ป้อมรอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง
หน้าตา
ป้อมรอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง มีทั้งสิ้น 17 ป้อม สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจำนวน 10 ป้อม และสร้างเพิ่มเติมในภายหลัง แต่เดิมเป็นป้อมมีหอรบ มีหลังคามุงกระเบื้องโบกปูนทับ
รายชื่อป้อม
[แก้]ป้อมทั้งหมดมีชื่อคล้องจองกัน ดังนี้
- ป้อมอินทรรังสรร [1] อยู่มุมกำแพง ด้านทิศตะวันตกต่อทิศเหนือ ตรงข้ามกับท่าช้าง
- ป้อมขันธ์เขื่อนเพชร [2] อยู่ทางด้านทิศเหนือระหว่างประตูวิเศษไชยศรี และประตูมณีนพรัตน์ ตรงกับถนนหน้าพระธาตุ เป็นป้อมรูปแปดเหลี่ยม
- ป้อมเผด็จดัสกร [3] อยู่มุมกำแพงด้านทิศเหนือต่อทิศตะวันออก ตรงข้ามกับศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร เป็นป้อมรูปแปดเหลี่ยม มีที่ตั้งเสาธง เนื่องจากเมื่อก่อนเป็นที่ตั้งเสาธงใหญ่
- ป้อมสัญจรใจวิง [4] อยู่ทางด้านทิศตะวันออก ถัดจากพระที่นั่งไชยชุมพล ตรงกับถนนกัลยาณไมตรี สร้างแทรกขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ป้อมสิงขรขัณฑ์ [5] อยู่ทางด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับวังสราญรมย์ ทางเหนือของประตูเทวาพิทักษ์
- ป้อมขยันยิงยุทธ [6] อยู่ทางด้านทิศตะวันออกติดกับประตูเทวาพิทักษ์ ทางเหนือของพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ สร้างแทรกขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ป้อมฤทธิรุดโรมรัน [7] อยู่ทางด้านทิศตะวันออกติดกับประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ ทางใต้ของพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ สร้างแทรกขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ป้อมอนันตคีรี [8] อยู่เหนือกำแพงด้านทิศตะวันออก ถัดจากประตูศักดิ์ไชยสิทธิ ตรงข้ามกับสวนสราญรมย์ เป็นป้อม 2 ชั้น
- ป้อมมณีปราการ [9] อยู่สุดกำแพงด้านทิศตะวันออก เป็นป้อมรูปหอรบ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 บูรณะในสมัย รัชกาลที่ 2 ปัจจุบันใช้เป็นห้องเรียนจริยศึกษาของโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
- ป้อมพิศาลสีมา [10] อยู่บนกำแพงด้านทิศใต้ ระหว่างประตูวิจิตรบรรจงกับประตูอนงคารักษ์ ตรงข้ามกับวัดพระเชตุพนวิลมมังคลาราม
- ป้อมภูผาสุทัศน์ [11] อยู่มุมกำแพงด้านทิศตะวันตกต่อทิศใต้ ติดกับประตูพิทักษ์บวร ตรงข้ามกับท่าเตียน
- ป้อมสัตตบรรพต อยู่บนกำแพงด้านทิศตะวันตก ถัดจากประตูช่องกุด เป็นป้อมรูปหอรบ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 2
- ป้อมโสฬสศิลา [12] อยู่บนกำแพงด้านทิศตะวันตก ทางใต้ของประตูอุดมสุดารักษ์ เป็นป้อมรูปหอรบ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 บูรณะในสมัยรัชกาลที่ 2
