พระพรหมวัชรธีราจารย์ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ)
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก พระราชปริยัติกวี (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ))
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พระพรหมวัชรธีราจารย์ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | พระเดชพระคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 กันยายน 2503 (64 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นเอก, เปรียญธรรม 9 ประโยค, ศษ.บ., พธ.ม., Ph.D.(Pali&Buddhist Studies) |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร |
พรรษา | 42 |
ตำแหน่ง | ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ,รองเจ้าคณะภาค5,รองแม่กองบาลีสนามหลวง, อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
พระพรหมวัชรธีราจารย์ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ ป.ธ.9) ศาสตราจารย์,ดร. [1] เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ[2] ฝ่ายมหานิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร,รองเจ้าคณะภาค5 ,รองแม่กองบาลีสนามหลวง และอธิการบดีรูปที่ 6 ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[3]
ชาตภูมิ
[แก้]พระพรหมวัชรธีราจารย์ ศาสตราจารย์ ดร.,ป.ธ.๙ มีนามเดิมว่า สมจินต์ วันจันทร์[4] เกิดเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2503 ภูมิลำเนาเดิม ตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
การบรรพชาและอุปสมบท
[แก้]- พ.ศ. 2525 หลังจากที่สอบได้ ป.ธ.7 ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาพระอุโบสถวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (ขณะที่ยังดำรงสมณศักดิ์เป็น พระธรรมธีรราชมหามุนี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายานามว่า สมฺมาปญฺโญ
การศึกษา/วิทยฐานะ
[แก้]- พ.ศ. 2514 นักธรรมชั้นเอก วัดเสาไห้ สำนักเรียนคณะจังหวัดสระบุรี สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง
- พ.ศ. 2528 เปรียญธรรม 9 ประโยค สำนักเรียนวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง
- พ.ศ. 2531 ศึกษาศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา), มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนทบุรี
- พ.ศ. 2534 พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา), มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2537 Ph.D. (Pali & Buddhist Studies), BHU, India
การปกครองคณะสงฆ์
[แก้]งานด้านการศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2527 - ปัจจุบันเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ณ สำนักเรียนวัดปากน้ำ กรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2537 เป็นเจ้าหน้าที่ประจำกองวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2538 เป็นรักษาการผู้อำนวยการกองวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2540 เป็นผู้อำนวยการกองวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2540 เป็นรักษาการรองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2541 เป็นรักษาการคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2541 เป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วาระที่ 1)
- พ.ศ. 2545 เป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วาระที่ 2)
- พ.ศ. 2549 เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วาระที่ 1)
- พ.ศ. 2553 เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วาระที่ 2)
- พ.ศ. 2557 เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วาระที่ 3)
- พ.ศ. 2557 เป็นรักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ (รูปแรก)
- กรรมการและเลขานุการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[6]
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการประจำวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2558 เป็นเลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง
- พ.ศ. 2561 เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (สมัยที่1)[7]
- พ.ศ. 2565 เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (สมัยที่2)[8]
งานวิชาการ
[แก้]- ผลงานแปลและแต่งหนังสือทางวิชาการ : พัฒนาการแห่งพุทธจริยศาสตร์, พัฒนาการแห่งความคิดแบบอินเดียโบราณ , กรรมและการเกิดใหม่, พุทธทัศนะเบื้องต้น, ปรัชญาแห่งนาคารชุน, พระพุทธศาสนามหายาน,พระพุทธศาสนามหายาน : พัฒนาการและสารัตถธรรม, พุทธปรัชญา : สาระและพัฒนาการ, คัมภีร์วิมุตติมรรค, ลังกาวตารสูตร, บูรณาการพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างพลังบริหาร
- ผลงานการเรียบเรียง : คู่มือปฐมสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย, คู่มือการเรียนการสอน วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๕, ประมวลการสอนธรรม โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน, พระพุทธศาสนาในจีน ทิเบต เวียดนาม ญี่ปุ่น, กฎแห่งความรัก (ปรัชญาความรักในพระพุทธศาสนา)
- บทความทางวิชาการ : บทวิเคราะห์วัชรยาน ตอนที่ ๑-๕ (บทความทางวิชาการ), นาคารชุนกับปัญหาว่าด้วยกาล ภาวะและอภาวะ, แนะนำพระวินัยปิฎก, ปรัชญามาธยมิกะ, สืบค้นตรรกวิทยาในพระไตรปิฎกและวรรณกรรมพระพุทธศาสนา, วิพากษ์ทางสายกลางของอริสโตเติลกับมัชฌิมาปฏิปทาในพระพุทธศาสนาเถรวาท, พระวินัย : กฎเกณฑ์และคุณค่าทางสังคม กำเนิดและพัฒนาการแห่งพระพุทธรูป, สถานการณ์ฯ พระพุทธศาสนาในโลกปัจจุบัน, เจดีย์ในพระพุทธ-ศาสนา, นิพพาน : อัตตาหรืออนัตตา, วิพากษ์แนวคิด : พระพุทธศาสนาสำหรับโลกหลังยุคใหม่, พระพุทธศาสนาแบบธิเบต : วิเคราะห์มันตระ “โอม มณี ปัทเม หูม”, ทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) : วิเคราะห์จากหนังสือ “ทางสายกลางของการศึกษาไทย”, พระพุทธศาสนากับมังสวิรัติ, พุทธวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยกรอบแห่งอธิกรณ-สมถะ ๗ : ศึกษาแนวการประยุกต์ใช้สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกาวินัย, การจัดการศาสนาและวัฒนธรรมในอุษาคเนย์เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ, ความเข้มแข็งของสถาบันสงฆ์ ปริมาณหรือคุณภาพ, อานิสงส์ของการบริจาคอวัยวะตามหลักพระพุทธศาสนา:กรณีการบริจาคไต, ทางสายกลาง: วิธีบริหารจัดการชีวิตสู่ความสุขตามหลักพระพุทธศาสนา, ศึกษาวิเคราะห์แก่นธรรมจากชาดก
- เอกสารประกอบการสอน : พุทธปรัชญา, วิชาปรัชญาจีนและญี่ปุ่น, วิชาจริยศาสตร์
- งานวิจัย : การศึกษาวิเคราะห์หลักจริยศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา, พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, บูรณาการพุทธธรรมเพื่อเพิ่มพลังบริหาร
