ผู้ใช้:Skytimeddtv/ทดลองเขียน
สุรชัย คัมภีรญาณนนท์ (แต้จิ๋ว : สุ้นไซ้ แซ่ลิ้ม 林) หรือ วินเซนต์ เฟรเดอริค วราห์ (อังกฤษ : Vincent Frederic Varah) [1] อดีตนายกเทศมนตรีเมืองชลบุรี ผู้เป็นที่มาของชื่อ ถนนสุรชัย ในจังหวัดชลบุรีสุรชัย คัมภีรญาณนนท์ข้อมูลส่วนบุคคล เกิด 19 มีนาคม พ.ศ. 2436
จังหวัดชลบุรี ประเทศสยามเสียชีวิต 8 กันยายน พ.ศ. 2533
(97 ปี 5 เดือน 20 วัน)
จังหวัดชลบุรี ประเทศไทยคู่สมรส ทรัพย์
เทียน (สกุลเดิม แซ่ตั้ง 陈)
สมบูรณ์ (สกุลเดิม แซ่ลิ้ม 林)บุตร อุดม คัมภีรญาณนนท์
สำรอง คัมภีรญาณนนท์
พญ.สำเนียง เศรษฐจันทร
ชโย คัมภีรญาณนนท์
โฆษิต คัมภีรญาณนนท์
นิธิ์ศรี ญาดี
พล.อ.อ.ธีร์ศิลป์ คัมภีรญาณนนท์
นินนาท คัมภีรญาณนนท์
ภญ.ผศ.คุณหญิงทัดทรง ทั่วทิพย์ (ญ.)
โองการ คัมภีรญาณนนท์บุพการี - ฮวด (สกุลเดิม แซ่ลิ้ม 林) (บิดา)
- ชม (มารดา)
ประวัติ
[แก้]สุรชัย เกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2436 ที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรคนที่ 2 และเป็นบุตรชายคนโตของ กำนันฮวด (สกุลเดิม แซ่ลิ้ม 林) ตำบลมาบไผ่ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เกิดกับภรรยาชื่อ ชม
กำนันฮวด (สกุลเดิม แซ่ลิ้ม 林) บิดาของสุรชัยเป็นคนจีนเชื้อสายแต้จิ๋วที่มาตั้งรกรากในประเทศไทย มีที่ดินนับหมื่นไร่ [2] มีโรงสี โรงหีบ และทำการค้าขายพืชผลการเกษตร ด้านครอบครัว กำนันฮวดมีภรรยาและบุตรหลายคน บุตรต่างมีสายสัมพันธ์และได้แตกขยายออกไปใช้หลายนามสกุล เช่น กาญจนานันท์ สิงโตทอง เนื่องจำนงค์ ฯลฯ กำนันฮวดเป็นผู้กว้างขวางมีเจ้านายและแขกผู้ใหญ่แวะเยี่ยมเยียนเสมอ มีความสนิทสนมกับเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) ซึ่งนำม้ามาฝากเลี้ยงที่ไร่ บุตรหลานเมื่อเข้ามาที่กรุงเทพฯ จะพำนักที่วังบ้านหม้อของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์เสมอ กำนันฮวดเป็นผู้ทำนุบำรุงศาสนาพุทธ และเป็นศรัทธาหลักของพระวรคุณญาณมุณี (แก้ว) วัดเครือวัลย์ บางปลาสร้อย จังหวัดชลบุรี ปรากฏหลักฐานอยู่ที่ประตูฮวด - เหม ปากทางเข้าวัดเครือวัลย์ [3]
สุรชัย มีภริยา 3 คน มีบุตรธิดา รวม 10 คน ดังนี้
- ทรัพย์ ได้เป็นภริยาระหว่างพำนักอยู่วังบ้านหม้อของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ มีบุตร 1 คน คือ
- อุดม คัมภีรญาณนนท์ มีบุตรธิดา 10 คน ได้แก่ อำพันธ์ (ญ.) , อดุลย์ , พนอจิตร (ญ.) , พนิดา (ญ.) , พูนศรี (ญ.) , สมบัติ , พูนสุข (ญ.) , พรทิพย์ (ญ.) , พรเพ็ญ (ญ.) , พรยุพา (ญ.)
