พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ | |
---|---|
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชั้นโท | |
ประสูติ | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | วีระยุทธ ดิษยะศริน |
พระมารดา | สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี |
ศาสนา | พุทธ |
พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า
|
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ (ประสูติ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2527) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี กับวีระยุทธ ดิษยะศริน เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเป็นพระภาคิไนยในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระประวัติ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ หรือพระนามลำลองว่าพระองค์ติ๊ด ประสูติเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 เป็นพระธิดาพระองค์เล็กในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี กับนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน มีพระเชษฐภคินีหนึ่งพระองค์คือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ พระองค์และพระเชษฐภคินีมีฐานันดรศักดิ์เป็น "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า" ตั้งแต่ประสูติ ตามพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[1] ซึ่งพระยศดังกล่าวเทียบเท่าตำแหน่ง "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า"[2]
วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2527 ได้มีการพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ณ พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ตามโบราณราชประเพณี[3]
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณทรงเข้ารับการศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา เมื่อปี พ.ศ. 2530[4] หลังการหย่าร้างของพระบิดาและพระมารดา พระองค์และพระเชษฐภคินีได้ประทับอยู่กับพระบิดา ณ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณทรงเข้าศึกษาที่สถาบันศิลปะวอชิงตัน (The Art Institute of Washington) จนสำเร็จการศึกษา[5] ต่อมาทรงย้ายไปศึกษาต่อด้านแฟชันดีไซน์ในสถาบันศิลปะแคลิฟอร์เนีย (The Art Institute of California)[6] ด้วยสนพระทัยด้านกราฟิกดีไซน์และแอนิเมชั่น และประทับอยู่ลำพังพระองค์ในอพาร์ตเมนต์ใกล้สถาบันดังกล่าว[7]
ครั้นเวลาต่อมาพระองค์ทูลพระมารดาผ่านทางโทรศัพท์ว่าจะเสด็จกลับประเทศไทย โดยให้เหตุผลว่าทรงเหงาและรู้สึกไม่ดี[5] ทรงโอนหน่วยกิตจากสถาบันเดิมเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล[7] และทรงสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2553 ในการนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554[8]
พระกรณียกิจ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณทรงปฏิบัติพระกรณียกิจขณะประทับอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยทรงเป็นประธานทรงบำเพ็ญพระกุศลเนื่องในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เวลา 10.00 น. ณ วัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา[9]
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ โปรดให้ผู้แทนพระองค์นำทุนทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 100,000 บาท เพื่อร่วมสมทบกองทุนกำลังใจในพระดำริของ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554[10]
ทั้งนี้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณมักประกอบพระกรณียกิจเกี่ยวกับศิลปะ, พระพุทธศาสนา และโครงการเกษตรตัวอย่างในพระดำริที่จังหวัดสุรินทร์ น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมาปรับใช้ในโครงการเกษตรส่วนพระองค์[11]
ความสนพระทัย
