ข้ามไปเนื้อหา

พระอัพภันตราพาธพิศาล (กำจร พลางกูร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระอัพภันตราพาธพิศาล
(กำจร พลางกูร)

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อำมาตย์ตรี พระอัพภันตราพาธพิศาล (กำจร พลางกูร) ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[1] เป็นแพทย์ชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญของการศึกษาทางการแพทย์โดยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาชิกวุฒิสภา[2] และอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและรักษาการหัวหน้าแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กำจร พลางกูร เกิดในกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นศึกษาระดับมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นได้ทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาต่อทางการแพทย์ เป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยการศัลยกรรมประเทศอังกฤษและสำเร็จการศึกษาจากราชวิทยาลัยการแพทย์ประเทศอังกฤษ ภายหลังสำเร้จการศึกษาแล้ว กำจรเข้าดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มสอนในวิชาชีวเคมีเมื่อปี พ.ศ. 2460[3] ควบคู่กับการประกอบวิชาชีพแพทย์ในโรงพยาบาลศิริราช ต่อมากำจรได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ช่วงปี พ.ศ. 2481 - 2485 ควบคู่กับการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงปี พ.ศ. 2481 - 2486[4] ทั้งนี้กำจรได้ดำรงตำแหน่งรักษาการแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในช่วง พ.ศ. 2481 - 2482 อีกด้วย

กำจร พลางกูร ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชากรคนแรกของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในช่วง พ.ศ. 2485 - 2488 และร่วมก่อตั้งแพทยะสมาคมแห่งกรุงสยาม ซึ่งมีลำดับต่อมาเป็นแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2464

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
  2. สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกข้อมูลวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554
  3. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เก็บถาวร 2010-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เรียกข้อมูลวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551
  4. Dean of Medical Faculty เก็บถาวร 2014-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกข้อมูลวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๙๙ ๑ ตุลาคม ๒๔๘๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๗๔, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๘๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๑๗, ๖ ธันวาคม ๒๔๖๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๙๔๘, ๔ พฤศจิกายน ๒๔๘๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๓๘, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๓๐๒๔, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]