ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Toddie Aum/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี
ชื่อย่อทนช. / CTC
คติพจน์ทักษะเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม ล้ำเลิศวิชา
ประเภทรัฐบาล - วิทยาลัย
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สถาปนา22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 (85 ปี)
ผู้อำนวยการนายนิทัศน์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์
ที่ตั้ง
เลขที่ 207 ถนนบ้านบึง-แกลง
ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง
จังหวัดชลบุรี 20170
เว็บไซต์www.chontech.ac.th

วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี (อังกฤษ: Chonburi Technical College: CTC) เป็นวิทยาลัยในสังกัด สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มีที่ตั้งอยู่ที่ ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี โดยเปิดทำการเรียนการสอน 2 หลักสูตร คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

ประวัติวิทยาลัย

[แก้]

วิทยาลัยเทคนิคปัจจุบันมีเนื้อที่รวม 94 ไร่ ตั้งอยู่เลขที่ 207 หมู่ 3 ถนน บ้านบึง-แกลง ก.ม. 2 ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เดิมวิทยาลัยเทคนิคชลบุรี คือ "โรงเรียนช่างไม้ชลบุรี" ( 1 สิงหาคม 2482-2498 ) ต่อมา พ.ศ. 2499 ได้เปลี่ยน ชื่อเป็น "โรงเรียนการช่างชลบุรี"

พ.ศ. 2482 วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2482 นักเรียนต้องอาศัยโรงเรียนช่างทอผ้า หรือโรงเรียนการช่างสตรีเดิมเพราะอาคารเรียนยังสร้างไม่เสร็จ ศิษย์เก่ารุ่น 2482 มีจำนวน 37 คน รับนักเรียนที่จบประถมปีที่ 4 กำหนดเวลาเรียน 3 ปี มีนายประสาท มากทรัพย์ รักษาการครูใหญ่ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2482 สร้างอาคารเรียนหลังใหม่เสร็จ จึงย้ายไปเรียนที่โรงเรียนช่างไม้ชลบุรี สถานที่สร้างเช่าวัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) มีโรงฝึกงาน 2 หลัง บ้านพักครูใหญ่ 1 หลัง บ้านพักครูน้อย 2 หลัง บ้านพักภารโรง 1 หลัง

พ.ศ. 2501 โรงเรียนการช่างชลบุรีได้รับการเปลี่ยนฐานะอยู่ในโครงการ ส.ป.อ. และ เริ่มรับ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 3

พ.ศ. 2502 รัฐบาลให้งบประมาณสร้างอาคารเรียนยาว 54 เมตร 1 หลัง

พ.ศ. 2504 เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ 6 แผนก คือ ช่างเครื่องยนต์ดีเซล ช่างกลโรงงาน ช่างเชื่อมโลหะแผ่น ช่างไฟฟ้า ช่างวิทยุโทรคมนาคม ช่างก่อสร้าง แผนกต่าง ๆ ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการด้านเครื่องมือ เครื่องจักร ผู้เชี่ยวชาญ และให้ทุนครูไปฝึกงานต่างประเทศ ทำให้กิจการในการศึกษาของโรงเรียนเจริญขึ้นมาก

พ.ศ. 2510 โรงเรียนได้รับการพัฒนา 1 ใน 25 ในโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา ของกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตามแผนพัฒนา ประเทศ ฉบับที่ 2 (2510-2514) ซึ่งได้รับ งบประมาณเป็นค่าที่ดินสิ่งก่อสร้าง ค่าเครื่องมือ เครื่องจักร กับค่าครุภัณฑ์ เป็นเงิน 25 ล้านบาท และช่วงเป็นโรงเรียน การช่างชลบุรี ปักหน้าอกเสื้อ ชบ.5 ธงประจำสถานศึกษา น้ำเงิน-ขาว โดยย้ายจากที่ตั้งเดิม ซื้อที่ดินสร้างอาคารใหม่ที่ ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี จาก นายประโยชน์ เนื่องจำนงค์ จำนวน 40 ไร่ และได้บริจาคให้อีก 54 ไร่ รวมทั้งหมด 94 ไร่

พ.ศ. 2511 บริษัทจุนโซ ซากากุระ ให้ออกแบบสร้างอาคารต่าง ๆ ทั้งหมดและได้จัดส่งครูหัวหน้าโรงงานทั้ง 6 ช่าง ช่าง ละ 1 คนไปฝึกงานที่อเมริกาเป็นเวลา 1 ปี

พ.ศ. 2512 อาคารต่าง ๆ ของโรงเรียน เครื่องมือ เครื่องจักร ติดตั้งเสร็จเรียบร้อย

พ.ศ. 2513 ได้ย้ายไปตั้งที่ เลขที่ 205 หมู่ 3 ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี สายบ้านบึง-แกลง กิโลเมตรที่ 21 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2513 ได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนการช่างชลบุรี เป็น "โรงเรียนเทคนิคชลบุรี" ปักหน้าอกเสื้อ ทนช.