- บรรณาธิการ : มหาบัณฑิตสัมมนา : บทความสัมมนาทางวิชาการ, พระพุทธศาสนากับวิทยาการโลกยุคใหม่
ตำแหน่งทางวิชาการ
[แก้]- พ.ศ. 2542 เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา สังกัดคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[9]
- พ.ศ. 2548 เป็นรองศาสตราจารย์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา สังกัดคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[10]
- พ.ศ. 2559 เป็นศาสตราจารย์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา สังกัดคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[11]
รางวัลเชิดชูเกียรติคุณ
[แก้]- พ.ศ. 2546 รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา (รางวัลเสาเสมาธรรมจักร) ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา สาขาการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา
- พ.ศ. 2566 เข้ารับประทานปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์ โดยการอนุมัติของสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย[12] ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
สมณศักดิ์,พัดยศ
[แก้]- พ.ศ. 2528 รับพระราชทานทรงตั้งเปรียญธรรม 9 ประโยค มีสมณศักดิ์พัดยศทางวิชาการเปรียญธรรม ที่ พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ในการทรงตั้งเปรียญธรรม 9 ประโยค และเปรียญธรรม 6 ประโยค ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2551 มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พัดยศขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระศรีคัมภีรญาณ[13]
- พ.ศ. 2559 มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พัดยศขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชปริยัติกวี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[14]
- 26 มกราคม พ.ศ. 2564 มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พัดยศขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพวัชรบัณฑิต ปริยัติศาสนกิจดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[15]
- 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พัดยศขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมวัชรบัณฑิต ปริยัติกิจสุวิธาน ปรีชาญาณดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[16]
- 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 มีพระบรมราชโองการโปรดสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมวัชรธีราจารย์ [17]มหาจุฬาลงกรณบริหารวรกิจ วิสิฐพุทธธรรมภาณี ศาสตรเมธีญาณดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[18] สถิต ณ วัดปากน้ำ พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-17. สืบค้นเมื่อ 2016-05-28.
- ↑ "โปรดเกล้าฯ สถาปนาอธิการบดี มจร เป็น "พระพรหมวัชรธีราจารย์" เจ้าคุณบุญชิต เป็น "พระพรหมวัชรวิมลมุนี"". TheBuddh.com. 2024-05-17.
- ↑ "รองอธิการบดี". มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 9 กุมภาพันธ์ 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-30. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประวัติพระราชปริยัติกวี (สมจินต์)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-23. สืบค้นเมื่อ 2016-12-06.
- ↑ "ทำเนียบพระภิกษุสามเณรวัดปากน้ำ". มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "กรรมการและเลขานุการสภาวิชาการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-31. สืบค้นเมื่อ 2016-12-06.
- ↑ thairnews (2018-08-17). ""พระราชปริยัติกวี" รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นอธิการบดี มจร. พระพรหมบัณฑิต แนะอธิการฯรูปใหม่ยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหาร". Thairnews.
- ↑ "สมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้ง พระธรรมวัชรบัณฑิต ดำรง อธิการบดี มจร. ต่ออีกสมัย". คมชัดลึกออนไลน์. 2022-08-11.
- ↑ คำสั่งมหาวิทยาลัย, คำสั่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง แต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์, คำสั่งที่ 245/2544 สั่ง ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2544
- ↑ คำสั่งมหาวิทยาลัย, คำสั่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง แต่งตั้งรองศาสตราจารย์, คำสั่งที่ 138/2550 สั่ง ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2550
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์, เล่ม 133, ตอนพิเศษ 108 ง, 12 พฤษภาคม 2559, หน้า 4
- ↑ https://www.mbu.ac.th/act-news/post-9898/#
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 126, ตอนที่ 26 ข, 22 เมษายน 2552, หน้า 2
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 133, ตอนที่ 43 ข, 9 ธันวาคม 2559, หน้า 8
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (pdf). ราชกิจจานุเบกษา. 26 มกราคม 2564. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (pdf). ราชกิจจานุเบกษา. 8 กรกฎาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการประกาศสถาปนาสมณศักดิ์,เล่ม 141,ตอนที่ 20ข,17 พฤษภาคม 2567,หน้า 1
- ↑ chanhena, Bandit. "ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ 'พระธรรมวชิรมุนี'- 'พระธรรมวัชรบัณฑิต' ขึ้นเป็นรองสมเด็จฯ". เดลินิวส์.
- http://www.undv.org/vesak2012/th/seminar4a.php
- http://www.alittlebuddha.com/News%202013/September%2020113/028%20September%202013.html เก็บถาวร 2017-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.mcu.ac.th/site/news_in.php?group_id=1&NEWSID=7382[ลิงก์เสีย]
ก่อนหน้า | พระพรหมวัชรธีราจารย์ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ศาสตราจารย์ ดร.พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) | อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน) |
อยู่ในวาระ |
หมวดหมู่:
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2503
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- พระราชาคณะชั้นธรรม
- ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
- เปรียญธรรม 9 ประโยค
- ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
- ศาสตราจารย์
- ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร
- บุคคลจากอำเภอลำปลายมาศ
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยพาราณสี
- บุคคลจากสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ภิกษุจากจังหวัดบุรีรัมย์