หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยงในงานอุ่นไอรักคลายความหนาว เมื่อ พ.ศ. 2562 | |
ประสูติ | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2473 |
สิ้นชีพิตักษัย | 5 มกราคม พ.ศ. 2568 (94 ปี) |
ราชสกุล | ชยางกูร |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป |
พระมารดา | หม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา |
ธรรมเนียมพระยศของ หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร | |
---|---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | กระหม่อม/หม่อมฉัน |
การขานรับ | กระหม่อม/เพคะ |
หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร (1 มิถุนายน พ.ศ. 2473 – 5 มกราคม พ.ศ. 2568) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป และหม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา
พระประวัติ
[แก้]หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร ประสูติเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2473 เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป ประสูติแต่หม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุญยมาลิก; บุตรีหลวงพิทักษ์นันทนาการ) เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[1] มีโสทรเชษฐภาดาและโสทรกนิษฐภาดารวมสององค์ คือ หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร และหม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร
หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนราชินี[2] และเข้ารับราชการที่กรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2533[2]
หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง มีโรคประจำองค์ และมักจะประชวรพระวาโยบ่อยครั้ง ทรงดำรงพระชนม์ที่ตำหนักถนนราชวิถี ตราบจนเข้ารักษาองค์ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ และถึงชีพิตักษัยด้วยภาวะโลหิตในทางเดินอาหาร ณ โรงพยาบาลกรุงเทพ[ต้องการอ้างอิง] เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลาประมาณ 05.00 น. สิริชันษา 94 ปี[3][4] พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศราชวงศ์ ฉัตรทองเครื่องสูงแผ่ลวดตั้งประดับ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ ณ ศาลา 11 วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[2]
กรณียกิจ
[แก้]หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร ทรงปฏิบัติกรณียกิจสำคัญหลายประการ เช่น
วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เสด็จเป็นเจ้าภาพร่วมกับสมาชิกราชสกุลชยางกูร ในการบำเพ็ญพระกุศลสวดพระอภิธรรมพระศพ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ณ ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เสด็จเป็นเจ้าภาพร่วมกับหม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร, หม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร และหม่อมจรุงใจ ชยางกูร ณ อยุธยา ในการบำเพ็ญพระกุศลถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2562 เสด็จพร้อมด้วยหม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร, หม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร และหม่อมจรุงใจ ชยางกูร ณ อยุธยา ไปทรงเยี่ยมชมงาน "อุ่นไอรักคลายความหนาว: สายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้น ณ พระลานพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่า
นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลอากาศเอกสุบิน ชิวปรีชา กรมวังผู้ใหญ่ประจำพระองค์ อัญเชิญพวงมาลัยและกระเช้าพระราชทานไปทูลถวายหม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร, หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร และหม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2562
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[5]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[6]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของหม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ. จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ :พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, 2548. 136 หน้า. ISBN 9742217467
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ไปในการบำเพ็ญพระราชกุศล 7 วันพระราชทานศพหม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร". ช่อง 7. 11 มกราคม 2568. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สิ้นชีพิตักษัย "ม.จ.อุทัยเที่ยง ชยางกูร" พระราชนัดดาฝ่ายในองค์สุดท้ายในรัชกาลที่ 4". เดลินิวส์. 6 มกราคม 2568. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "อาลัย ม.จ.อุทัยเที่ยง ชยางกูร พระราชนัดดาฝ่ายในองค์สุดท้ายในรัชกาลที่ 4 สิ้นชีพิตักษัย". มติชนออนไลน์. 6 มกราคม 2568. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๒๔ มิถุนายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๒๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๕ กรกฎาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕๖, ๘ มิถุนายน ๒๕๒๒