ข้ามไปเนื้อหา

พระนิตตะสึ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระนิทตัตสุ โชนิน
ศาสนา พุทธ
นิกาย นิชิเรนโชชู
ข้อมูลสว่นตัว
เกิด 15 เมษายน ค.ศ. 1902
เสียชีวิต 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1979
ตำแหน่งนักบวชอาวุโส
อาศัยใน ประเทศญี่ปุ่น
ยศ พระสังฆราชแห่งนิชิเรนโชชู
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 1959ค.ศ. 1978
ลำดับก่อนหน้า พระนิชิจุน โชนิน
ผู้สืบทอด พระนิคเคน โชนิน
งานด้านศาสนา
บวชเมื่อ ค.ศ.1910
ตำแหน่งก่อนหน้า สังฆราชแห่ง นิชิเรนโชชู

พระนิทตัตสุ โชนิน (日達, Nittatsu Shonin ; 15 เมษายน ค.ศ. 1902 - 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1979) เป็นพระสังฆราชของพุทธศาสนานิกาย นิชิเรนโชชู องค์ที่ 66 ซึ่งเป็นหนึ่งในนิกายสำคัญของศาสนาพุทธนิกายนิชิเรน และยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดใหญ่ไทเซขิจิชิซุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ท่านเป็นพระสังฆราชที่ได้รับการขนานนามว่า เป็นพระสังฆราชผู้เมตตา เนื่องด้วยมักจะปรากฏออกสาธารณชนด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้มต่อสานุศิษย์เสมอ

ในสมัยของพระนัทตัตสุ โชนิน นี้ เป็นสมัยเริ่มแรกที่เกิดความพิพาทระหว่าง โซกา งัคไค และ นิชิเรนโชชู จนนำไปสู่การคว่ำบาตรใน สมัยพระสังฆราชองค์ต่อไป พระนิคเคน โชนิน

ข้อพิพาทกับโซกา งัคไค

[แก้]

โซกา งัคไค เป็นสมาคมผ้นับถือที่ใหญ่ที่สุดของนิกายนิชิเรนโชชูในสมัยนั้น ซึ่งต่อมาได้โดนควำบาตรออกจากศาสนาในปี ค.ศ. 1991 โดยสมเด็จพระสังฆราชนิคเค่น โชนิน โดยได้ให้เหตุผลว่า ประธานของสมาคม และผู้นำระดับสูง มีความเชื่อที่บิดเบือน และสอนหลักธรรมที่บิดเบือน ไปจากความเชื่อที่ถูกต้องดั้งเดิม

โดยพระนิทตัตสุ โชนิน ได้มีกล่าวดังนี้ในที่ประชุม ในการประชุมกลุ่มฮอกเคะโขะ ในเมษายน ปี ค.ศ. 1947 ที่วัดไทเซขิจิ

อาตมาได้ยินมาว่าในกลุ่มผู้นับถือกลุ่มหนึ่ง ได้มีการพูดถึงเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการปรากฏตัวของพระพุทธะแท้จริงองค์ใหม่ หากรายงานที่อาตมาได้รับเป็นความจริง บุคคลที่เอ่ยอ้างดังกล่าวก็กำลังไม่ได้ปฏิบัติธรรมและนับถือนิชิเรนโชชู และจะไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็น ผู้นับถือนิชิเรนโชชู อีกต่อไป หากมีบุคคลใดสอนหลักธรรมที่บิดเบือน อาตมาอยากจะให้สมาชิกฮอกเคโขะ(ผู้นับถือทั่วโลก) หยุดย้งการกระทำดังกล่าวทุกวิธีทาง โปรดเข้าใจว่านี่คือภารกิจของฮอกเคะโขะ

