ข้ามไปเนื้อหา

พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว)
จุฬาราชมนตรี คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2199 – พ.ศ. 2225
กษัตริย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ก่อนหน้าเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด)
ถัดไปพระยาจุฬาราชมนตรี (สน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื้อชาติไทยเชื้อสายเปอร์เซีย
ศาสนาชีอะฮ์
บุพการี
  • พระยาศรีเนาวรัตน์ (อากามะหะหมัด) (บิดา)
  • ท่านชี (มารดา)

พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว) เกิดเมื่อปีใดไม่ปรากฏ บิดาคือพระยาศรีเนาวรัตน์ (อากามะหะหมัด) มารดาชื่อท่านชี ในสำเภากษัตริย์สุลัยมานกล่าวว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงตั้งชื่อว่า ชูชี (แปลว่าดวงใจ) เป็นน้องชายของเจ้าพระยาศรีไสยหาญณรงค์ (ยี) ในสำเภากษัตริย์สุลัยมานกล่าวว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงตั้งชื่อว่า ชูเกีย (แก้วตาของฉัน) มีศักดิ์เป็นหลานตาของเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) เริ่มรับราชการโดยถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนได้เป็นหลวงศรียศ (แก้ว) ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นจุฬาราชมนตรีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจนถึงสมัยสมเด็จพระเพทราชา

ช่วงที่ท่านเป็นจุฬาราชมนตรีอยู่นั้น เป็นช่วงที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เรืองอำนาจและมีความขัดแย้งระหว่างชาวคริสต์และมุสลิมในราชอาณาจักรมาก และคาดว่าท่านเป็นจุฬาราชมนตรีคนที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เอ่ยถึงว่าลงไปเจรจาที่เมืองปัตตาเวียเกี่ยวกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในมะละกาในจดหมายที่เขาส่งถึงบาทหลวงเดอลาแซส

ในสำเภากษัตริย์สุลัยมานให้ข้อมูลที่แตกต่างว่าเจ้าพระยาศรีไสยหาญณรงค์ (ยี) และพระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว) เป็นคนโง่เขลาอ่อนหัด และถูกชาวอิหร่านคนอื่น ๆ ชักนำให้ประพฤติตัวสำมะเลเทเมา และไปคบหากับพระอนุชาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทำให้พระองค์ทรงระแวงว่าอาจจะสนับสนุนพระอนุชาในการแย่งชิงราชสมบัติ จึงทรงลดตำแหน่งของทั้งสองลง ต่อมาไม่นานก็ทรงพระพิโรธและลงพระราชอาญาด้วยการเนรเทศไปอยู่ที่เกาะแห่งหนึ่ง เมื่อคณะทูตอิหร่านเดินทางเข้ามาในสยามเมื่อ พ.ศ. 2227 ก็ไม่ทราบชะตากรรมของทั้งสองแล้ว[1][2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำเภากษัตริย์ สุลัยมาน : บันทึกของคณะราชทูตเปอร์เชียเข้ามากรุงศรีอยุธยา
  2. วิพากษ์ประวัติศาสตร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
  • สำละ วรนิวัฒน์. การเผยแพร่อิสลามในสยาม ใน มุสลิมมัสยิดต้นสนกับบรรพชน 3 ยุคสมัย. กทม. : จิรัชการพิมพ์, 2544.
  • เอกราช มูเก็ม. จุฬาราชมนตรี ประวัติศาสตร์ผู้นำไทยมุสลิมจากสมัยอยุธยาถึงยุคทักษิณ. กทม. : ร่วมด้วยช่วยกัน, 2549. หน้า 21-22.
ก่อนหน้า พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว) ถัดไป
เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) พระยาจุฬาราชมนตรี คนที่ 2
(พ.ศ. 2199 — 2225)
พระยาจุฬาราชมนตรี (สน)