ปานีปูรี
ประเภท | อาหารว่าง |
---|---|
แหล่งกำเนิด | ประเทศอินเดีย |
ภูมิภาค | อนุทวีปอินเดีย |
ส่วนผสมหลัก | แป้ง, มะขามเปียก, จัฏนี, พริกป่น, จาฏมสาลา, หอมแขก, มันฝรั่ง, ถั่วลูกไก่ |
รูปแบบอื่น | เสภปูรี, ทหีปูรี, ปูรี |
ปานีปูรี (ฮินดี: पानी पूरी) อินเดียเหนือเรียก โคลคัปเป (गोलगप्पे) อินเดียตะวันออกเรียก ผุจกายาคุปจุป (फुचका या गुप चुप) และอินเดียตะวันตกเรียก คุปจุป (गुपचुप) เป็นอาหารว่างที่มีชื่อเสียงอย่างหนึ่งของอินเดีย มีวางจำหน่าย และสามารถพบเห็นอยู่ทั่วไปในอนุทวีปอินเดีย[1][2][3][4][5]
ชื่อ
[แก้]ชื่อของปานีปูรีจะมีชื่อเรียกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของอินเดีย เช่น ในรัฐมหาราษฏระจะเรียกว่า ปานีปูรี รัฐมัธยประเทศเรียก ผุลกี รัฐอัสสัมเรียก ผุสกา รัฐโอฑิศา อานธรประเทศ ฌารขัณฑ์ และฉัตตีสครห์เรียก คุปจุป[6] รัฐเบงกอลตะวันตก พิหาร และประเทศเนปาลเรียก ผุจกา ส่วนเดลี รัฐปัญจาบ และประเทศปากีสถาน เรียก โคลคัปปา หรือ โคลคัปเป[7]
วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2548 มีการเพิ่มคำว่า "ปานีปูรี" เข้าไปในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด[8]
ประวัติ
[แก้]ปานีปูรี เป็นอาหารที่พัฒนาการมาจากจาฏ (चाट) กุรุศ ทาลาล (Kurush Dalal) นักมนุษยวิทยาด้านการทำอาหารชาวอินเดีย อธิบายว่าจาฏกำเนิดขึ้นครั้งแรกทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย (ปัจจุบันอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ) บ้างก็ว่าปานีปูรีคือราชกไจรี (कचौड़ी) ที่เผอิญทำแล้วมีขนาดเล็กกว่าปรกติ[9] อย่างไรก็ตามปานีปูรีได้กระจายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศอินเดีย อันเกิดจากการอพยพครั้งใหญ่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา[4]
ส่วนผสม
[แก้]ปานีปูรี ประกอบด้วย ปูรี แป้งทอดกลมภายในกลวงซึ่งต้องใช้นิ้วเจาะเพื่อใส่ไส้ มีไส้ทำจากมันฝรั่งบด ผสมกับหอมแขกซอย และถั่วลูกไก่ และน้ำรสเปรี้ยวที่ใช้ราดขนมทำมาจากน้ำมะขามเปียก ปรุงรสด้วยจัฏนี พริกป่น และจาฏมสาลา[10][11]
ขณะที่ ผุจกา หรือ ผุสกา ในแถบอินเดียตะวันออกจะมีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากปานีปูรีเล็กน้อย ทั้งด้านปริมาณและรสชาติ ใช้มันฝรั่งบดทำเป็นไส้มีรสเปรี้ยวมากกว่าหวาน และน้ำราดขนมจะมีรสเปรี้ยวและเผ็ด[7]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ปานีปูรีกับน้ำราดทั้งห้ารส
-
ปานีปูรีในรัฐเกรละ
-
ปานีปูรีในรัฐโอฑิศา
-
ปานีปูรีในโกลกาตา
-
ปานีปูรีในรัฐพิหาร
-
ร้านปานีปูรีในประเทศเนปาล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ khadizahaque (2014-11-30). "Chotpoti and Fuchka , The most popular Street Food in Bangladesh". Khadiza's Kitchen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-01.
- ↑ "Fuchka/Chotpoti: a true Bengali delicacy". Daily Sun (ภาษาอังกฤษ). 29 April 2016. สืบค้นเมื่อ 2020-10-01.
- ↑ Tarla Dalal, Chaat Cookbook., Gardners Books, 2000, 116 p. ISBN 978-81-86469-62-0
- ↑ 4.0 4.1 Ramadurai, Charukesi (2020-06-03). "Pani Puri: India's favourite street food... at home?". BBC Travel. สืบค้นเมื่อ 2020-08-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "MANGEZ AU NÉPAL I; L'ALIMENTATION DE RUE". JAPANFM (ภาษาฝรั่งเศส). 2020-12-19. สืบค้นเมื่อ 2020-12-26.
- ↑ "There are 10 different names for pani puri. How many do you know?". 6 March 2018.
- ↑ 7.0 7.1 Ladage, Rutu (2017-05-09). "11 Different Names For Your Favourite Pani Puri". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 2017-06-12.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "March 2005 Update". Oxford English Dictionary.
- ↑ "How Golgappa Originated | The tangy story of Golgappa-India's favorite street food!". The Times of India (ภาษาอังกฤษ). 2020-05-19. สืบค้นเมื่อ 2020-09-30.
- ↑ Ramprasad, Gayathri (2014). Shadows in the Sun: Healing from Depression and Finding the Light Within. Hazelden. pp. 260. ISBN 978-1-61649-531-2.
- ↑ "Easy Pani Puri (With Step by Step Photos)". Dassana's Veg Recipes (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2010-08-03. สืบค้นเมื่อ 2020-09-30.