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ทรงสนพระทัยด้านกราฟิกดีไซน์และแอนิเมชั่นเป็นทุนเดิม[7] โปรดการออกแบบโบรชัวร์และโปสเตอร์[5] ผลงานศิลปนิพนธ์หลังสำเร็จการศึกษานิเทศศิลป์คือ "โครงการปรับรูปแบบบรรจุภัณฑ์ทางการเกษตรโครงการสวนจิตรลดา" ที่ปรับเปลี่ยนและออกแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้าโครงการจิตรลดา ภายใต้แนวคิด "ชีวิตที่กลมกลืน (Living Harmony)" ผลงานของพระองค์ถูกจัดในนิทรรศการมีเดียอาตส์เอ็กซีบีเชิน (Media Arts Exhibition : MAX 2011) ร่วมกับผลงานของบัณฑิตท่านอื่นที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรจิตรกรรมและศิลปกรรมในปีนั้น[7][12] ซึ่งผลงานของพระองค์ได้รับคำชื่นชมจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย ว่าทำได้ดีและมีลักษณะเฉพาะ[6]
พระองค์ใช้ความสามารถดังกล่าวมาช่วยเหลือการกุศล เช่น ในปี พ.ศ. 2555 ทรงออกแบบเสื้อฝีพระหัตถ์ "ทุ่งภูเขาทอง" เพื่อสมทบทุนบูรณะอุโบสถวัดภูเขาทอง[13] และในปี พ.ศ. 2556 ทรงร่วมกับถวัลย์ ดัชนี ออกแบบลายสำหรับเสื้อและถุงผ้า "ช้างนพสุบรรณ" เพื่อนำทุนไปบูรณะวัดวัง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่เสียหายจากอุทกภัยปี พ.ศ. 2554[14][15]
พระเกียรติยศ
ธรรมเนียมพระยศของ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ | |
---|---|
ตราประจำพระองค์ | |
ธงประจำพระองค์ | |
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | เกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน |
การขานรับ | เกล้ากระหม่อม/เพคะ |
ลำดับโปเจียม | 12 |
พระอิสริยยศ
- 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 : พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
- 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ[16]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2562 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายใน)[16]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[17]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[18]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๑ (ว.ป.ร.๑)[16]
ปริญญากิตติมศักดิ์
ปี | ปริญญากิตติมศักดิ์ | สถาบัน | อ้างอิง |
---|---|---|---|
2560 | ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน | [19] |
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค | มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ | [20] | |
2561 | ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี | [21] |
สิ่งอันเนื่องด้วยพระนาม
- ศาสนสถาน
- หอสวดมนต์อทิตยาทรกิติคุณ – วัดทรงเสวย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
- อาคารเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ – วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง
- อาคารอทิตยาเมตตาคุณาทร – ศูนย์พัฒนาอาชีพแม่บ้านและผู้สูงอายุ วัดแสงแก้วโพธิญาณ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย[22]
- ศาสนวัตถุ
- พระเจ้าศรีรัตนาทรสัตตนาค พระเจ้าศรีทิตยาสัตตนาค และพระเจ้าศรีสรรเพชรรัตนาทร – วัดโนนสว่าง อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี[23]
- พระพุทธอทิตยนาถศาสดามหาสำเร็จทันใจ – วัดแสงแก้วโพธิญาณ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
- การเกษตร
- โครงการเกษตรอทิตยาทร – อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
- ศูนย์การเรียนรู้เกษตรอทิตยาทร – อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์[24]
- โครงการซแรย์ อทิตยา – อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ (เป็นภาษาเขมรถิ่นไทยแปลว่า "นาของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ")[25][26]
- อื่น ๆ
- สะพานศรีมหาอทิตยาทร – อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี[27]
- ห้องประชุมอทิตยาทรกิติคุณ – อาคารสยามินทร์ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร
- อาคารอทิตยาทร – มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม[28][29]
พงศาวลี
อ้างอิง
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ของพระโอรสพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (135 ก): 1–2. 23 กันยายน 2525.
- ↑ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. ราชาศัพท์. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, 2555, หน้า 41
- ↑ "พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (72 ง ฉบับพิเศษ): 34–35. 6 มิถุนายน 2527.
