พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2
พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 | |
---|---|
ส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่า "ศิลาจารึกหอคอยบาเบล" แสดงพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 ที่ด้านขวาและมหาซิกกูแรตแห่งบาบิโลน (เอเตเมนอันกิ) ด้านซ้าย[a] | |
กษัตริย์แห่งจักรวรรดิบาบิโลนใหม่ | |
ครองราชย์ | สิงหาคม 605 ปีก่อน ค.ศ. – 7 ตุลาคม 562 ปีก่อน ค.ศ. |
ก่อนหน้า | แนโบโพแลสซาร์ |
ถัดไป | อาเมล-มาร์ดุก |
ประสูติ | ป. 642 ปีก่อน ค.ศ.[b] อูรุก (?) |
สวรรคต | 7 ตุลาคม 562 ปีก่อน ค.ศ. (ป. 80 พรรษา) บาบิโลน |
คู่อภิเษก | อามีติสแห่งบาบิโลน (?) |
พระราชบุตร กับพระองค์ อื่น ๆ | |
แอกแคด | Nabû-kudurri-uṣur |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์บาบิโลน |
พระราชบิดา | แนโบโพแลสซาร์ |
เนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 (อังกฤษ: Nebuchadnezzar II, /nɛbjʊkədˈnɛzər/; อักษรรูปลิ่มบาบิโลน: Nabû-kudurri-uṣur,[6][7][c] หมายถึง "นาบู คุ้มครองผู้สืบทอดของข้า";[8] ฮีบรูไบเบิล: נְבוּכַדְנֶאצַּר[d] Nəḇūḵaḏneʾṣṣar) หรือสะกดเป็น เนบูคัดเรซซาร์ที่ 2 (Nebuchadrezzar II)[8] เป็นกษัตริย์องค์ที่สองแห่งจักรวรรดิบาบิโลนใหม่ผู้ครองราชย์ตั้งแต่การสวรรคตของแนโบโพแลสซาร์ พระราชบิดา ใน 605 ปีก่อน ค.ศ. จนกระทั่งสวรรคตใน 562 ปีก่อน ค.ศ. ตามประวัติศาสตร์รู้จักกันในพระนาม เนบูคัดเนสซาร์มหาราช[9][10] เนื่องโดยทั่วไปถือเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรวรรดิ[8][11][12] เนบูคัดเนสซาร์ยังคงมีชื่อเสียงจากการทัพในลิแวนต์ โครงการก่อสร้างในบาบิโลน เมืองหลวงของพระองค์ รวมถึงสวนลอยบาบิโลน และมีบทบาทในประวัติศาสตร์ชาวยิว[8] เนบูคัดเนสซาร์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดในราชวงศ์บาบิโลน โดยปกครองไป 43 ปี ในช่วงที่สวรรคต พระองค์กลายเป็นหนึ่งในผู้ปกครองที่ทรงอำนาจที่สุดในโลก[11]
แหล่งข้อมูล
[แก้]ข้อมูลอักษรรูปลิ่มในช่วงระหว่าง 594 ถึง 557 ปีก่อน ค.ศ. ที่ครอบคลุมรัชสมัยพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 และผู้ครองราชย์ถัดจากพระองค์อีก 3 พระองค์ ได้แก่ อาเมล-มาร์ดุก, เนริกลิสซาร์ และลาบาชี-มาร์ดุก มีน้อยมาก[13] การขาดแหล่งข้อมูลดังกล่าวส่งผลอันน่าเสียดายตรงที่แม้ว่าเนบูคัดเนสซาร์ครองราชย์ยาวนานที่สุด แต่กลับเป็นที่รู้จักอย่างแน่ชัดน้อยกว่ารัชสมัยของกษัตริย์บาบิโลนใหม่เกือบทั้งหมด แม้ว่าสามารถกู้คืนแหล่งที่มาอักษรรูปลิ่มจำนวนหยิบมือ โดยเฉพาะพงศาวดารบาบิโลน ที่ยืนยันเหตุการณ์บางส่วนในรัชสมัยของพระองค์ เช่น ความขัดแย้งกับราชอาณาจักรยูดาห์ ส่วนเหตุการณ์อื่น ๆ อย่างการทำลายล้างพระวิหารของซาโลมอนเมื่อ 586 ปีก่อน ค.ศ. และการทัพอื่น ๆ ที่เนบูคัดเนสซาร์อาจควบคุม ไม่ปรากฏในเอกสารอักษรรูปลิ่มเท่าที่มีอยู่[14]
