ข้ามไปเนื้อหา

รัฐพิหาร

พิกัด: 25°24′N 85°06′E / 25.4°N 85.1°E / 25.4; 85.1
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พิหาร)
รัฐพิหาร
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: มหาโพธิวิหารแห่งพุทธคยา, โบราณสถานมหาวิทยาลัยนาลันทา, ภาพเขียนมธุพานิจากภูมิภาคมิถิลา, น้ำพุร้อนพรหมกูณฑ์ในราชคฤห์
เพลง: เมเร ภารตะ เก กันฐะ หาร (Mere Bharat Ke Kanth Haar)
(พวงมาลัยแห่งอินเดียของข้า)
ที่ตั้งของรัฐพิหารในประเทศอินเดีย
ที่ตั้งของรัฐพิหารในประเทศอินเดีย
พิกัด (ปัฏนา): 25°24′N 85°06′E / 25.4°N 85.1°E / 25.4; 85.1
ประเทศประเทศอินเดีย
ก่อตั้ง
ได้รับสถานะเป็นรัฐ26 มกราคม ค.ศ. 1950
เมืองหลวงปัฏนา
เมืองใหญ่สุดปัฏนา
เขต38 เขต
การปกครอง
 • ราชยปาลผกู เชาวหัน (Phagu Chauhan)
(จากพรรค BJP)[1]
 • มุกขยมนตรีนิติษ กุมาร (Nitish Kumar)
(จากพรรค JD(U))
 • รองมุกขยมนตรีสุษิล กุมาร โมที (Sushil Kumar Modi)[2]
(จากพรรค BJP)
 • นิติบัญญัติ
 • ศาลสูงศาลสูงปัฏนา
พื้นที่[3]
 • ทั้งหมด94,163 ตร.กม. (36,357 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 12
ประชากร
 (ค.ศ. 2011)[4]
 • ทั้งหมด104,099,452 คน
 • อันดับที่ 3
 • ความหนาแน่น1,102 คน/ตร.กม. (2,850 คน/ตร.ไมล์)
 • กลุ่มชาติพันธุ์และภาษาหลักโภชปุรี (Bhojpuri), ไมถิล (Maithil), มคธ (Magahi)
เดมะนิมชาวพิหาร
จีดีพี (ค.ศ. 2017–2018)[5]
 • รวม₹4.88 ลาขกโรร์ (lakh crore)
(48.8 ล้านล้านรูปี)
 • ต่อประชากร₹38,860
ภาษา
 • ภาษาราชการภาษาฮินดี[6]
 • ภาษาราชการเพิ่มเติมภาษาไมถิลี,[ก][7] ภาษาอูรดู[ข][8]
เขตเวลาUTC+05:30 (IST)
UN/LOCODEINBR
รหัส ISO 3166IN-BR
ทะเบียนพาหนะBR
เอชดีไอ
(ค.ศ. 2017)
เพิ่มขึ้น 0.566[9] (กลาง) · ที่ 36
การรู้หนังสือ
(ค.ศ. 2011)
63.82%[10]
อัตราส่วนเพศ
(ค.ศ. 2011)
918 /1000 [11]
เว็บไซต์gov.bih.nic.in

พิหาร (ฮินดีและไมถิลี: बिहार; อูรดู: بہار) เป็นรัฐหนึ่งในทางตะวันออกของประเทศอินเดีย มีประชากรมากที่สุดเป็นลำดับที่สาม และมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดเป็นลำดับที่สิบสองของประเทศอินเดีย ด้วยพื้นที่ราว 94,163 km2 (36,357 sq mi) รัฐพิหารมีอาณาเขตติดต่อกับรัฐอุตตรประเทศในทางตะวันตก, ประเทศเนปาลในทางเหนือ, ส่วนบนของรัฐเบงกอลตะวันตกทางะวันออก, และรัฐฌารขัณฑ์ทางตอนใต้ ที่ราบพิหารมีแม่น้ำคงคาซึ่งไหลจากตะวันตกไปตะวันออกไหลผ่าน[12] ภูมิภาคทางวัฒนธรรมหลัก ๆ สามแห่งที่ประกอบอยู่ในรัฐพิหารได้แก่ มคธ, มิถิลา และโภชปุรี[13]

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 พิหารตอนใต้ได้จัดตั้งเป็นรัฐใหม่ชื่อว่ารัฐฌารขัณฑ์[14] ประชากรเพียง 11.3% ของพิหารอาศัยในเขตเมือง ถือว่าต่ำที่สุดในประเทศอินเดีย ต่อจากรัฐหิมาจัลประเทศ[15] นอกจากนี้ ประชากรพิหารกว่า 58% มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ทำให้พิหารเป็นรัฐที่มีอัตราส่วนเยาวชนสูงที่สุดในอินเดีย[16]

ในอินเดียโบราณและอินเดียยุคคลาสสิก บริเวณที่เป็นรัฐพิหารในปัจจุบันถือว่าเป็นศูนย์กลางของอำนาจ การศึกษา และวัฒนธรรม[17] นับตั้งแต่มคธได้เรืองอำนาจขึ้นเป็นจักรวรรดิแรกในแผ่นดินอินเดีย, จักรวรรดิเมารยะ ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะศาสนิกชนของศาสนาพุทธ[18] จักรวรรดิมคธโดดเด่นภายใต้การปกครองของราชวงศ์เมารยะ และราชวงศ์คุปตะ รวมกันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของเอเชียใต้ที่อยู่ภายใต้อำนาจศูนย์กลางเดียว[19] อีกหนึ่งภูมิภาคของพิหารคือมิถิลา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการศึกษายุคแรกและเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรวิเทหะ[20][21]

นับตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 รัฐพิหารได้รั้งท้ายรัฐอื่น ๆ ในประเทศอินเดียในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม[22][23][24] นักเศรษฐศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์สังคมหลายคนอ้างว่าเป็นผลโดยตรงจากนโยบายจากรัฐบาลอินเดียส่วนกลาง เช่น นโยบาย freight equalisation policy (ฮินดี: फ्रेट इक्वलाइजेशन पॉलिसी)[25][26], ความไม่เห็นใจที่มีต่อรัฐพิหาร (its apathy towards Bihar)[16][27][28], การขาดความเป็นรัฐนิยมพิหาร (Bihari sub-nationalism),[26][29][30] และการตั้งรกรากถาวร (Permanent Settlement) ในปี ค.ศ. 1793 โดยบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ[26] อย่างไรก็ตามรัฐบาลของรัฐพิหารมีความก้าวหน้าอย่างมากในการพัฒนารัฐ[31] การพัฒนาการปกครองได้นำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจในรัฐผ่านการเพิ่มการลงทุนในสาธารณูปโภค[32] บริการสุขภาพที่ดีกว่า การให้ความสำคัญกับการศึกษา และการลดจำนวนการก่อคดีและการฉ้อโกง[33][34]

ในปี ค.ศ. 2023 เมืองเบกูซาไร รัฐพิหารได้ถูกจัดลำดับเป็นเมืองคุณภาพอากาศแย่ที่สุดของโลก[35]

ประชากร

[แก้]
ศาสนาในรัฐพิหาร[36]
ศาสนา ร้อยละ
ฮินดู
  
82.7%
อิสลาม
  
16.9%
คริสต์
  
0.1%
อื่นๆ
  
0.3%

ประชากรเกือบ 58% ของรัฐพิหารมีอายุต่ำกว่า 25 ปี ถือว่าเป็นอัตราส่วนที่สูงที่สุดในประเทศอินเดีย พิหารมีอัตราการขยายเขตเมืองอยู๋ที่ 11.3% ต่ำที่สุดเป็นอันดับที่สองของประเทศอินเดีย รองจากรัฐหิมาจัลประเทศ[37]

ประชากรของพิหารส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ผู้พูดภาษาอินโด-อารยัน (Indo-Aryan-speaking ethnic groups) และยังเป็นเป้าหมายหนึ่งในการตั้งถิ่นฐานของชาวปัญจาบฮินดูที่อพยพมาในช่วงของการ Partition of British India เมื่อปี ค.ศ. 1947[38] พิหารมีอัตราการรู้หนังสืออยู่ที่ 63.82% (73.39% ในชาย และ 53.33% ในหญิง) พบว่ามีการเติบโตขึ้น 20% สำหรับการรู้หนังสือในผู้หญิงในทศวรรษที่ผ่านมา[10] สำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2011 พบว่าประชากร 82.7% นับถือศาสนาฮินดู, 16.9% นับถือศาสนาอิสลาม[36][39]

ภาษา

[แก้]
ภาษาไมถิลีในอักษรตีราหุต (Tirhuta) และอักษรเทวนาครี

ภาษาของรัฐพิหาร (ค.ศ. 2011)[40]

  ฮินดี (25.54%)
  ไมถิลี (12.55%)
  มคธ (10.87%)
  อูรดู (8.42%)
  อื่น ๆ (15.98%)

ภาษาฮินดีเป็นภาษาราชการของรัฐ[6] ภาษาอูรดูเป็นภาษาราชการที่สองใน 15 เขตของรัฐ[8] อย่างไรก็ตามชาวรัฐพิหารส่วนใหญ่พูดภาษาใดภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาพิหาร ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการจัดเป็นภาษาถิ่นของภาษาฮินดีในการสำรวจสำมะโนประชากร ภาษาสำคัญคือ โภชปุรี, ไมถิลี และมคธ แต่กลุ่มเล็ก ๆ เช่น ภาษาอังคิกา และภาษาบัชชิกา (Bajjika) (บางครั้งถือว่าเป็นภาษาไมถิลี) ก็พูดกันเป็นจำนวนมากเช่นกัน[41][42] ไมถิลีเป็นภาษาประจำภูมิภาคของอินเดียที่ได้รับการรับรองโดย ตารางผนวกแนบท้ายที่แปดของรัฐธรรมนูญอินเดีย[7] มีผู้เสนอเรียกร้องให้ภาษาโภชบุรี และภาษามคธได้รับสถานะเดียวกัน[43] อย่างไรก็ตามจำนวนผู้พูดสำหรับภาษาเหล่านี้มีจำกัด เนื่องจากคนที่มีการศึกษาและอาศัยในเมืองมักจะพูดภาษาฮินดี (ในบริบทที่เป็นทางการ) ดังนั้นจึงตอบคำตอบนี้ในการสำรวจสำมะโนประชากร และในพื้นที่ชนบทและชุมชนที่ไม่มีการศึกษาพวกเขาก็ตอบว่าภาษาของพวกเขาเป็นภาษา "ฮินดี" ในสำมะโน