- ↑ "เจ้านาย". โรงเรียนจิตรลดา. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 5.0 5.1 5.2 "ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท พระราชนัดดา อุทิศองค์เพื่อแผ่นดินไทย". ไทยรัฐออนไลน์. 9 มกราคม 2554. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 6.0 6.1 "องค์ติ๊ด ทรงเป็นบัณฑิตมหิดลอินเตอร์ อาจารย์ชื่นชมความคิดสร้างสรรค์ มีความเป็นศิลปินสูง". ไทยรัฐออนไลน์. 6 กรกฎาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 ""พระองค์ติ๊ด" ทรงแปลงโฉม แบรนด์ "จิตรลดา"". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 4 กันยายน 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-11. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานปริญญา ม. มหิดล". ครอบครัวข่าวสาม. 4 กรกฎาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ ข่าวสารนิเทศ จากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน เก็บถาวร 2011-07-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พิธีบำเพ็ญพระกุศลเนื่องในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ วัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
- ↑ กระทรวงยุติธรรม - พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ประทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อสมทบทุนกองทุนกำลังใจในพระดำริ[ลิงก์เสีย]
- ↑ Sriploi (18 พฤศจิกายน 2559). "งดงามหมดจด "พระองค์ติ๊ด" เจ้าหญิงผู้นอบน้อม พระราชนัดดาผู้สานต่อความพอเพียง". แพรว. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ชีวิตที่กลมกลืน ผลงานศิลปนิพนธ์ใน "พระองค์ติ๊ด"". มติชนออนไลน์. 6 สิงหาคม 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "องค์ติ๊ด ทรงออกแบบลายเสื้อ หาทุนบูรณะอุโบสถ วัดภูเขาทอง". มติชนออนไลน์. 16 ตุลาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เสื้อยืดการกุศลฝีมือ "องค์ติ๊ด"". ไทยรัฐออนไลน์. 15 ตุลาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""องค์ติ๊ด" ทรงออกแบบเสื้อยืด-กระเป๋า นำรายได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดวัง". เดลินิวส์. 16 ตุลาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 16.0 16.1 16.2 "ประกาศเฉลิมพระนาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (15ข): 12. 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (2 ข): 1. 26 มกราคม 2554.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 125 (16 ข): 1. 14 ธันวาคม 2551.
- ↑ "พิธีพระราชทานปริญญาบัตรฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล". ตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี. 22 พฤศจิกายน 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-29. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประชุมเตรียมงาน ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ถวายปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค กลุ่มวิชาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีการศึกษา 2559". คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 15 ธันวาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "มทส. ถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พืชศาสตร์) แด่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ". มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. 30 กันยายน 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-14. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ชัยรัตน์ อินทเชตุ (12 ธันวาคม 2558). "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ดังนี้". สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-23. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ทรงยกช่อฟ้าวิหารเฉลิมพระเกียรติฯ วัดโนนสว่าง จังหวัดอุดรธานี". สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7. 3 ตุลาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "องค์อทิตยาทร ส่งเสริมเกษตรกรในโครงการพระดำริ อวดผลผลิตในงาน"มหัศจรรย์ฟาร์มเกษตรสุรินทร์". ไทยรัฐออนไลน์. 7 กันยายน 2560. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ทรงบำเพ็ญพระกุศลที่โครงการพิเศษจังหวัดสุรินทร์ อ่างเก็บน้ำอำปึล จังหวัดสุรินทร์ เป็นการส่วนพระองค์". สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7. 6 เมษายน 2560. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "ชวนเที่ยว ซแรย์ อทิตยา นาของพระองค์ติ๊ด ต้นทางแห่งความพอเพียง". แพรว. 16 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ทรงยกช่อฟ้าอุโบสถวัดธรรมโพธิ์ศรี และทรงเปิดสะพาน ศรีมหาอทิตยาทร สะพานข้ามแม่น้ำปราจีนบุรี". สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7. 10 พฤษภาคม 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-22. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณเสด็จทรงเปิดอาคารอทิตยาทร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล". มหาวิทยาลัยมหิดล. 26 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณเสด็จทรงเปิดอาคารอทิตยาทร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล". วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. 8 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 30.0 30.1 30.2 30.3 30.4 30.5 วิจิตรา ดิษยะศริน, คุณหญิง. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงวิจิตรา ดิษยะศริน ต.จ., จ.ม., บ.ช. ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : บริษัทสตาร์บูมอินเตอร์พริ้นท์, 2561, หน้า 79
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2527
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ราชสกุลมหิดล
- บุคคลจากโรงเรียนจิตรลดา
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ
- บุคคลจากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1
- บุคคลจากเขตพระนคร