ดังนั้น การบูรณะประวัติศาสตร์ในช่วงนี้จึงมักยึดตามแหล่งข้อมูลทุติยภูมิในภาษาฮีบรู กรีก และละตินเพื่อตรวจสอบว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นในขณะนั้น นอกจากนี้ยังมีแผ่นจารึกจากบาบิโลนด้วย[13] แม้ว่าจะใช้แหล่งข้อมูลที่เขียนโดยผู้เขียนในภายหลัง แต่ข้อมูลหลายแหล่งเขียนขึ้นหลังสมัยเนบูคัดเนสซาร์ไปหลายศตวรรษ และมักสะท้อนทัศนคติทางวัฒนธรรมของตนเองต่อเหตุการณ์และบุคคลที่กล่าวถึง[15] ทำให้เกิดปัญหาในตัวมันเอง โดยทำให้เส้นแบ่งระหว่างประวัติศาสตร์และจารีตประเพณีจางลง แต่นั่นเป็นเพียงแนวทางเดียวที่เป็นไปได้ในการรับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรัชสมัยของเนบูคัดเนสซาร์[14]
ภูมิหลัง
[แก้]พระนาม
[แก้]พระนามของพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 ในภาษาแอกแคดคือ Nabû-kudurri-uṣur[6] หมายถึง "นาบู คุ้มครองผู้สืบทอดของข้า"[8] ทางวิชาการสมัยก่อนมักตีความพระนามนี้เป็น "นาบู ผู้ปกป้องเขตแดน" เนื่องจากคำว่า kudurru สามารถหมายถึง 'ของเขต' หรือ 'เส้น' นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่สนับสนุนการตีความเป็น 'ผู้สืบทอด' มากกว่า 'ขอบเขต' ไม่มีเหตุผลใดที่เชื่อว่าชาวบาบิโลนตั้งใจให้พระนามนี้ตีความยากหรือมีความหมายสองนัย[16]
บรรพบุรุษและพระชนม์ชีพช่วงต้น
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รัชสมัย
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สิ่งสืบทอด
[แก้]การประเมินโดยนักประวัติศาสตร์
[แก้]เนื่องจากแหล่งข้อมูลมีไม่เพียงพอ ทำให้การประเมินลักษณะนิสัยและสภาพในรัชสมัยของเนบูคัดเนสซาร์โดยนักประวัติศาสตร์มีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละช่วงเวลา[17] โดยทั่วไปถือว่าพระองค์ได้รับการยกย่องเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่และมีเกียรติที่สุดของจักรวรรดิบาบิโลนใหม่[8][11][12]
ในธรรมเนียมยิวและพระคัมภีร์
[แก้]คัมภีร์ไบเบิลมักจดจำพระองค์ในฐานะผู้ทำลายพระวิหารซาโลมอนในกรุงเยรูซาเลมและเป็นผู้เริ่มต้นยุคเชลย (ยุคที่ชาวยิวตกเป็นเชลยของบาบิโลน) หนังสือเยเรมีย์เรียกพระองค์ว่า "ผู้ทำลายประชาชาติ"[18] พระองค์ยังเป็นบุคคลสำคัญที่ถูกกล่าวถึงในหนังสือดาเนียล
ตามบันทึกที่ปรากฏในหนังสือดาเนียลระบุว่า วันหนึ่ง ขณะที่พระองค์ทอดพระเนตรกรุงบาบิโลนจากบนดาดฟ้าของวัง พระองค์ก็ตรัสว่า "ดูเมืองที่เราสร้างสิ สวยงามอะไรอย่างนี้ เราคือผู้ยิ่งใหญ่!" ทันใดนั้นก็มีเสียงดังขึ้นว่า "เนบูคัดเนสซาร์! เจ้าไม่ได้ปกครองอาณาจักรนี้แล้ว" พระเจ้าได้ริบรอนอำนาจและสติปัญญาของเนบูคัดเนสซาร์ เนบูคัดเนสซาร์ทำตัวเหมือนสัตว์และถูกเนรเทศจากวังไปอยู่กับสัตว์ในป่า ผมของเนบูคัดเนสซาร์ยาวเหมือนขนนกอินทรีและเล็บของเขายาวเหมือนกรงเล็บของนก เมื่อครบเวลาเจ็ดกาล (มักถูกตีความเป็นเจ็ดปี) เนบูคัดเนสซาร์ก็กลับมาเป็นปกติ พระเจ้าให้เขากลับมาครองบัลลังก์บาบิโลนอีกครั้ง (เชื่อว่าเรื่องนี้มาจากความแค้นของชาวยิวที่ถูกพระองค์ทำลายอาณาจักรยูดาร์และลดขั้นให้เป็นทาส)