- เทียน (สกุลเดิม แซ่ตั้ง 陈) (แม่ใหญ่ เป็นภริยาเอก) เป็นผู้ให้การอุปถัมภ์ พระเทพรัตนดิลก (วิจิตร จิตตทันโต) เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา (ธรรมยุต) และเจ้าอาวาสวัดศาลาลอย [4][5] มีบุตรธิดา 2 คน คือ
- สำรอง คัมภีรญาณนนท์ สมรสกับ ศิริพร เจริญผล (ญ.) [6] เป็นพี่สาวของ น.ท.ดร.สว่าง เจริญผล ร.น. อดีตอธิบดีกรมประมง [7] มีบุตรธิดา 2 คน ได้แก่ สุรพันธ์ , มัณฑนา พานิช (ญ.)
- พญ.สำเนียง เศรษฐจันทร (ญ.) อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลนครราชสีมา สมรสกับ นพ.น่วม เศรษฐจันทร อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์พิเศษผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา [8][9][10] มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่ ร.ต.ท.กุลธร , นพ.ธานี , พล.ท.ดร.ธนา
- สมบูรณ์ (สกุลเดิม แซ่ลิ้ม 林) (แม่เล็ก เป็นภริยารอง) มีบุตรธิดา 7 คน คือ
- ชโย คัมภีรญาณนนท์ สมรสกับ กาญจนา โกศลวรรษ (ญ.) มีบุตรธิดา 2 คน ได้แก่ วรรษ , หฤษฎ์
- โฆษิต คัมภีรญาณนนท์ สมรสกับ ชื่นสุข เล็กคง (ญ.) มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่ ร.ท.เลิศพงศ์ , นลินรัตน์ (ญ.) , กิติฉันท์
- นิธิ์ศรี ญาดี (ญ.) สมรสกับ นพ.บุญเหลือ ญาดี อดีตประธานคณะกรรมการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และรองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา [11] มีบุตรธิดา 1 คน ได้แก่ เบลล่า (ญ.)
- พล.อ.อ.ธีร์ศิลป์ คัมภีรญาณนนท์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและสมาชิกวุฒิสภา สมรสกับ สุธีรา ธรรมพิทักษ์ (ญ.) มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่ น.อ.(พิเศษ) คัมภีร์ , ศักย์ศรณ์ , ธริชยา (ญ.)
- ดร.นินนาท คัมภีรญาณนนท์ สมรสกับ รศ.ดร.มาลินี ปริพนธ์พจน์พิสุทธิ์ (ญ.) มีบุตรธิดา 2 คน ได้แก่ นพนท , อพชยา โกยศิริพงศ์ (ญ.)
- ภญ.ผศ.คุณหญิงทัดทรง ทั่วทิพย์ (ญ.) [12] สมรสกับ พล.อ.อ.สนั่น ทั่วทิพย์ อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศและสมาชิกวุฒิสภา มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่ สินิทธ์ เริ่มมนตรี (ญ.) , นัทนีย์ (ญ.) , สิโนท
- โองการ คัมภีรญาณนนท์ สมรสกับ มณีรัตน์ เฉลิมสีมา (ญ.) มีบุตรธิดา 2 คน ได้แก่ โสมนันท์ วงสกด (ญ.) , กฤตนัย
สุรชัย ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2533 สิริอายุ 97 ปี 5 เดือน 20 วัน อัฐิบรรจุอยู่ใน กุฎีคัมภีรญาณนนท์ วัดเขาบางทราย พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
การศึกษา
[แก้]- ปี พ.ศ. 2446 เมื่ออายุ 10 ปี บิดาได้ส่งให้ไปเรียนหนังสือกับพระวินัยธรรม (เภา โสภิโต) ที่วัดเขาบางทราย พระอารามหลวง และได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนบรรพตวิทยาคม หรือ โรงเรียนวัดเขาบางทราย[13] จนสำเร็จชั้น ป.4 โดยสอบไล่ได้ที่วัดกำแพง สุรชัยได้เริ่มเรียนภาษาอังกฤษ ที่วัดกันมาตุยาราม กรุงเทพฯ ตามคำแนะนำของขุนบำราประบิน (เรียง) [14] ในปี พ.ศ. 2450
