พรรคพหุชนสมาช
พรรคพหุชนสมาช | |
---|---|
ชื่อย่อ | BSP |
ผู้ก่อตั้ง | กาญศี ราม |
ประธาน | มายาวตี[1] |
ผู้นำในโลกสภา | คิริศ จันทระ |
ผู้นำในราชยสภา | รามจี โคตมะ |
ก่อตั้ง | 14 เมษายน 1984 |
ก่อนหน้า | DSSSS หรือ DS4 |
ที่ทำการ | 12 ถนนคุรุทวารา Rakabganj นิวเดลี ประเทศอินเดีย 110001 |
หนังสือพิมพ์ | พหุชนสมาชบุลเลติน |
อุดมการณ์ | เคารพตนเอง[2] |
สี | น้ำเงิน |
สถานะโดย ECI | พรรคระดับชาติ |
พันธมิตร | SAD+ (2021—) (รัฐปัญจาบ) |
ที่นั่งในโลกสภา | 10 / 543 |
ที่นั่งในราชยสภา | 1 / 245 |
ที่นั่งในวิธนสภา & วิธนบริษัท | 7 / 4,036
(3987 MLAs & 49 ว่าง) 1 / 426
(400 MLCs & 26 ว่าง) List 1 / 403 (สภานิติบัญญัติรัฐอุตตรประเทศ)
1 / 100 (อุตตรประเทศวิธรบริษัท)
2 / 90 (สภานิติบัญญัติจัณฑีครห์)
1 / 230 (สภานิติบัญญัติมัธยประเทศ)
2 / 70 (สภานิติบัญญัติอุตตรขัณฑ์)
1 / 117 (สภานิติบัญญัติปัญจาบ)
|
จำนวนรัฐและดินแดนสหภาพที่เป็นรัฐบาล | 0 / 31 |
เว็บไซต์ | |
bahujansamajparty | |
สัญลักษณ์การเลือกตั้ง | |
การเมืองอินเดีย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคพหุชนสมาช (อังกฤษ: Bahujan Samaj Party; BSP) เป็นพรรคการเมืองระดับชาติในประเทศอินเดีย ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นผู้แทนของ "พหุชน" (Bahujan; แปลตรงตัวว่า "คนส่วนใหญ่") ซึ่งหมายถึงสมาชิกของวรรณกำหนด, ชนเผ่ากำหนด, ชนชั้นถดถอยอื่น (OBC) และบรรดาชนกลุ่มน้อยทางศาสนา[4] กาญศี ราม เป็นผู้ก่อตั้งพรรคในปี 1984 ในเวลานั้น "พหุชน" คิดเป็น 85 เปอร์เซ็นต์ของประชากรอินเดีย และแบ่งย่อยเป็นอีกกว่า 6,000 วรรณะ[5][6] พรรคอ้างว่าได้รับแรงบันดาลใจจากปรัชญาของพระโคตมพุทธเจ้า, บีอาร์ อามเพฑกร, มหาตมะ ชโยติพะ ฟูเล, นารายณะ คุรุ, เปริบาร์ อีวี รามสามี และ ฉัตรบดี ชาฮูจี มหาราช[7] กาญศี ราม แต่งตั้งให้ มายาวตี เป็นผู้สืบทอดในปี 2001 พรรค BSP มีฐานเสียงสำคัญอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ที่ซึ่งพรรคเป็นพรรคใหญ่สุดอันดับสองในการเลือกตั้งทั่วไป ปี 2019 ด้วยคะแนนเสียง 19.3%[8] และอันดับสามในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติรัฐอุตตรประเทศ ปี 2022 ด้วยคะแนนเสียง 12.88%[9] เครื่องหมายการเลือกตั้งของพรรคเป็นรูปช้าง ที่ซึ่งในอดีต ดร.อามเพฑกร ใช้สัญลักษณ์เดียวกันนี้แทนสหพันธ์วรรณะกำหนด[10]
BSP เชื่อใน "การปฏิรูปสังคมและการปลดปล่อยทางเศรษฐกิจ" ของบรรดา "พหุชนสมาช" บีอาร์ อามเพฑกร เป็นผู้สนับสนุนสิทธิของพหุชนคนสำคัญ และเป็นต้นคิดสำคัญของแนวคิดของพรรค นอกจากนี้ BSP ยังเป็นกระบอกเสียงของชนกลุ่มน้อยทางศาสนา พรรคมีจุดยืนในการไม่ต่อต้านวรรณะที่สูงกว่า ดังที่ในปี 2008 มายาวตีได้กล่าวปราศรัยว่า: "นโยบายและหลักคิดของเราไม่ได้ต่อต้านวรรณะหรือศาสนาใด ๆ ในตัวมันเอง ถ้าเราเป็นพวกต่อต้านคนวรรณสูงจริง เราคงไม่ยอมให้มีผู้สมัครเลือกตั้งคนใดเป็นคนจากวรณะสูงเลย"[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ livemint (26 May 2018). "Mayawati says she will remain BSP president for next 20 years". livemint.com. สืบค้นเมื่อ 2018-05-26.
- ↑ "Ms. Mayawati said she would devote her life for the self-respect movement". The Hindu.
- ↑ "BSP appoints Munquad Ali as UP party chief, Danish Ali removed as leader in LS". India Today (ภาษาอังกฤษ). August 7, 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-08-08.
- ↑ "Bahujan Samaj Party". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 2019-10-11.
- ↑ Jaffrelot, Christophe (2003). India's Silent Revolution: The Rise of the Lower Castes in North India (ภาษาอังกฤษ). Hurst. ISBN 9781850653981.
- ↑ "The Contradictory Bahujan of the BSP – Countercurrents". Countercurrents (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-04-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-03-09.
- ↑ "The ground flanked by giant-sized cut-outs of BSP's icons -- Babasaheb Ambedkar, Shahuji Maharaj, Jyotiba Phule, Narain Guru, Periyar, and Mayawati herself".
- ↑ "Indian politics has undergone a tremendous change. Uttar Pradesh results the proof". The Economic Times. 2019-05-26. สืบค้นเมื่อ 2019-10-07.
- ↑ Bureau, Zee Media (2022-03-10). "UP Election Results: Landslide victory for BJP, SP distant 2nd; Congress, BSP decimated". Zee News. สืบค้นเมื่อ 2022-03-11.
- ↑ Mishra, Anant Shekhar (2014-04-20). "A tale of election symbols". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 2022-03-11.
- ↑ "BSP is not anti-upper caste: Mayawati". Hindustan Times (ภาษาอังกฤษ). 2008-11-26. สืบค้นเมื่อ 2019-05-19.