พ.ศ. 2518 ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชา (ปวช.) ภาคนอกเวลา

พ.ศ.2519 ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) เป็นต้นมาและโรงเรียนถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรีวิทยาเขต " ตามนโยบายกรมอาชีวศึกษา

เหตุการณ์การเปลี่ยนชื่อสมัยนั้นนักเรียน/นักศึกษามีบทบาทเรียกร้องให้เปลี่ยนเป็น วิทยาลัยและเปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี" ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2522 จนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2525 ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทียบเท่า (ปวท.)

วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี จัดการเรียนการสอนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส. จำนวน 12 สาขาวิชา และปริญญาตรีเทคโนโลยีสายปฏิบัติ จำนวน 1 สาขาวิชา มีนักเรียน นักศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 3,067 คน มีข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 180 คน

โรงเรียนการช่างชลบุรี

วิสัยทัศน์ พันธกิจ

[แก้]

วัตถุประสงค์ และปรัชญาของวิทยาลัย ฯ

วัตถุประสงค์ของวิทยาลัย คือการจัดการศึกษาเพื่อมุ่งให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถออกไปประกอบอาชีพได้ทั้งภาครัฐและเอกชน มีความเชื่อมั่นในตนเองในวิชาชีพ สามารถสร้างงานเพื่อประกอบอาชีพอิสระได้และมีพื้นฐานความรู้เพียงพอสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม โดยวิทยาลัยได้ยึดแนวปฏิบัติ ตามปรัชญาของวิทยาลัย คือ "ทักษะเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม ล้ำเลิศวิชา"

วิสัยทัศน์ของวิทยาลัย

เป็นองค์กรที่มุ่งมั่นจัดการเรียนการสอนด้านอุตสาหกรรม เพื่อผลิตกำลังคนตั้งแต่ระดับฝีมือ ระดับเทคนิค ให้มีคุณภาพตามาตรฐาน สากล สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ความต้องการของตลาดแรงงาน และการประกอบอาชีพอิสระ

พันธกิจของวิทยาลัย

1.  มุ่งเน้นให้นักเรียน นักศึกษา ได้ฝึกทักษะที่ถูกต้อง และมีความรู้คู่คุณธรรม มีบุคลิกที่ดีและเป็นคนดีของสังคม

2. สนับสนุนหลักสูตรนอกระบบ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ของผู้ที่ศึกษาอยู่ในระดับปวช. และ ปวส. โดยใช้หลักสูตรระยะสั้น / หลักสูตรเทียบโอน / สะสมหน่วยกิต / หลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพสำหรับเยาวชน ผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลายตลอดจนนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้

3.พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาและหรือผลิตกำลังคน ให้ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ

4. พัฒนาบุคลากรให้มีคุณธรรม จริยธรรมและความรู้ความสามารถที่เป็นเลิศทาง วิชาการที่ทันต่อความก้าวหน้าทาง อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

5. สนับสนุนบุคลากรให้มีการใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

6. สนับสนุน ครูให้มีความรู้ ความเข้าใจ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการทำสื่อและนวัตกรรมการสอน

หลักสูตร

[แก้]

หลักสูตรที่วิทยาลัยเทคนิคชลบุรีเปิดดำเนินการเรียนการสอน ได้แก่

หลักสูตรที่เปิดสอนในวิทยาลัยเทคนิคชลบุรี
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง

กลุ่มงาน

[แก้]

วิทยาลัยมีโครงสร้างการบริหารงานหลักสูตรผ่านฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้

  • ฝ่ายบริหารทรัพยากร
  • ฝ่ายวิชาการ
  • ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา
  • ฝ่ายแผนงาน และความร่วมมือ

ทรัพยากร

[แก้]
  • อาคารปฏิบัติการ จำนวน 6 อาคาร
  • บ้านพักข้าราชการและลูกจ้าง
  • โรงอาหาร จำนวน 1 หลัง

อ้างอิง

[แก้]

วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี