ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:สุไฮลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
         ปัตตานี เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันออก ของภาคใต้สุดติดกับทะเลจีนใต้ หรืออ่าวไทยมีพื้นที่ประมาณ 2,052 ตร.กม. 

และเป็นจังหวัดที่มี ขนาดเล็กเป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ รองลงมาจากจังหวัดภูเก็ต ภูเขาที่สำคัญได้แก่ ภูเขาทรายขาว ซึ่งอยู่ในเทือกเขาสันกาลาคีรี มีแม่น้ำที่สำคัญ 2 สาย คือแม่น้ำตานี และแม่น้ำสายบุรี ภูมิอากาศอบอุ่นตลอดปี ฤดูกาลมี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝนโดยฝนจะตกชุกระหว่างเดือน ธันวาคม-มกราคม

          ในอดีตจังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก เป็นเมืองเก่าแก่ที่ยิ่งใหญ่ เคยมีฐานะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรลังกาสุกะ 

ซึ่งเป็นรัฐอิสระของชาวไทยพุทธในพุทธศตวรรษที่ 7 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กลันตัน และตรังกานูในมาเลเซีย

           ปัจจุบันยังมี ซากเมืองเก่า ของปัตตานีในยุคนั้นปรากฏให้เห็นที่ อำเภอยะรังในปัจจุบัน และจากการที่มีพื้นที่เป็นป่าเขา 

และมีพื้นที่ติด ชายฝั่งทะเลเป็นระยะทางยาวประมาณ 170 กิโลเมตรจึงเป็นเมืองท่าที่สำคัญ และเป็นศูนย์กลางการ ปกครอง การค้า และวัฒนธรรมมีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวหลายด้าน ทั้งด้านธรรมชาติ โบราณสถาน ทางประวัติศาสตร์และด้านประเพณีวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในจังหวัดปัตตานี -สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศาสนา

        -ศาลหลักเมือง    เป็นศาสนสถานที่เป็นผลจากความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ แม้ว่าปัตตานีในปัจจุบันไม่มีผู้นับถือศาสนาพราหมณ์โดยตรง แต่ด้วยความเชื่อ 

และประเพณีบางอย่างที่ยังเกี่ยวข้องกับพิธีพราหมณ์ จึงได้มีการก่อสร้างศาลหลักเมืองปัตตานีขึ้น เพื่อเป็นหลักของบ้านเมืองเป็นสิริมงคลให้มีแต่ความสุข ความเจริญ

ศาลหลักเมืองประดิษฐานอยู่ในบริเวณสนามศักดิ์เสนีย์ ริมฝั่งซ้ายของ แม่น้ำปัตตานี ติดกับโรงเรียนเบญจมราชูทิศจังหวัดปัตตานี สร้างเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2494 

สมัยพระยารัตนภักดีเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดและนายพร้อม ชูแข เป็นนายอำเภอเมืองปัตตานี

     -มัสยิดกรือเซะ  ตั้งอยู่ริมถนนสายปัตตานี-นราธิวาสหรือทางหลวงแผ่นดินสาย 42 บริเวณบ้านกรือเซะ ห่างจากตัวเมืองปัตตานีประมาณ 7 กิโลเมตร 

ลักษณะการก่อสร้างมัสยิดแห่งนี้เป็นแบบเสากลมก่ออิฐปูนแบบศิลปะทางตะวันออกกลาง ส่วนที่สำคัญที่สุดคือหลังคาโดมซึ่งยังสร้างไม่แล้วเสร็จมัสยิดเก่าแห่งนี้ มีตำนานเล่าว่าเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวสาปแช่งไว้ไม่ให้สร้างเสร็จ บริเวณใกล้เคียงนั้นมีฮวงซุ้ยหรือที่ฝังศพเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวมัสยิดแห่งนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.21212136)

       -มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี    ตั้งอยู่ที่ถนนยะรัง เส้นทางยะรัง-ปัตตานี ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2497 ใช้เวลาดำเนินการสร้างประมาณ 9 ปี 

และทำพิธีเปิดโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก มีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาลของอินเดีย ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้าง บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้างภายในห้องโถงด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ

      -เมืองโบราณยะรัง  เป็นชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทยและเชื่อว่าเป็นที่ตั้งอาณาจักรโบราณที่มีชื่อว่า ลังกาสุกะ หรือ ลังยาเสียว 