ในจังหวัดวะคะยะมะ มีบางคนได้พูดกับสมาชิกในกลุ่มว่า "เราไม่ต้องการอะไรนอกจากโงะฮนซน การสืบสายเลือดแห่งธรรมเป็นเรื่องไม่จำเป็น" ความคิดประเภทนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ? ใครกันเป็นผู้จารึกโงะฮนซนซึ่งพวกเขาได้บอกว่าตนเองต้องการ ในนิชิเรนโชชู โงะฮนซนจะไม่สามารถถูกจารึกหรือผลิตโดยผู้ที่ไม่ได้รับสายเลือดแห่งธรรม หากเป็นดังที่พวกเขากล่าวว่า การสืบสายเลือดแห่งธรรมเป็นเรื่องไม่จำเป็นแล้ว เช่นกันเราก็ควรจะสามารถรับโงะฮนซนจากนิชิเรนชูสายมิโนบุ ซึ่งทุกคนสามารถสร้างโงะฮนซน อาตมานึกถึกการโต้วาทีธรรมโอตารุ ที่พระสงฆ์จากมิโนบุกล่าวว่า "โงะฮนซนสามารถถูกจารึกโดยใครก็ได้" อาตมาได้ประหลาดใจและคิดในใจว่า "คุณพูดอะไรกัน ?" ถ้าหากเป็นเรื่องจริงตามที่กล่าว เราก็สามารถมี เจ้าอาาสจากวัด ฮิะชิฮนกันจิ หรือ นิชิฮนกันจิ จารึกโงะฮนซน และบูชาอย่างสุดซึ้งได้อย่างน้นหรือ ?

ในโซกางัคไคมีการกล่าวและสอนว่า ผู้นับถือฆราวาสศึกษาด้วยตนเองและทำการเผยแผ่ธรรมด้วยความสมัครใจ หรือที่พวกเขาเรียกว่าผู้ศรัทธาในความสามัคคี เราจำเป็นต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง และเมื่อพวกเขากล่าวว่าไมต้องการพระสงฆ์ ก็เหมือนกับการกล่าวว่าพวกเขาเป็นพระสงฆ์ หากเราซึ่งได้เข้าเป็นพระสงฆ์ไม่มีความจำเป็นดังที่พวกเขากล่าว ผู้นับของโซกางัคไคจะสร้างตนเองเป็นพระสงฆ์กลุ่มต่อไป คำกล่าวของโซกางัคไคล้วนแต่จะทำลายความเป็นจริง..

พวกเรา พระสงฆ์ไม่เคยมีเจตนาที่จะทำลายโซกางัคไค หรือ องค์กรต่างๆ แต่ในขณะนี้ โซกางัคไคได้มีความเข้าใจที่ผิดพลาดเกี่ยวกับคำสอนของนิชิเรนโชชู และการเบี่ยนเบนของพวกเขาได้ตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ การที่อาตมากล่าวเช่นนี้ก็เพราะอาตมาต้องการให้โซกางัคไค แก้ไขข้อผิดพลาดของตนเอง และกลับมามีความศรัทธาที่เข้มแข็งถูกต้องดังเช่นในตอนแรก เป็นเรื่องจริงว่าในเวลาหลายปีที่ผ่านมา โซกางัคไคได้อุทิศตนเองเพื่อสนับสนุนพระสงฆ์อย่างมาก การสนับสนุนของพวกเขานั้นมีความหมายยิ่งนัก แม้จะมีการสนับสนุนที่มากมายมหาศาลก็ตาม หากพวกเขามีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับคำสอนของนิชิเรนโชชู และเบี่ยนเบนจากคำสอนที่ถูกต้องแล้ว สิ่งเหล่านี้จะทำให้ ความพยายามของพวกเขาทั้งหมดสูญเปล่า

(กล่าวในการประชุมเมียวคันไค ครั้งที่ 18 วันที่ 31 มีนาคม 1979 )

