ผู้ใช้:Thanabordee/กระบะทราย
หน้าตา
จังหวัดภูเก็ต
[แก้]
ภูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในทะเลอันดามัน จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า "บูกิต" (ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) และคำว่า "ภูเขา" ในภาษาอุรักลาโว้ย เรียกว่า "บูเก๊ะ" หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม "เมืองถลาง"
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
[แก้]- ต้นไม้ประจำจังหวัด : ประดู่บ้าน (Pterocarpus indicus)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกเฟื่องฟ้า (Bougainvillea)
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด : หอยมุกจานหรือหอยมุกขอบทอง (Pinctada maxima)
ประวัติ
[แก้]ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์จังหวัดภูเก็ต เดิมคำว่าภูเก็ตนั้นสะกดว่า ภูเก็จ ซึ่งแปลได้ว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา (ภู) มีประกายแก้ว (เก็จ) เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณิครัม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ. 700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลมจังซีลอน หรือเกาะภูเก็ต (เกาะถลาง) นั่นเอง ต้องการอ้างอิง จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ อาณาจักรศรีวิชัย สืบต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราชเรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดา ชาวโปรตุเกส และชาวฝรั่งเศส ได้สร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต (ถลาง) ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล 3,000 คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็นจังหวัดภูเก็ต
ร่วมสมัย
[แก้]- วันที่ 23-30 มิถุนายน พ.ศ. 2529 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหลัง4เกิดเหตุจลาจลทั่วจังหวัดภูเก็ตเพื่อประท้วงคัดค้านโรงงานแทนทาลัมจนนำไปสู่การเผาโรงงานแทนทาลัม อันเป็นการเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไปสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างสิ้นเชิง
- วันที่ 10-24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร[5]
- วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เกิดเหตุเผาทำลายสถานีตำรวจภูธรถลางท่ามกลางการใช้ มาตรา 44 แทนกฎอัยการศึก[6]ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีผู้ต้องหาประมาณ 50 ราย[7]ทั้งหมดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายมาตรา 44 และพรบ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558[8]
รายนามผู้ว่าราชการจังหวัด
[แก้]รายนามเจ้าเมืองถลาง
[แก้]- พระยาถลาง ซาร์บอนโน สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- พระยาถลาง บิลลี สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- พระยาถลางจอมสุรินทร์ สมัยสมเด็จพระเพทราชา