ตามที่มีหลักฐานปรากฎในเอกสารของจีน ชวา มลายู และอาหรับ ลักษณะของเมืองโบราณยะรัง สันนิษฐานว่า มีผังเมืองเป็นรูปวงรีขนาดใหญ่ในพื้นที่ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองที่มีการสร้างทับซ้อนกันถึง 3 เมือง ขยายตัวเชื่อมต่อกัน ประกอบไปด้วย

         - เมืองโบราณบ้านวัด มีศูนย์กลางเป็นลานจัตุรัสกลางเมือง ล้อมรอบด้วยคูน้ำและมีซากเนินดินโบราณสถานกระจายอยู่โดยรอบกว่า 25 แห่ง 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางทิศตะวันตกและทางทิศเหนือในบริเวณพื้นที่บ้านจาเละ

           - เมืองโบราณบ้านจาเละ มีศูนย์กลางอยู่ที่สระน้ำ โอบล้อมด้วยคูเมืองรูปสี่เหลี่ยมถัดจากกลุ่มโบราณสถานบ้านวัดขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร
            - เมืองโบราณบ้านปราแว เป็นเมืองคูน้ำ คันดินขนาดเล็กที่มีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่ามีป้อมดินทั้ง 4 มุมเมือง และมีคลองส่งน้ำต่อเชื่อมกับคูเมืองโบราณบ้านจาเละสี่มุมเมืองด้านทิศเหนือทั้ง 2 ด้าน

นอกจากร่องรอยของคูน้ำ คันดินคูเมืองโบราณทั้ง 3 แห่งแล้วภายในกลุ่มเมืองโบราณนี้ ยังปรากฎซากโบราณสถานเนินดินกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปไม่น้อยกว่า 30 แห่ง การเดินทางไปสู่แหล่งเมืองโบราณสามารถใช้เส้นทางสิโรรส (ทางหลวงหมายเลข 410) จากจังหวัดปัตตานีลงไปทางจังหวัดยะลาประมาณ 15 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือสายยะรัง-มายอ (ทางหลวงหมายเลข 4061) ประมาณ 1.2 กิโลเมตร เข้าสู่เขตเมืองโบราณและเลี้ยวซ้ายขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 400 เมตร ถึงเขตโบราณสถานบ้านจาเละ นักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าชมเป็นหมู่คณะสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานโครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี ในวันและเวลาราชการ โทร. 0 7343 9093

         -บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์เขาบ่อชัย   มีภูเขาลูกหนึ่งเรียกกันว่า เขาบ่อไพร บนยอดเขามีบ่อน้ำที่เชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ได้มีการนำน้ำจากบ่อแห่งนี้ไปใช้ในพระราชพิธีราชาภิเษกด้วย
ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นบ่อชัย
         -ภูเขาสะลินดงบายู  ภูเขานี้มี "ถ้ำปิด" เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ปากถ้ำขนาดไม่ใหญ่นักแต่มีหินปิดสนิทอยู่ ด้านหลังเขามีโพรง ที่ศาลาเชิงเขา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายแดง 

ศิลปะร่วมสมัยอยุธยาปางมารวิชัย

         -วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม   ตั้งอยู่ที่บ้านป่าไร่ ตำบลทุ่งพลา ริมทางรถไฟสายหาดใหญ่-สุไหงโก-ลก ระหว่างสถานีนาประดู่กับสถานีป่าไร่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 31 กิโลเมตร
การเดินทางใช้เส้นทางหลวงสาย 42 (ปัตตานี-โคกโพธิ์) ผ่านสามแยกนาเกตุ ตรงไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 409 (ปัตตานี-ยะลา) ผ่านชุมชนเทศบาลนาประดู่และศูนย์ฝึกอาชีพ (วัดช้างให้) 

ไปจนถึงทางแยกเพื่อเข้าสู่วัดช้างให้อีกประมาณ 700 เมตร วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นมากว่า 300 ปีมาแล้ว แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง ภายในวิหารมีรูปปั้นหลวงปู่ทวดเท่าองค์จริงประดิษฐานอยู่

นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมของสถูป เจดีย์ มณฑป อุโบสถ และหอระฆัง ที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง

หลวงปู่ทวดวัดช้างให้ เป็นผู้มีความสามารถในการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและด้านเวทมนตร์คาถาต่างๆ เล่ากันว่าท่านได้แสดงอิทธิปาฏิหารย์เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาผู้คน เช่นครั้งที่ท่านเดินทางไปกรุงศรีอยุธยาด้วยเรือสำเภา ระหว่างทางเกิดพายุ จนกระทั่งข้าวปลาและอาหารตลอดจนน้ำดื่มตกลงทะเลไป ลูกเรือรู้สึกกระหายน้ำมาก หลวงปู่ทวดจึงได้แสดงอภินิหารหย่อนเท้าลงไปในทะเล ปรากฏว่าน้ำในบริเวณนั้นได้กลายเป็นน้ำจืด และดื่มกินได้ ตั้งแต่นั้นมาชื่อเสียงของท่านก็ขจรขจายไปทั่ว และต่อมาหลวงปู่ทวดได้มรณภาพที่ประเทศมาเลเซีย แล้วได้นำพระศพกลับมาที่วัดช้างให้

งานประจำปีในการสรงน้ำอัฐิหลวงปู่ทวดวัดช้างให้คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 5 วัดช้างให้เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00 – 17.00 น.

-สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ตั้งอยู่ที่บ้านกรือเซะ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมือง ตามทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส) ใกล้กับมัสยิดกรือเซะ มีตำนานเล่าว่าลิ้มกอเหนี่ยวได้ลงเรือสำเภามาตามพี่ชายชื่อลิ้มโต๊ะเคี่ยม ซึ่งมาแต่งงานกับธิดาพระยาตานี และได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามกลับประเทศจีนไม่สำเร็จ

จึงได้ผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงได้ฝังศพลิ้มกอเหนี่ยวไว้ที่นี่ 

ต่อมาชาวปัตตานี นำต้นไม้ที่ลิ้มกอเหนี่ยวผูกคอตายมาแกะเป็นรูปบูชาและสร้างศาลเจ้าขึ้น -สถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ

         -ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง   ตั้งอยู่บริเวณริมคลองยามู ตรงข้ามที่ว่าการอำเภอยะหริ่ง อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าชายเลนยะหริ่ง มีพื้นที่โครงการรวม 500 ไร่ 

ศูนย์ฯนี้มีทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนเป็นสะพานที่สร้างด้วยไม้ตะเคียนทอง (Hopea Odorata) เป็นระยะทางยาวโดยรอบ 1,250 เมตร ตลอดเส้นทางเดินโดยรอบจะเห็นกลุ่มไม้ในสังคมป่าชายเลน ทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้เถาและไม้พื้นล่าง ซึ่งพันธุ์ไม้แต่ละชนิดมีความสามารถขึ้นอยู่ได้ในบริเวณที่มีลักษณะแตกต่างกันโดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ระหว่างระดับน้ำทะเลต่ำสุดและระดับน้ำทะเลสูงสุดเช่น กลุ่มไม้ถั่วขาว กลุ่มไม้ตะบูนดำ กลุ่มไม้ตาตุ่มทะเล ฝาดดอกขาว เหงือกปลาหมอดอกขาว เป็นต้น ตามเส้นทางจะมีระเบียงพักและมีซุ้มสื่อความหมายอธิบายเกี่ยวกับป่าชายเลนพร้อมมีรูปภาพประกอบ และยังมีสะพานทางเดินไม้ยกระดับ ศาลาพักผ่อน และหอชมนก เพื่อชมทัศนียภาพเหนือยอดของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนซึ่งหอนี้มีความสูงถึง 13 เมตร

         นอกเหนือจากการเดินศึกษาป่าชายเลนตามเส้นทางเดินแล้วยังมีการล่องเรือชมป่าชายเลนซึ่งจัดเป็นกิจกรรมหนึ่งของศูนย์ฯ
นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือชมธรรมชาติป่าชายเลนตามลำคลองน้อยใหญ่ซึ่งแบ่งเป็น 3 สายคือคลองบางปู  คลองกลาง  คลองกอและ ตลอดสองฝั่งคลองจะเห็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์
ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ นกนานาชนิด วิถีชีวิตของชาวบ้านกับป่าชายเลนและความสวยงามของสวนป่าโกงกาง 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หัวหน้าศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง โทร. 08 1368 3104 -หาดตะโละกาโปร์ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองปัตตานีตามทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส) เลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอยะหริ่ง ข้ามคลองยามูตามสะพานคอนกรีตขนาดใหญ่

ผ่านพื้นที่สวนป่าชายเลนและหมู่บ้านไปจนถึงทางแยกเข้าสู่หาด รวมระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร หาดตะโละกาโปร์เป็นหาดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดปัตตานี เคยประกวดแหล่งท่องเที่ยว 5 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ได้ที่ 2 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ประจำปี 2529 หาดตะโละกาโปร์เป็นหาดทรายขาวสะอาดขนานกับชายฝั่งทะเล มีเรือกอและของชาวประมงจอดอยู่เป็นจำนวนมาก 

