ข้ามไปเนื้อหา

พระราชพิธีสมมงคล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระราชพิธีสมมงคล ("สมมงคล" อ่านว่า สะ-มะ-มง-คน[1]) เป็นพระราชพิธีที่พระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงราชย์ในขณะนั้น ๆ จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ถวายแด่พระมหากษัตริย์หรือสมเด็จพระบรมราชบูรพการีในอดีต เพื่อทรงน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์และแสดงความกตัญญูกตเวที เนื่องในโอกาสที่ทรงมีวาระเสมอด้วยพระมหากษัตริย์หรือสมเด็จพระบรมราชบูรพการีพระองค์นั้น ๆ โดยมักทรงปฏิบัติเนื่องใน 2 วาระ ดังนี้[2]

  • วันที่ทรงครองราชสมบัติเสมอกับพระมหากษัตริย์ในอดีต เรียกว่า "สมภาคา" เช่น พระราชพิธีสมภาคาภิเษก หรือหากทรงครองราชสมบัติเป็นระยะเวลา 2 เท่าของพระมหากษัตริย์พระองค์ใด จะเรียกว่า "ทวิภาคา" เช่น พระราชพิธีทวีธาภิเษก หรือหากทรงครองราชสมบัติเท่าพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชสมบัติยาวนานที่สุด จะเรียกว่า พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก
  • วันที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาเสมอกัน และวันที่ทรงเจริญพระชนมพรรษามากกว่าพระมหากษัตริย์ในอดีต หรือสมเด็จพระบรมราชบูรพการีของพระองค์

แนวปฏิบัติเกี่ยวกับพระราชพิธีนี้ปรากฏมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงปัจจุบัน ในที่นี้จะระบุเฉพาะพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุ พระราชพิธีสมภาคาภิเษก พระราชพิธีทวีธาภิเษก และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกในพระมหากษัตริย์เท่านั้น ดังนี้

รัชสมัย วาระ สมมงคลเท่ากับ ระยะเวลา วันที่ หมายเหตุ อ้างอิง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมภาคาภิเษก (ระยะเวลาครองราชย์เสมอกัน) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 5,431 วัน 15 สิงหาคม พ.ศ. 2426 [3]
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 6,393 วัน 2 เมษายน พ.ศ. 2429
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 9,752 วัน 12 มิถุนายน พ.ศ. 2438
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 10,016 วัน 3 มีนาคม พ.ศ. 2438
นับศักราชแบบเก่า โดยหากนับแบบปัจจุบันจะเป็นปี พ.ศ. 2439
ทวีธาภิเษก (ระยะเวลาครองราชย์ทวีคูณ) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 10,862 วัน 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2441
  • วันจัดพิธีคลาดเคลื่อน เนื่องจากตามการคำนวณควรจัดในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2441
  • ในวันจัดพิธี รัชกาลที่ 5 ครองราชย์ในระยะเวลา 10,884 วัน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 12,784 วัน 2 ตุลาคม พ.ศ. 2446
รัชมังคลาภิเษก สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ 40 ปี 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451
กำหนดวันจัดพิธีโดยนับระยะเวลาจากวันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก
สมมงคลพระชนมายุ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 56 ปี 4 เดือน 27 วัน 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452
  • นับศักราชแบบเก่า โดยหากนับแบบปัจจุบันจะเป็นปี พ.ศ. 2453
  • วันจัดพิธีคลาดเคลื่อน เนื่องจากตามการคำนวณควรจัดในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452
  • ในวันจัดพิธี รัชกาลที่ 5 มีพระชนมายุ 56 ปี 4 เดือน 23 วัน
[4]
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก 37 ปี 8 เดือน 23 วัน 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508 [2]
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 57 ปี 1 เดือน 3 วัน 7 มกราคม พ.ศ. 2528
รัชมังคลาภิเษก 42 ปี 22 วัน 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 [5]
สมมงคลพระชนมายุ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 23,260 วัน 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 [2]
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 26,469 วัน 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมมงคลพระชนมายุ 14 มกราคม พ.ศ. 2568 [6]

พระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พ.ศ. 2568

[แก้]

พระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พ.ศ. 2568 (อังกฤษ: The Auspicious Occasion of His Majesty King Maha Vajiralongkorn Phra Vajiraklaochaoyuhua Attaining the Same Age as His Majesty King Buddha Yodfa Chulalok the Great (Rama I)) เป็นชื่องานเฉลิมพระเกียรติที่ประกอบด้วยพระราชพิธีสมมงคล รัฐพิธี กิจกรรม และโครงการเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุครบ 26,469 วัน เป็นวาระสมมงคลเท่าพระชนมายุของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์จักรี ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2568 โดยเป็นพระราชพิธีสมมงคลครั้งแรกในรัชกาลที่ 10 และเป็นพระราชพิธีสมมงคลที่จัดขึ้นครั้งแรกในรอบ 25 ปี หลังจากครั้งหลังสุดจัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2543 ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมายุสมมงคลเท่าพระชนมายุของรัชกาลที่ 1 เช่นกัน

โดยรัฐพิธีที่รัฐบาลจัดขึ้นในวาระดังกล่าว ประกอบด้วย พิธีทําบุญตักบาตรและเจริญพระพุทธมนต์ และพิธีมหามงคลของทั้ง 5 ศาสนา[6] และกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ดังนี้[7]

รวมถึงมีการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขึ้นในพื้นที่ของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร[8]

พระราชพิธี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "คุณแหน : 6 มกราคม 2568". แนวหน้า. 6 มกราคม 2025. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2025. ชวนคนไทยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ “พระราชพิธีสมมงคล” (สะ-มะ-มง-คน){{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 2.2 "พระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช". ตำราช้าง ฉบับรัชกาลที่ ๑. วัชรญาณ (1st ed.). สามพราน, นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977). 2002. ISBN 9744175265. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2025.
  3. "ด้วยพระบารมี". ทันโลกทันธรรม 1. กัลยาณมิตร. 19 มิถุนายน 2006. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2025.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชานุญาต จัดพิธีมหามงคลบำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระลานพระราชวังดุสิต". เมื่อ พ.ศ. 2452 ปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุเสมอพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุสมมงคล ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2452
  5. "2 กรกฎาคม 2531 – พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก". เดอะสแตนดาร์ด. 2 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2025.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 "รัฐบาลเตรียมจัดเฉลิมพระเกียรติในหลวง ในโอกาสพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่า ร.1". มติชน. 19 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2024.
  7. ""พระราชพิธีสมมงคล" 14 ม.ค. 68 รัฐบาลเชิญร่วมพิธีสำคัญกับ 7 กิจกรรมทั่วไทย". ฐานเศรษฐกิจ. 2 มกราคม 2025. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2025.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "วัดโพธิ์ สร้าง 'พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 1' เฉลิมพระเกียรติ". เดลินิวส์. 21 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)