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ เนื่องจากจารึกบนแผ่นศิลาสลักโดยเนบูคัดเนสซาร์ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าพระองค์คือกษัตริย์ที่ได้รับการพรรณนาไว้ ศิลาจารึกนี้เป็นหนึ่งในสี่ภาพเขียนร่วมสมัยที่เป็นที่รู้จักของเนบูคัดเนซซาร์ โดยอีก 3 ภาพเป็นภาพแกะสลักบนหน้าผาในเลบานอน ซึ่งมีสภาพแย่กว่าภาพบนศิลาจารึกมาก ซิกกูแรตเอเตเมนอันกิคาดว่าเป็นแรงบันดาลใจต่อหอคอยบาเบลในพระคัมภีร์ จึงเป็นที่มาของชื่อ 'ศิลาจารึกหอคอยบาเบล'[1]
- ↑ พระราชบิดาทรงแต่งตั้งเนบูคัดเนสซาร์ให้เป็นนักบวชชั้นสูงแห่งวิหารเออันนาที่อูรุกเมื่อ 626/625 ปีก่อน ค.ศ.[2][3] สันนิษฐานว่าพระองค์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนักบวชชั้นสูงเมื่อทรงพระเยาว์มาก โดยพิจารณาว่าพระองค์สวรรคตในเวลากว่า 60 ปีต่อมา[4] ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าชาวบาบิโลนมีสิทธิ์บวชเป็นนักบวชได้เมื่อใด แต่มีบันทึกว่านักบวชชาวบาบิโลนที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งมีอายุ 15 หรือ 16 ปี[5]
- ↑ สัญลักษณ์อักษรรูปลิ่มคือ AG.NÍG.DU-ÙRU
- ↑ This is the Hebrew spelling in 13 cases; in 13 other cases, the Hebrew spelling is one of the following:
נְבֻכַדְנֶאצַּר Nəḇuḵaḏneʾṣṣar − with בֻ ḇu instead of בוּ ḇū.
In 2 Kings 24:1&10 and 25:1&8, 1 Chronicles 5:41 (a.k.a. 6:15), and Jeremiah 28:11&14.
נְבוּכַדְנֶצַּר Nəḇūḵaḏneṣṣar – without א ʾ, like the usual Aramaic spelling.
In Ezra 1:7 and Nehemiah 7:6.
נְבֻכַדְנֶצַּר Nəḇuḵaḏneṣṣar – with בֻ instead of בוּ and without א, like the Aramaic spelling used in Daniel 3:14, 5:11, and 5:18.
In Daniel 1:18 and 2:1.
נְבוּכַדְנֶצּוֹר Nəḇūḵaḏneṣṣōr – without א and with צּוֹ (ṣ)ṣō instead of צַּ (ṣ)ṣa, cf. note d.
In Ezra 2:1.
נְבוּכַדנֶאצַּר Nəḇūḵaḏneʾṣṣar – without the shva quiescens.
In Jeremiah 28:3, and Ester 2:6.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ George 2011, pp. 153–154.
- ↑ Jursa 2007, pp. 127–134.
- ↑ Popova 2015, p. 402.
- ↑ Popova 2015, p. 403.
- ↑ Waerzeggers & Jursa 2008, p. 9.
- ↑ 6.0 6.1 Sack 2004, p. 1.
- ↑ Porten, Zadok & Pearce 2016, p. 4.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 Saggs 1998.
- ↑ Wallis Budge 1884, p. 116.
- ↑ Sack 2004, p. 41.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Mark 2018.
- ↑ 12.0 12.1 Elayi 2018, p. 190.
- ↑ 13.0 13.1 Sack 1978, p. 129.
- ↑ 14.0 14.1 Sack 2004, p. 9.
- ↑ Sack 2004, p. x.
- ↑ Wiseman 1983, p. 3.
- ↑ Ephʿal 2003, p. 178.
- ↑ เยเรมีย์ 4:7 พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิมและใหม่ ฉบับมาตรฐาน 2011
บรรณานุกรม
[แก้]- Elayi, Josette (2018). The History of Phoenicia. Lockwood Press. doi:10.2307/j.ctv11wjrh. ISBN 978-1937040819. JSTOR j.ctv11wjrh. S2CID 198105413.
- Ephʿal, Israel (2003). "Nebuchadnezzar the Warrior: Remarks on his Military Achievements". Israel Exploration Journal. 53 (2): 178–191. JSTOR 27927044.
- George, Andrew R. (2011). "A Stele of Nebuchadnezzar II". CUSAS. 17: 153–169.
- Jursa, Michael (2007). "Die Söhne Kudurrus und die Herkunft der neubabylonischen Dynastie" [The Sons of Kudurru and the Origins of the New Babylonian Dynasty]. Revue d'assyriologie et d'archéologie orientale (ภาษาเยอรมัน). 101 (1): 125–136. doi:10.3917/assy.101.0125.
- Popova, Olga (2015). "The Royal Family and its Territorial Implantation during the Neo-Babylonian Period". KASKAL. 12 (12): 401–410. doi:10.1400/239747.
- Porten, Bezalel; Zadok, Ran; Pearce, Laurie (2016). "Akkadian Names in Aramaic Documents from Ancient Egypt". Bulletin of the American Schools of Oriental Research. 375 (375): 1–12. doi:10.5615/bullamerschoorie.375.0001. JSTOR 10.5615/bullamerschoorie.375.0001. S2CID 163575000.
- Sack, Ronald H. (1978). "Nergal-šarra-uṣur, King of Babylon as seen in the Cuneiform, Greek, Latin and Hebrew Sources". Zeitschrift für Assyriologie und Vorderasiatische Archäologie. 68 (1): 129–149. doi:10.1515/zava.1978.68.1.129. S2CID 161101482.
- Sack, Ronald H. (1983). "The Nabonidus Legend". Revue d'Assyriologie et d'archéologie orientale. 77 (1): 59–67. JSTOR 23282496.
- Sack, Ronald H. (2004). Images of Nebuchadnezzar: The Emergence of a Legend (2nd Revised and Expanded ed.). Selinsgrove: Susquehanna University Press. ISBN 1-57591-079-9.
- Waerzeggers, Caroline; Jursa, Michael (2008). "On the Initiation of Babylonian Priests". Zeitschrift für Altorientalische und Biblische Rechtsgeschichte. 14: 1–38.
- Wallis Budge, Ernest Alfred (1884). Babylonian Life and History. London: Religious Tract Society. OCLC 3165864.
- Wiseman, Donald J. (1983). Nebuchadrezzar and Babylon: The Schweich Letters. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0197261002.
- Wiseman, Donald J. (2003) [1991]. "Babylonia 605–539 B.C.". ใน Boardman, John; Edwards, I. E. S.; Hammond, N. G. L.; Sollberger, E.; Walker, C. B. F. (บ.ก.). The Cambridge Ancient History: III Part 2: The Assyrian and Babylonian Empires and Other States of the Near East, from the Eighth to the Sixth Centuries B.C. (2nd ed.). Cambridge University Press. ISBN 0-521-22717-8.
ข้อมูลเว็บ
[แก้]- "Inscriptions by Babylonian kings". Open Richly Annotated Cuneiform Corpus. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2021. สืบค้นเมื่อ 25 May 2021.
- Lendering, Jona (1995). "Cyaxares". Livius. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2021. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.
- Mark, Joshua J. (2018). "Nebuchadnezzar II". World History Encyclopedia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2021. สืบค้นเมื่อ 17 December 2019.
- Saggs, Henry W. F. (1998). "Nebuchadnezzar II". Encyclopaedia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2020. สืบค้นเมื่อ 27 February 2020.