- พระยาถลาง คางเซ้ง สมัยสมเด็จพระเพทราชา-สมเด็จพระเจ้าเสือ
- พระยาถลางจอมเฒ่า สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
- พระยาถลางจอมร้าง สมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ
- พระยาถลางอาด
- พระยาถลางชู 2312-2314
- พระยาสุรินทราชา (พิมลขัน) 2314-2325
- พระยาถลาง (ขัน) 2335-2328
- พระยาถลาง ทองพูน 2328-2332
- พระยาถลาง เทียน 2332-2352
- พระยาถลาง บุญคง 2352-2360
- พระยาถลาง เจิม 2360-2370
- พระยาถลาง ทอง 2370-2380
- พระยาถลาง ฤกษ์ 2380-2391
- พระยาถลาง ทับ 2391-2405
- พระยาถลาง คิน 2405-2412
- พระยาถลาง เกด 2412-2433
- พระยาถลาง หนู 2433-2437
รายนามเจ้าเมืองภูเก็ต
[แก้]- เจ้าภูเก็ต เทียน 2312-2332
- หลวงภูเก็ต ช้างคด 2332-ระยะเวลาพม่าเผาบ้านเมืองถลาง
- พระภูเก็ต นายศรีชายนายเวร ระยะเวลาพม่าเผาบ้านเมืองถลาง
- หลวงปลัด อุด ระยะเวลาพม่าเผาบ้านเมืองถลาง
- พระภูเก็ต แก้ว 2370-2405
- พระภูเก็ต ทัด 2405-2412
- พระยาภูเก็ต ลำดวน 2412-2433
รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
[แก้]- พระยาวิสูตรสาครดิฐ (สาย โชติกะเสถียร) ก่อน พ.ศ. 2450
- พระยาวิเศษสิงหนาท (ปิ๋ว บุนนาค) ก่อน พ.ศ. 2450
- พระยาประชากิจกรจักร (ชุบ โอสถานนท์) ก่อน พ.ศ. 2450
- พระยาณรงค์เรืองฤทธิ์ (อรุณ อมาตยกุล) ก่อน พ.ศ. 2450
- หม่อมเจ้าประดิพัทธเกษมศรี พ.ศ. 2450–2458
- พระยาทวีปธุระประศาสตร์ (ชุบ โอสถานนท์) พ.ศ. 2458–2461
- พระยากรุงศรีสวัสดิการ (จำรัส สวัสดิชูโต) พ.ศ. 2461–2465
- พระยานครราชเสนี (สหัส สิงหเสนี) พ.ศ. 2465–2471
- พระศรีสุทัศน์ (ม.ล.อนุจิตร สุทัศน์) พ.ศ. 2471–2472
- พระยาอมรศักดิ์ประสิทธิ์ (ทนง บุนนาค) พ.ศ. 2472–2476
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา พ.ศ. 2476–2476
- พระยาสุริยเดชรณชิต พ.ศ. 2476–2478
- พระยาศิริชัยบุรินทร์ (เบี๋ยน) พ.ศ. 2478–2479
- พระยาอุดรธานีศรีโชมสาครเชตร พ.ศ. 2479–2480
- หลวงเธียรประสิทธิสาร (ร.อ.มงคล เธียรประสิทธิ์) พ.ศ. 2480–2486
- หลวงอังคณานุรักษ์ (ร.อ.ถวิล เทพาคำ) พ.ศ. 2486–2489
- ขุนภักดีดำรงค์ฤทธิ์ (.....เกษีพันธ์) พ.ศ. 2489–2492
- นายอุดม บุณยประสพ พ.ศ. 2492–2494
- นายมาลัย หุวะนันทน์ พ.ศ. 2494–2495
- ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุญยนิตย์) พ.ศ. 2495–2497
- นายมงคล สุภาพงษ์ พ.ศ. 2497–2500
- นายเฉลิม ยูปานนท์ พ.ศ. 2500–2501
- ขุนวรคุตต์คณารักษ์ พ.ศ. 2501–2501
- นายอ้วน สุระกุล พ.ศ. 2501–2511
- นายกำจัด ผาติสุวัณณ พ.ศ. 2511–2512
- นายสุนัย ราชภัณฑารักษ์ พ.ศ. 2512–2518
- นายศรีพงศ์ สระวาลี พ.ศ. 2518–2521
- นายเสน่ห์ วัฑฒนาธร พ.ศ. 2521–2523
- นายมานิต วัลยะเพ็ขร์ พ.ศ. 2523–2528
- นายสนอง รอดโพธิ์ทอง พ.ศ. 2528–2529
- นายกาจ รักษ์มณี พ.ศ. 2529–2530
- นายเฉลิม พรหมเลิศ พ.ศ. 2530–2534
- นายยุวัฒน์ วุฒิเมธี พ.ศ. 2534–2536
- นายสุดจิต นิมิตกุล พ.ศ. 2536–2539
