป็นเหตุการณ์ที่มักจะเกิดก่อนการตรึงกางเขนตามกฎหมายโรมัน ในทุกขกิริยาของพระเยซูเหตุการณ์นี้ตามด้วย “การเยาะหยันพระเยซู” และ “พระเยซูทรงมงกุฏหนาม[3]

ฉากนี้เริ่มสร้างทางคริสต์ศาสนจักรตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 9 แต่แทบจะไม่ปรากฏในศิลปะไบแซนไทน์และหายากในศิลปะของนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ไม่ว่าจะในสมัยใด งานแรกๆ พบในหนังสือวิจิตรและงานแกะงาช้าง ในอิตาลีพบในงานจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่จากคริสต์ศตวรรษที่ 11 องค์ประกอบของภาพมักจะมีด้วยกันสามคนในภาพ—พระเยซู และผู้รับใช้สองคนของไพเลทที่ทำหน้าที่เฆี่ยน ในรูปวาดสมัยแรกพระเยซูมักจะเปลือย หรือสวมเสื้อยาวมองมาทางด้านผู้ชมรูปหรือเป็นฉากที่มองจากด้านหลัง แต่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 พระเยซูมักจะนุ่งผ้าเตี่ยว (loincloth) และหันพระพักต์มาทางผู้ชมภาพ[4]

บางภาพก็จะมีไพเลทนั่งดูการเฆี่ยนและอาจจะมีผู้รับใช้ของภรรยาของไพเลทเดินเข้ามาพร้อมกับจดหมาย ในปลายยุคกลางจำนวนผู้เฆี่ยนก็เพิ่มเป็นสามหรือสี่คน และลักษณะของผู้ที่เฆี่ยนทางเหนือก็เริ่มอัปลักษณ์ขึ้นและแต่งตัวอย่างทหารรับจ้างในสมัยนั้น[5] บางครั้งก็จะมีแฮรอด อันทิปาส (Herod Antipas) ปรากฏในรูปด้วย การเฆี่ยนทำโดยผู้ที่ทำงานให้กับไพเลท และบางครั้งผู้เฆี่ยนก็จะใส่หมวกอย่างชาวยิว[6] หลังจากภาพมาเอสตา (Maestà) โดยดุชโช[7] การเฆี่ยนก็มักจะทำกันในที่สาธารณะต่อหน้าผู้มามุงดู[8]

นักบวชลัทธิฟรานซิสกันผู้เผยแพร่การเฆี่ยนตัวเองเพื่อให้เข้าใจถึงความทรมานของพระเยซูอาจจะเป็นผู้รับผิดชอบการสร้างกางเขนขนาดใหญ่หลายชิ้นที่ใช้ในการแห่ที่ด้านหลังเป็นภาพการเฆี่ยนและด้านหน้าเป็นพระเยซูถูกตรึงกางเขน และอาจจะมีกลุ่มผู้เดินตามขบวนแห่ที่เฆี่ยนตัวเองไปพลางที่มองเห็นพระเยซูทรมานนำอยู่ข้างหน้าบนกางเขน[3]

ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ฉากนี้ก็อาจจะนำมาสร้างเป็นงานโดดๆ มิได้เป็นส่วนหนึ่งของภาพในชุดทุกขกิริยาของพระเยซู ในขณะเดียวกันในภาพ “พระเยซูที่คอลัมน์” ก็อาจจะเป็นภาพพระเยซูยืนอยู่คนเดียว ลักษณะนี้เป็นที่นิยมทำเป็นประติมากรรมในสมัยศิลปะบาโรก อีกฉากหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับฉากนี้แต่ไม่ปรากฏในพระวรสารกฎบัตรคือฉาก “พระเยซูในคุกใต้ดิน” (Christ in the Dungeon) ซึ่งมักจะแยกจากฉาก “พระเยซูถูกเฆี่ยน” ค่อนข้างยาก หรือ ระหว่างฉาก “พระเยซูที่คอลัมน์” กับฉาก “พระเยซูถูกเฆี่ยน” ก็แยกกันยากเช่นกัน[9]

ในสมัยใหม่ฉากนี้ก็ปรากฏในภาพยนตร์เช่นในงานที่สร้างโดย เมล กิบสัน ในปี ค.ศ. 2004 เรื่อง “The Passion of the Christ” และในงานที่สร้างโดย สแตนลีย์ คูบริค (Stanley Kubrick) ในปี ค.ศ. 1972 เรื่อง “A Clockwork Orange” เมื่อตัวละครที่ถูกจำขังที่แสดงโดยมัลคอล์ม แมคโดเวลล์ (Malcolm McDowell) จินตนาการว่าตนเองเป็นทหารโรมันที่เฆี่ยนพระเยซู

อ้างอิง

[แก้]
  • ชิลเลอร์, จี (ค.ศ. 1972). รูปสัญลักษณ์ในศิลปะคริสต์ศาสนา, เล่ม 1. ลอนดอน: ลันด์ ฮัมฟรีย์ส. pp. หน้า 66-69, รูป 225-234 และอื่นๆ. ISBN 853313245. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: length (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |notes= ถูกละเว้น (help)
  1. ทางตอนเหนือของภูเขาแอลป์มักจะใช้ไม้เบิร์ช
  2. ซึ่งยังตั้งอยู่ที่เดิม รูป
  3. 3.0 3.1 ชิลเลอร์, 67
  4. ชิลเลอร์, 66-67
  5. ชิลเลอร์, 68
  6. ดูตัวอย่างจากชิลเลอร์ รูป 231, จิตรกรรมฝาผนังจากคริสต์ศตวรรษที่ จากโคโลญ
  7. Commons image
  8. ชิลเลอร์, 68
  9. ชิลเลอร์, 69

ดูเพิ่ม

[แก้]


แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระเยซูถูกเฆี่ยน วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระเยซูที่คอลัมน์

งานชิ้นสำคัญ

[แก้]