พรรคอำนาจใหม่
พรรคอำนาจใหม่ | |
---|---|
หัวหน้า | เฉิน เจียวหัว (陳椒華) |
เลขาธิการ | ไป๋ ชิงเฟิน (白卿芬) |
คณะกรรมการกำหนดนโยบาย | รายชื่อ
|
ก่อตั้ง | 25 มกราคม ค.ศ. 2015 |
ที่ทำการ | ไทเป ไต้หวัน |
อุดมการณ์ | พิพัฒนาการนิยม[1] การเมืองของเยาวชน[2] ชาตินิยม[3] เอกราชไต้หวัน[3] |
จุดยืน | ซ้ายกลาง[4][5] |
สี | เหลือง ดำ |
สภานิติบัญญัติไต้หวัน | 0 / 113 |
นายกเทศมนตรีเทศบาลพิเศษ | 0 / 6 |
นายกเทศมนตรีนคร/ผู้ว่าการเทศมณฑล | 0 / 22 |
สมาชิกสภาท้องถิ่น | 6 / 910 |
นายกเทศมนตรีเมือง/นคร | 0 / 204 |
เว็บไซต์ | |
www.newpowerparty.tw | |
การเมืองไต้หวัน รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคอำนาจใหม่ (อังกฤษ: New Power Party: NPP) ชื่อท้องถิ่นว่า ฉือไต้ลี่เลี่ยง (จีน: 時代力量; พินอิน: Shídài Lìliàng; "ยุคแห่งอำนาจ") เป็นพรรคการเมืองในไต้หวัน จัดตั้งขึ้นในต้น ค.ศ. 2015 โดยก่อกำเนิดมาจากขบวนการนักศึกษาทานตะวันใน ค.ศ. 2014 พรรคนี้สนับสนุนสิทธิมนุษยชน เสรีภาพพลเมือง และเสรีภาพทางการเมือง รวมถึงเอกราชไต้หวัน และลัทธิชาตินิยมไต้หวัน[3][6][7] พรรคนี้เป็นส่วนหนึ่งปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เรียกว่า อำนาจที่สาม (三勢力) อันเป็นเหตุการณ์ที่พรรคการเมืองใหม่ ๆ นอกกลุ่มฟ่านลฺวี่เหลียนเหมิง (泛綠聯盟; Pan-Green Coalition) และกลุ่มฟ่านหลานเหลียนเหมิง (泛藍聯盟; Pan-Blue Coalition) เสนอตัวเป็นทางเลือกในการเมืองไต้หวัน[8] แต่กระนั้น นโยบายของพรรคนี้ค่อนข้างอิงและสอดคล้องกับกลุ่มฟ่านลฺวี่เหลียนเหมิง จึงปรากฏว่า พรรคนี้ กับพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ซึ่งอยู่ในกลุ่มดังกล่าว ร่วมมือกันต่อต้านก๊กมินตั๋งในการเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 2016 ถึงขนาดที่พรรคนี้ไม่ส่งผู้สมัครในฐานที่มั่นเดิมของก๊กมินตั๋งเพื่อเลี่ยงแข่งขันกับพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า[9]
ผู้ริเริ่มพรรคนี้ คือ หลิน ฉางจั่ว (林昶佐; Freddy Lim) นักร้องนำวงฉ่านหลิง (閃靈; Chthonic)[10] และคนอื่น ๆ จากขบวนการนักศึกษาทานตะวัน โดยเลือกหวง กั๋วชาง (黃國昌) เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ในการเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 2016 พรรคนี้ได้ที่นั่ง 5 ที่ในสภานิติบัญญัติไต้หวัน 3 ที่เป็นแบบแบ่งเขต อีก 2 ที่เป็นแบบบัญชีรายชื่อ นับเป็นชัยชนะเหนือพรรคประชาชนมาก่อน (People First Party) อันเป็นพรรคอันดับสามมายาวนาน อย่างไรก็ดี สมาชิก 2 คนที่ได้รับเลือกตั้งครั้งนั้นลาออกจากพรรคไปใน ค.ศ. 2019 และในการเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 2020 พรรคนี้ได้ที่นั่งเพียง 3 ที่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "대만 청년정당 '시대역량'을 만나다. (Meet Taiwan's youth party, the 'New Power Party'.)" (ภาษาเกาหลี). OhmyNews. 2 January 2018. สืบค้นเมื่อ 2 March 2020.
시대역량이 민진당에 끊임없이 진보적인 목소리를 불어넣으려고 노력하는 이유이다. 특히 시대역량은 노동·복지·경제 문제에 집중하고 있다. (The NPP is trying to infuse a constantly progressive voice into the DPP. In particular, the NPP is focusing on labor, welfare and economic issues.)
- ↑ "청년정치 도전 '시대역량' 대만선거서 돌풍 (The New Power Party, which challenges youth politics, is creating a sensation in Taiwan's elections.)" (ภาษาเกาหลี). 주간경향(Weekly Kyunghyang). 2 February 2016. สืบค้นเมื่อ 18 December 2020.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 New Power Party Platform(Chinese)
- ↑ Lansford, Tom, บ.ก. (19 March 2019). Political Handbook of the World. Vol. 1 (2018–2019 ed.). CQ Press. p. 321. ISBN 978-1-5443-2713-6. ISSN 0193-175X.
- ↑ Carin Holroyd, บ.ก. (2020). Introducing East Asia: History, Politics, Economy and Society. Routledge. ISBN 9781317409922.
- ↑ "New Power Party announces leadership structure - Taipei Times". www.taipeitimes.com. สืบค้นเมื่อ 2016-04-06.
- ↑ Taiwan's newest politicians include a rock star and an aboriginal activist
- ↑ "Civic groups voice support for 'third force' - Taipei Times". www.taipeitimes.com. สืบค้นเมื่อ 2016-01-09.
- ↑ 沒有符合條件的頁面. สืบค้นเมื่อ 2016-04-06.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Laskai, Lorand (2015-11-19). "Taiwan's Newest Political Party Was Co-Founded by a Tattooed Rockstar". Foreign Policy. สืบค้นเมื่อ 2016-01-06.