- นายจำนง เฉลิมฉ้ตร พ.ศ. 2539–2541
- นายเจด็จ อินสว่าง พ.ศ. 2541–2542
- นายชาญชัย สุนทรมัฎฐ์ พ.ศ. 2542–2543
- นายพงศ์โพยม วาศภูติ พ.ศ. 2543–2546
- นายอุดมศักดิ์ อัศวรางกูร พ.ศ. 2546–2549
- นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร พ.ศ. 2549–2551
- นายปรีชา เรืองจันทร์ พ.ศ. 2551–2552
- นายวิชัย ไพรสงบ พ.ศ. 2552–2553
- นายตรี อัครเดชา พ.ศ. 2553–2555
- นายไมตรี อินทุสุต พ.ศ. 2555–2557
- นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ พ.ศ. 2557–2558
- นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา พ.ศ. 2558–2559
- นายโชคชัย เดชอมรธัญ พ.ศ. 2559–2560
- นายนรภัทร ปลอดทอง พ.ศ. 2560–ปัจจุบัน
หน่วยการปกครอง
[แก้]การปกครองแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 17 ตำบล 104 หมู่บ้าน
ประชากร
[แก้]ชาวเลเป็นชาวกลุ่มแรก ๆ ที่มาอาศัยอยู่บนเกาะภูเก็ต จากนั้นมาจึงกลุ่มชนอื่น ๆ อพยพตามมาอีกจำนวนมาก ทั้งชาวจีน ชาวไทย ชาวมาเลเซีย ฯลฯ จนมีวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเองสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นสีสันอย่างหนึ่งของภูเก็ต ตามบันทึกของฟรานซิส ไลต์ กล่าวถึงชาวภูเก็ตว่าเป็นพวกผสมผสานกันทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมกับชาวมลายู โดยเฉพาะคนไทยจำนวนมากในสมัยนั้นทำตัวเป็นพุทธศาสนิกชน สักการะพระพุทธรูป ขณะที่กัปตันทอมัส ฟอร์เรสต์ ชาวอังกฤษที่เดินเรือมายังภูเก็ต ใน พ.ศ. 2327 ได้รายงานว่า "ชาวเกาะแจนซีลอนพูดภาษาไทย ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจภาษามลายู พวกเขามีลักษณะหน้าตาคล้ายกับชาวมลายู ท่าทางคล้ายชาวจีนมาก" ปัจจุบันชาวภูเก็ตส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวจีนช่องแคบ ชาวจีนกวางตุ้ง ฯลฯ รวมไปถึงชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม แถบอำเภอถลาง โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมมีจำนวนถึงร้อยละ 20-36 ของประชากรในภูเก็ต มีมัสยิดแถบอำเภอถลางราว 30 แห่งจาก 42 แห่งทั่วจังหวัด มีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล กลุ่มอูรักลาโว้ยและพวกมอแกน (มาซิง) ซึ่งมอแกนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ มอเกนปูเลา (Moken Pulau) และ มอเกนตาหมับ (Moken Tamub) และยังมีชนกลุ่มต่างชาติอย่างชาวยุโรปที่เข้าลงทุนในภูเก็ต รวมไปถึงชาวอินเดีย มีชาวคริสต์ในภูเก็ตราว 300 คน ชาวสิกข์ที่มีอยู่ราว 200 คน และชาวฮินดูราว 100 คน และแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ลาว และเขมรราวหมื่นคน ประชากรส่วนใหญ่ในภูเก็ตนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 73, ศาสนาอิสลามร้อยละ 25, ศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ร้อยละ 2[10]
สถานที่สำคัญ
[แก้]- ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เป็นศาลากลางที่มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ทั้งยังเป็นโบราณสถานที่ยังใช้การอยู่จนกระทั่งปัจจุบันอีกด้วย