หาดทรายแห่งนี้งอกยาวออกไปเรื่อยๆ เพราะเกิดจากกระแสน้ำพัดเอาตะกอนทรายมาทับถมพอกพูน เหมาะแก่การไปนั่งพักผ่อนชมความสวยงาม มีทิวสนและต้นมะพร้าวให้ความร่มรื่นสวยงาม -วังยะหริ่ง วังยะหริ่งสร้างโดยพระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรสงคราม ในปีพ.ศ.2438 ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลยามู ในเขตจังหวัดปัตตานี ลักษณะรูปทรงของวังเป็นอาคาร 2 ชั้น ครึ่งปูนครึ่งไม้ แบบเรือนไทยมุสลิมผสมกับแบบบ้านแถบยุโรป ตัววังเป็นรูปตัวยู (U) ชั้นบนภายในอาคาร จัดเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ด้านข้างของตัวอาคารทั้ง 2 ด้าน เป็นห้องสำหรับพักผ่อนของ เจ้าเมืองและบุตรธิดาข้างละ 4 ห้อง ชั้นล่างเป็นลานโล่งแบบใต้ถุนบ้าน ลักษณะเด่นของบ้านคือ บันไดโค้งแบบยุโรป ช่องแสงประดับด้วยกระจกสีเขียว แดง และน้ำเงิน ช่องระบบายอากาศและหน้าจั่วทำด้วยไม้ ฉลุเป็นลวดลายพรรณพฤกษา ตาม แบบศิลปะชวา และศิลปะแบบตะวันตก ทำให้ตัววังสง่างามมาก ในปัจจุบันวังยะหริ่งได้รับ การดูแลจากเจ้าของวังเป็นอย่างดี โดยมีการบูรณะครั้งหลังสุดเป็นปลายปี พ.ศ. 2541

     ปัจจุบันมีสภาพสมบูรณ์ แง้มประตู ดูวัง ตวนกูซาบีดะห์ หรือ คุณหญิงวุจจิรา เด่นอุดม ทายาทรุ่นที่ 5แห่ง "วังยะหริ่ง” 

นำผู้มาเยือนนั่งลงบนเก้าอี้ไม้ตัวเก่าแต่ยังอยู่ในสภาพแข็งแรงและยังปรากฏร่องรอยความมันวาวราวของใหม่ ก่อนจะหยิบถ้วยพร้อมรินน้ำชาอุ่นๆ

และเริ่มต้นพูดคุยอย่างเป็นกันเองโดยมีเสียงไวโอลินผสานทำนองเพลงร็องเง็งพื้นบ้านลอยปลิวแผ่วเบามาจากเครื่องเสียงรุ่นโบราณที่วางอยู่ในตัวบ้าน
หญิงสาวผิวขาว ท่วงท่าและอิริยาบถที่ดูเป็นสง่าในฐานะเจ้าของสถานที่พรายยิ้ม

-สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ตั้งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ภายในพิพิธภัณฑ์เแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1. พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี ซึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติ ผลงานและสิ่งของเครื่องใช้ของพระธรรมโมลี พระพุทธรูป เทวรูปปางต่างๆ พระพิมพ์ พระเครื่อง โบราณวัตถุที่สำคัญ เครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยยุโรป เครื่องถ้วยไทย-จีน เหรียญที่ระลึก เงินตราและธนบัตรต่างๆ เป็นต้น 2. พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา จัดแสดงเรื่องราวให้ความรู้และให้การศึกษาเฉพาะเรื่อง แบ่งเป็นส่วนๆได้แก่ เรื่องเรือนไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เครื่องมือและเครื่องใช้พื้นบ้าน ศิลปการแสดงพื้นบ้าน โบราณวัตถุประเภทเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และจากแหล่งชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์เมืองโบราณยะรัง เครื่องถ้วย ความเชื่อพื้นถิ่นและเทคโนโลยี การเข้าชม เปิดวันจันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา 09.00-11.30 น. และ 13.00-16.00 เว้นวันหยุดราชการ โดยไม่เก็บค่าเข้าชม สำหรับการเข้าชมเป็นหมู่คณะหรือต้องการวิทยากรนำชมสามารถติดต่อล่วงหน้าได้ที่

งานบริการทางการศึกษา สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000 

โทร. 0 7331 3930-50 ต่อ 1472 , 1473 ,1476 และ 0 7333 1250 โทรสาร 0 7333 1250