- ปี พ.ศ. 2451 บิดาได้ให้ไปอยู่กับพระยาเทเวศน์วรวงศ์วิวัฒน์ (ม.ล.วราห์) บุตรของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ที่วังบ้านหม้อและได้เข้าเป็นนักเรียนประจำโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก โดยมีเพื่อนสนิทคือ หลวงวัยวุฒิปรีชา (ม.ล.ไวยวัฒน์) บุตรอีกคนหนึ่งของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์
- ปี พ.ศ. 2454 ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสิงคโปร์ พร้อมกับ หลวงวัยวุฒิปรีชา (ม.ล.ไวยวัฒน์) และ หลวงสิทธิสุรชัย (เติม) [15] เดินทางโดยเรือกลไฟชื่อ นวนตุง ( Nuan Tung) ซึ่งกัปตันฮินจ์ ชาวเยอรมัน เพื่อนของพระยาเทเวศน์วรวงศ์วิวัฒน์ (ม.ล.วราห๋) เป็นผู้กำกับเรือ สุรชัยได้พำนักอยู่ที่บ้านพักเซนต์แอนดรู (St. Andrew’s Boarding House) ซึ่งเป็นบ้านพักของนักเรียนคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ จึงจำเป็นต้องมีชื่อทางคริสต์ศาสนา ขณะนั้นคนไทยยังไม่มีการใช้นามสกุล [16] จึงสมมติขึ้นโดยนำชื่อ “วราห์” ชื่อเดิมของพระยาเทเวศน์วรวงศ์วิวัฒน์ (ม.ล.วราห์) เป็นนามสกุล และมีชื่อทางคริสต์ศาสนา ว่า "Vincent Frederic Varah (วินเซนต์ เฟรเดอริก วราห์)" ในปีนั้น สุรชัยได้เข้าศึกษา ณ โรงเรียนอูทรัมโรด (Outram Road School) ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาล โดยเริ่มเรียนภาษาอังกฤษชั้น 3 ได้รับหนังสือ The Battles of the British Army เป็นรางวัลในการเรียนดี และในปี พ.ศ. 2455 ขึ้นเรียนชั้น 4 ได้รับหนังสือ The Three Admirals เป็นรางวัลในการเรียนดี
- ปี พ.ศ. 2456 ได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนแรฟเฟิลส์ (Raffles Institute) ซึ่งเป็นสถานศึกษาขั้นสูงของรัฐบาล โดยเข้าเรียนวิชาสามัญชั้น 5 เมื่อขึ้นเรียนชั้น 6 สามารถสอบเทอมต้นและได้ผ่านขึ้นเรียนชั้น 7 ทันที สุรชัยจบได้ Government Standard VII Certificate ในปี พ.ศ. 2457
- ปี พ.ศ. 2458 ได้ศึกษาต่อในโรงเรียนแรฟเฟิลส์ ในสาขา Commerce ขณะนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และได้ส่งผลคุกคามมาถึงประเทศสิงคโปร์ สุรชัยได้ถูกสั่งให้อพยพไปอยู่ในเรือรบใหญ่ ลอยลำอยู่กลางทะเล พร้อมเด็กนักเรียนและคนชรา ด้วยอาหารและน้ำดื่มที่มีจำกัด สุรชัย และ หลวงวัยวุฒิปรีชา (ม.ล.ไวยวัฒน์) พร้อมเพื่อน ได้ขึ้นจากเรือรบใหญ่ มาพักอาศัยอยู่ที่บ้านนายวัฒนา สิงหโกวินท์ เมื่อกลับมาที่บ้านพักเซนต์แอนดรู (St. Andrew’s Boarding House) ได้ทราบข่าวว่ายายป่วยหนัก จึงได้ขอลากลับประเทศไทย
บทบาททางสังคม
[แก้]ด้านการศาสนา
[แก้]ปี พ.ศ. 2458 สุรชัยได้อุปสมบท ณ วัดเขาบางทราย ตามคำร้องขอของผู้เป็นยายและพระวินัยธรรม (เภา โสภิโต) วัดเขาบางทราย ด้วยเกรงจะไปนับถือศาสนาอื่น โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ขณะยังเป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ถือเป็นสัทธิวิหาริก ลำดับที่ 390 โดยได้รับฉายาว่า “คมฺภีราโณ”