- วัดฉลอง (ปัจจุบันชื่อ วัดไชยธาราราม) พ.ศ. 2419 ศิษย์พ่อท่านแช่มต่อสู้กับอั้งยี่
- วัดพระนางสร้าง มีลายแทง "พิกุลสองสารภีดีสมอแดงจำปาจำปีตะแคง..." พระพุทธรูปดีบุกที่เก่าแก่ที่สุด ตำนานพระนางเลือดขาว
- อนุสาวรีย์ ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2509
- เกาะสิเหร่ มีชาวเลกลุ่มอูรักลาโว้ย (ชาวไทยใหม่) รองเง็งคณะแม่จิ้ว ประโมงกิจ เป็นแม่เพลงอันดามัน หรือราชินีรองเง็งแห่งอันดามัน มีพระพุทธไสยาสน์ บนยอดเขา วัดบ้านเกาะสิเหร่ เกาะสิเหร่ แต่เดิมชาวอุรักลาโว้ย เรียกว่า "ปูเลา ซิเระห์" แปลว่า "เกาะพลู" ภายหลังจึงเพี้ยนไปเป็น "เกาะสิเหร่" ตามสำเนียงคนไทยเรียก
- ศาลเจ้ากะทู้ (อ๊ามในทู) เป็นที่แรก ที่เริ่มประเพณีถือศิลกินผัก (เจี๊ยะฉ่าย)
- ศาลเจ้าบางเหนียว ศาลเจ้าใกล้บริเวณท่าเรือที่ชาวต่างชาติรับส่งสินค้ามีอายุเก่าแก่กว่าร้อยปี
- ศาลเจ้าแสงธรรม หรืออ๊ามเตงก่องต๋อง ศาลเจ้าเก่าแก่แห่งหนึ่งของภูเก็ตมีสถาปัตยกรรมที่งดงามมาก เป็นศาลเจ้าประจำตระกูลตัน
- ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ หรือฮกเล่งเก้ง เป็นที่ประดิษฐานองค์พระโป๊เซ้งไต่เต่ องค์พระประธานของศาลเจ้า
- ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย หรือ จุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง หรือ คนภูเก็ตเรียกว่า อ๊ามจุ๊ยตุ๋ย
- (เป็นศาลเจ้าที่มีคนร่วมงานประเพณีถือศิลกินผักมากที่สุดในจังหวัด)
- วัดพระทอง
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง มีเทวประธานคือพระวิษณุ จดหมายเหตุท้าวเทพกระษัตรี หง่อก่ากี่ ชาวเล
- ย่านเมืองเก่าภูเก็ต (สถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส) ถนนถลาง ถนนดีบุก ถนนพังงา ถนนกระบี่ ถนนภูเก็ต ถนนรัษฎา ถนนระนอง ถนนเยาวราช ถนนเทพกระษัตรี ถนนสตูล ซอยรมณีย์ และตรอกสุ่นอุทิศ
- พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต เดิมใช้ชื่อว่าพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ ใน อังมอเหลามีเหมืองจำลองเหมืองแล่น เหมืองรู เหมืองหาบ เหมืองฉีด เหมือง เรือขุด; โลหะดีบุก เพชรภูเก็จ เพชรพังงา แทนทาลัม วิถีชีวิตชาวกะทู้; ภายนอกมีรางเหมืองแร่ (เหมืองสูบ-ฉีด) ขนาดใหญ่ไว้สาธิตการได้แร่ดีบุกของนายหัวเหมือง
- สนามบินนานาชาติภูเก็ต อยู่ติดชายทะเลระหว่างหาดในยางและหาดไม้ขาว
- อนุสรณ์สถานเมืองถลาง อยู่ในสมรภูมิเมืองถลาง พ.ศ. 2328 ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง พื้นที่ ๙๖ ไร่ ก่อนการพัฒนาเป็นทุ่งนาหลวง มีคลองเสน่ห์โพไหลผ่านไปบรรจบกับคลองบางใหญ่ซึ่งไหลมาจากเทือกเขาพระแทวไปออกทะเลที่อู่ตะเภา ทะเลพัง เคยเป็นที่จอดเรือรบของยี่หวุ่น แม่ทัพเรือพม่าเมื่อ พ.ศ. 2328
- ฮ่ายเหลงอ๋อง พญามังกร ณ ลานเฉลิมพระเกียรติฯ 72 พรรษา มหาราชินี (อยู่ติดกับสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูเก็ต)