- ป้อมมหาสัตตโลหะ [13] อยู่บนกำแพงด้านทิศตะวันตก ทางเหนือของประตูอุดมสุดารักษ์ เป็นป้อมรูปหอรบ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 บูรณะในสมัย รัชกาลที่ 2
- ป้อมทัศนนิกร [14] อยู่บนกำแพงด้านทิศตะวันตก ทางใต้ของป้อมอินทรรังสรร สร้างขึ้นใหม่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ป้อมพรหมอำนวยศิลป์ อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เหนือท่าราชวรดิฐ ปัจจุบันรื้อออกไปแล้ว
- ป้อมอินทรอำนวยศร อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใต้ท่าราชวรดิฐ ปัจจุบันรื้อออกไปแล้ว
สถานที่ตั้ง
[แก้]ถ้าเราเดินรอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง เวียนตามเข็มนาฬิกาโดยเริ่มจากป้อมอินทรรังสรร ที่มุมกำแพงทิศตะวันตกต่อทิศเหนือ จะพบประตูและป้อม เรียงลำดับดังนี้
- ด้านทิศเหนือ
- ป้อมอินทรรังสรร - ประตูสุนทรทิศา - ประตูวิมานเทเวศร์ - ประตูวิเศษไชยศรี - ป้อมขันธ์เขื่อนเพชร - ประตูมณีนพรัตน์ - ป้อมเผด็จดัสกร
- ด้านทิศตะวันออก
- ป้อมเผด็จดัสกร - ประตูสวัสดิโสภา - พระที่นั่งไชยชุมพล - ป้อมสัญจรใจวิง - ป้อมสิงขรขันฑ์ - ประตูเทวาพิทักษ์ - ป้อมขยันยิงยุทธ- พระที่นั่งสุทไธสวรรย์- ป้อมฤทธิรุดโรมรัน - ประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ - ป้อมอนันตคีรี - ป้อมมณีปราการ
- ด้านทิศใต้
- ป้อมมณีปราการ - ประตูวิจิตรบรรจง - ป้อมพิศาลสีมา - ประตูอนงคารักษ์ - ประตูพิทักษ์บวร - ป้อมภูผาสุทัศน์
- ด้านทิศตะวันตก
- ป้อมภูผาสุทัศน์ - ประตูช่องกุด - ป้อมสัตตบรรพต - ป้อมโสฬสศิลา - ประตูอุดมสุดารักษ์ - ป้อมมหาสัตตโลหะ - ประตูเทวาภิรมย์ - ป้อมทัศนนิกร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ป้อมอินทรรังสรร 13°45′07″N 100°29′23″E / 13.751969°N 100.489851°E
- ↑ ป้อมขันธ์เขื่อนเพชร 13°45′07″N 100°29′31″E / 13.752016°N 100.49189°E
- ↑ ป้อมเผด็จดัสกร 13°45′08″N 100°29′38″E / 13.752131°N 100.493778°E
- ↑ ป้อมสัญจรใจวิง 13°45′02″N 100°29′38″E / 13.750677°N 100.493853°E
- ↑ ป้อมสิงขรขันฑ์ 13°44′59″N 100°29′39″E / 13.749734°N 100.49403°E
- ↑ ป้อมขยันยิงยุทธ 13°44′58″N 100°29′39″E / 13.74951°N 100.49418°E
- ↑ ป้อมฤทธิรุดโรมรัน 13°44′56″N 100°29′39″E / 13.748796°N 100.494202°E
- ↑ ป้อมอนันตคีรี 13°44′52″N 100°29′40″E / 13.747717°N 100.494454°E
- ↑ ป้อมมณีปราการ 13°44′52″N 100°29′40″E / 13.747717°N 100.494454°E
- ↑ ป้อมพิศาลสีมา 13°44′49″N 100°29′35″E / 13.746946°N 100.492963°E
- ↑ ป้อมภูผาสุทัศน์ 13°44′47″N 100°29′28″E / 13.746519°N 100.491241°E
- ↑ ป้อมโสฬสศิลา 13°44′58″N 100°29′24″E / 13.749426°N 100.489916°E
- ↑ ป้อมมหาสัตตโลหะ 13°44′59″N 100°29′23″E / 13.749614°N 100.489846°E
- ↑ ป้อมทัศนนิกร 13°45′05″N 100°29′24″E / 13.751276°N 100.489985°E