สุรชัยได้อุปสมบท เป็นระยะเวลา 5 เดือน ระหว่างบวชได้พยายามศึกษาพระพุทธศาสนา จนมีความรู้สอบได้ในวินัยบัญญัติธรรมวิภาค และพุทธานุพุทธประวัติ เมื่อมีเวลาว่าง พระเขมทัสสีชลธีสมานคุณ (เอี่ยม เมฆิโย) เจ้าอาวาสวัดเขาบางทราย[17][18] ได้ขอให้ช่วยสอนภาษาอังกฤษแก่นักเรียนวัดเขาบางทราย ในจำนวนศิษย์ที่สอน มีนายแพทย์ สง่า วิชพันธ์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลชลบุรี [19] รวมอยู่ด้วย
ด้านธุรกิจ
[แก้]ปี พ.ศ. 2461 สุรชัยได้สมรสกับเทียน ภริยาคนที่ 2 ที่บ้านตลาดพนัสนิคม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี และได้เริ่มกิจการค้าขายที่ท่าแม่น้ำบางปะกง ตลาดท่าตะกูด อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เป็นเวลา 3 เดือน ก่อนย้ายมาค้าขายที่ตลาดบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยใช้ชื่อร้าน “คัมภีรญาณ” ตามฉายาที่ได้รับจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ต่อมาเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น จึงได้ขยายกิจการโดยค้าขายทุกอย่างตั้งแต่อาวุธปืน เครื่องชั่งตวง จักรเย็บผ้า น้ำตาล (รับมาจากโรงหีบของกำนันฮวด) และเครื่องสังฆทาน
ด้านการเมือง
[แก้]สุรชัยได้เริ่มเข้าสู่การเมืองของเมืองชลบุรี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2473 ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองของเมืองชลบุรี จากช่วงที่ 2 (หลัง พ.ศ. 2440 - 2475) มาเป็นช่วงที่ 3 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน) ดังนี้ [20][21]
- ปี พ.ศ. 2473 เมื่ออายุ 37 ปี ได้รับการแต่งตั้งจากพระยาพิพิธอำพลวิมลราชภักดี เจ้าเมืองชลบุรี ให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จนถึงปี พ.ศ. 2478 ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านได้ถูกยุบเลิก เพราะมีการยกฐานะตำบลบางปลาสร้อย ตำบลมะขามหย่ง และตำบลบ้านโขกขึ้นเป็นเทศบาลเมืองชลบุรี
- ปี พ.ศ. 2478 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเทศมนตรีเมืองชลบุรี ในสมัยเริ่มแรก โดยมีหลวงธำรงธุระราษฎร์ เป็นนายกเทศมนตรี จนถึงปี พ.ศ. 2479 ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบจากการแต่งตั้งเป็นการเลือกตั้ง
- ปี พ.ศ. 2479 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองชลบุรี และได้รับเลือกจากสภาเทศบาลให้เป็นเทศมนตรีอีกครั้ง โดยมีหลวงบำรุงราชนิยม (สูญ สิงคาลวณิช) เป็นนายกเทศมนตรี โดยสุรชัยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองชลบุรีตั้งแต่สมัยเริ่มแรกและสมัยต่อมาอีกหลายสมัย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2494 เมื่ออายุ 58 ปี จึงได้รับเลือกให้เป็นนายกเทศมนตรีเมืองชลบุรี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สุรชยานุสรณ์ , พ.ย.2534, พิมพ์เนื่องในโอกาสบำเพ็ญกุศลสตมวารอุทิศ
- ↑ ค่ายนรกประเทศไทย หลงจู๊ ในพื้นที่ชลบุรี คือชาวจีนที่อพยพมาจากประเทศจีน ทำมาหากินจนเป็นผู้ที่มีที่ดินเยอะ มีอิทธิพล และค่อนข้างจะมีฐานะ บางหลงจู๊มีที่ดินหลักร้อยไร่ บางหลงจู๊มีที่ดินหลักพันถึงหมื่นไร่ ตามอิทธิพลที่มี