นายโจเซอิ โทดะ (ประธานคนที่ 2 ของโซกางัคไค) ได้จากโลกนี้ไป ไดเคะโจ และ หอรับรองกลางได้เสร็จสิ้น ในปี ค.ศ. 1972 โชฮนโดะ ได้ถูกสร้างและในทันทีหลังจากนั้น โซกางัคไค ได้เริ่มที่จะกระทำการแปลกๆ พวกเขาได้บิดเบือนคำสอนอย่างร้ายแรง และได้ดูแคลนพระสงฆ์ ทุกๆครั้งที่อาตมาสังเกตจุดนี้ อาตมาได้พยายามที่จะยกประเด็นมาบอกว่า "สิ่งที่คุณกำลังทำอยู่นั้นมันผิด และต่างจากคำสอนของนิชิเรนโชชูโดยสิ้นเชิง"

(ในการประชุมพิจารณาเหตุการณ์ปัจจุบัน ครั้งที่ 1 วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 1978)

เฉพาะเมื่อคำสอนของนิชิเรนโชชูได้ถูกเผยแผ่ตลอดทั้งโลกแล้ว จึงจะเรียกได้ว่าคือ โคเซ็นรุฝุ หากหลักธรรมที่แตกต่างจากนิชิเรนโชชูถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก สิ่งนี้จะไม่เรียกว่าโคเซ็นรุฝุ หากคำสอนที่ไม่ใช่คำสอนของนิชิเรนโชชู หรือคำสอนของพระนิชิเรนไดโชนิน ถูกเผยแผร่ไปทั่วโลกแล้วนั้น พวกเราไม่ควรจะยินดีต่อการกระทำดังกล่าว อาตมาเชื่อว่า พระนิชิเรนไดโชนิน จะยินดีกับเรื่องดังกล่าวได้หรือ เพราะนั่นหมายความว่าจิตวิญญาณของนิชิเรนโชชูได้สูญหายไปแล้ว ?

(กล่าว ณ พิธีเปิดศูนย์ศึกษาฟูจิกะคุริน 18 มิถุนายน 1974)

อย่างไรก็ตาม พระนิทตัตสุ โชนิน นั้นเป็นพระสังฆราชที่ได้รับความเคารพนับถือจากสมาชิกโซกา งัคไค เป็นอย่างมาก

กล่าวชมสมาคมสร้างคุณค่า

[แก้]

สมาชิกของสมาคมโซคา เป็นทรัพย์สมบัติของประเทศชาติ เนื่องจากการเผยแผ่ธรรมไพศาลสิ่งนี้ก็คือ ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนในประวัติศาสตร์

(คำปราศรัย ในการประชุมใหญ่คณะยุวชนครั้งที่14 ในปีค.ศ. 1965)

จะกลายเป็นบุญกุศลที่สูงสุดของโนเขะ(อาจารย์ผู้สั่งสอน)และโชะเขะ(ลูกศิษย์ที่ได้รับการสั่งสอน)ทุกคนที่ปีติยินดี ดุจดังผู้ที่ขายเครื่องหอม และผู้ที่มองดูเครื่องหอมอยู่ข้างๆต่างก็จะได้กลิ่นของเครื่องหอมอย่างเท่าเทียมกัน...ไดซาขุ อิเคดะ ผู้ตั้งปณิธานที่จะทำบุญก่อสร้างโชฮนโดถวายและทำให้ทุกคนก็ตั้งปณิธานที่จะทำบุญด้วยนั้น ก็คือโนเขะ ส่วนสมาชิกของสมาคมโซคา สมาชิกกลุ่มฮกเขะโค และผู้ที่อยู่ในตระกูลวัดก็คือ โชเขะ...ไดซาขุ อิเคดะ นายกสมาคมโซคา งัคไกได้สวดไดโมขุ 3,500,000คำเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการทำบุญถวายจำนวนไดโมขุดังกล่าว ก็ได้ทำให้กลายเป็นการทำบุญ 35,000,000 เยน

(คำปราศรัย ในการประชุมระดับหัวหน้าของสมาคมประจำเดือนตุลาคม 1965)

อ้างอิง

[แก้]