- ↑ ประตูฮวด - เหม คือกำนันฮวด และภริยาชื่อเหม
- ↑ "ประวัติพระเทพรัตนดิลก เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-31. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
- ↑ พระเทพรัตนดิลก (วิจิตร จิตตทันโต ป.ธ.5)
- ↑ รายนามผู้บริจาคก่อสร้างตึก สก. รายละหกแสนบาท ลำดับที่ 127
- ↑ คุณแหน : 21 พฤศจิกายน 2558
- ↑ โครงสร้างและการดำเนินงานขององค์การเภสัชกรรม
- ↑ ทำเนียบผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
- ↑ โคราชในอดีต
- ↑ รายงานการวิจัยปอดอักเสบในผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
- ↑ ประวัติโรงเรียนชลบุรี “สุขบท”
- ↑ ขณะนั้นเป็น พระสมุห์ เรียง ได้รับพระราชทานนามสกุล วัจนะประพันธ์ จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ↑ [1] รองหุ้มแพร หลวงสิทธิสุรชัย (เติม) นายเวร กรมบัญชาการพระอัศวราช ได้รับพระราชทานนามสกุล วรคุตตานนท์ จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ↑ เดิมทีคนไทยไม่ได้มีนามสกุลจะมีเพียงชื่อเรียกเท่านั้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้มีการตั้งนามสกุลเหมือนกับประเทศอื่นๆ โดยให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456
- ↑ พระเขมทัสสี (เอี่ยม เมฆิโย)
- ↑ พระเขมทัสสีชลธีสมานคุณ (เอี่ยม เมฆิโย) หลวงปู่เอี่ยม วัดเขาบางทราย ชลบุรี
- ↑ ประวัติโรงพยาบาลชลบุรี
- ↑ ประวัติจังหวัดชลบุรีและเหตุการณ์สำคัญ
- ↑ ในยุครัตนโกสินทร์ เมืองชลบุรีมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง 3 ช่วง ช่วงแรก (ก่อน พ.ศ. 2440 หรือ ร.ศ.115) ช่วงนี้จังหวัดชลบุรียังไม่เกิด แต่ได้มีเมืองต่างๆ ในพื้นที่เกิดขึ้นแล้ว คือ เมืองพนัสนิคม เมืองบางปลาสร้อย และเมืองบางละมุง , ช่วงสอง (หลัง พ.ศ. 2440 - 2475) ขณะนั้นคำว่าจังหวัดมีใช้แห่งเดียวในราชอาณาจักร คือ จังหวัดกรุงเทพมหานคร เข้าใจว่าคำว่า เมืองชลบุรีมีชื่อเรียกในช่วงนี้ โดยมีอำเภอเมืองบางปลาสร้อย (ที่ตั้งตัวเมือง) อำเภอพานทอง อำเภอบางละมุง อำเภอพนัสนิคม อยู่ในเขตการปกครองในระยะต้น และในระยะหลังปี 2460 มีอำเภอศรีราชา ฯลฯ เกิดขึ้นรวมอยู่ในเขตเมืองชลบุรีตามมา , ช่วงสาม (ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน) มีการเปลี่ยนแปลงในรูปการปกครองประเทศครั้งใหญ่ โดยพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกเขตการปกครองแบบเมืองทั่วราชอาณาจักร แล้วตั้งขึ้นเป็นจังหวัดแทน มีข้าหลวงประจำจังหวัด เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชา เมืองชลบุรีจึงเป็น จังหวัดชลบุรี (แต่เปลี่ยนข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด)
นี่คือหน้าทดลองเขียนของ Skytimeddtv หน้าทดลองเขียนเป็นหน้าย่อยของหน้าผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้มีไว้ทดลองเขียนหรือไว้พัฒนาหน้าต่าง ๆ แต่นี่ไม่ใช่หน้าบทความสารานุกรม ทดลองเขียนได้ที่นี่ หน้าทดลองเขียนอื่น ๆ: หน้าทดลองเขียนหลัก |
'