ชุมชนเล็ก ๆ ของผู้พูดภาษาเบงกาลี และภาษาสันถาลี พบได้ในเขตทางตะวันออกของรัฐ





อ้างอิง

[แก้]
  1. "Senior BJP Leader Phagu Chauhan Appointed Governor of Bihar, to Take Over From Lal Ji Tandon". News18. 20 July 2019. สืบค้นเมื่อ 25 July 2019.
  2. "Nitish Kumar to take oath as Chief Minister of Bihar, Sushil Modi to be deputy CM – Times of India". The Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2017. สืบค้นเมื่อ 27 July 2017.
  3. "State Profile". Government of Bihar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2017. สืบค้นเมื่อ 27 September 2017.
  4. "Bihar Profile" (PDF). census.gov.in. สืบค้นเมื่อ 14 March 2020.
  5. "MOSPI Gross State Domestic Product". Ministry of Statistics and Programme Implementation, Government of India. 1 March 2019. สืบค้นเมื่อ 9 June 2019.
  6. 6.0 6.1 "The Bihar Official Language Act, 1950" (PDF). Cabinet Secretariat Department, Government of Bihar. 1950. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2015. สืบค้นเมื่อ 9 April 2015.
  7. 7.0 7.1 "Constitutional provisions relating to Eighth Schedule" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 28 May 2016.
  8. 8.0 8.1 Benedikter, Thomas (2009). Language Policy and Linguistic Minorities in India: An Appraisal of the Linguistic Rights of Minorities in India. Münster: LIT Verlag. p. 89. ISBN 978-3-643-10231-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2015. สืบค้นเมื่อ 10 April 2015.
  9. "Sub-national HDI – Area Database". Global Data Lab (ภาษาอังกฤษ). Institute for Management Research, Radboud University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2018. สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.
  10. 10.0 10.1 "6 – State of Literacy". Provisional Population Totals – India (PDF) (Report). Censusindia.gov.in. pp. 108. 111. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2015. สืบค้นเมื่อ 22 August 2018.
  11. "Census 2011 (Final Data) – Demographic details, Literate Population (Total, Rural & Urban)" (PDF). planningcommission.gov.in. Planning Commission, Government of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 January 2018. สืบค้นเมื่อ 3 October 2018.
  12. "State Profile". Government of Bihar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2017. สืบค้นเมื่อ 17 April 2015.
  13. Roy, Ramashray; Wallace, Paul (6 February 2007). India's 2004 Elections: Grass-Roots and National Perspectives. p. 212. ISBN 9788132101109. สืบค้นเมื่อ 13 April 2017.
  14. Dutt, Ashok K. "Jharkhand". Encyclopædia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2012. สืบค้นเมื่อ 18 July 2010.
  15. "At 11.3%, it has the lowest urban population among big states and the second lowest if one counts the small mountainous state of Himachal Pradesh (10%). 2011 census". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2015. สืบค้นเมื่อ 29 October 2016.
  16. 16.0 16.1 Guruswamy, Mohan; Kaul, Abhishek (15 December 2003). "The Economic Strangulation of Bihar" (PDF). New Delhi, India: Centre for Policy Alternatives. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 30 May 2009. สืบค้นเมื่อ 17 August 2015.
  17. Bihar, Past & Present: souvenir, 13th Annual Congress of Epigraphica by P. N. Ojha, Kashi Prasad Jayaswal Research Institute
  18. Mishra Pankaj, The Problem, Seminar 450 – February 1997
  19. "The History of Bihar". Bihar Government. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2008.
  20. Mandal, R. B. (2010). Wetlands Management in North Bihar. p. 87. ISBN 9788180697074. สืบค้นเมื่อ 8 February 2017.
  21. Kumāra, Braja Bihārī (1998). Small States Syndrome in India. p. 146. ISBN 9788170226918. สืบค้นเมื่อ 16 February 2017.
  22. "Bihar's 'first' Economic Survey Report tabled". The Times of India. 7 มีนาคม 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2008.
  23. Bal Thackeray (5 มีนาคม 2008). "Biharis an unwanted lot". The Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มีนาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2008.
  24. Wajihuddin, Mohammed (10 สิงหาคม 2008). "'Bihari' has become an abuse". The Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2008.
  25. Das, Arvind N. (1992). The Republic of Bihar. New Delhi: Penguin Books. ISBN 978-0-14-012351-7.
  26. 26.0 26.1 26.2 Goswami, Urmi A (16 February 2005). "'Bihar Needs an Icon, a person who stands above his caste' (Dr Shaibal Gupta – Rediff Interview)". Rediff. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2005. สืบค้นเมื่อ 16 February 2005.
  27. Guruswamy, Mohan; Baitha, Ramnis Attar; Mohanty, Jeevan Prakash (15 June 2004). "Centrally Planned Inequality: The Tale of Two States – Punjab and Bihar" (PDF). New Delhi, India: Centre for Policy Alternatives. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 March 2009. สืบค้นเมื่อ 17 August 2015.
  28. Guruswamy, Mohan; Mohanty, Jeevan Prakash (15 February 2004). "The De-urbanisation of Bihar" (PDF). New Delhi, India: Centre for Policy Alternatives. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 March 2009. สืบค้นเมื่อ 17 August 2015.
  29. Ahmed Farzand and Mishra Subhash, Leaders of Bihar unite to counter Raj Thackeray , India Today, 31 October 2008
  30. Gupta, Shaibal. "Bihar: Identity and Development". Asian Development Research Institute, Patna. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2005. สืบค้นเมื่อ 30 April 2006.
  31. Phadnis, Aditi (26 July 2008). "Lalu in the red". Business Standard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2011. สืบค้นเมื่อ 22 August 2015.
  32. Goswami, Urmi A (17 มิถุนายน 2008). "Biharis get work at home, bashers realise their worth". The Economic Times. India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2008.
  33. Dharma, Supriya; Jha, Abhay Mohan (15 July 2008). "Bihar witnesses a quiet transformation". NDTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2008. สืบค้นเมื่อ 22 August 2015.
  34. Jha, Abhay Mohan (8 March 2008). "English makes inroads in Bihar villages". NDTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2008. สืบค้นเมื่อ 8 March 2008.
  35. IQAIR เปิดข้อมูล พบเกือบ 100 เมืองในเอเชีย มีมลพิษทางอากาศแย่ที่สุดในโลกเมื่อปี 2566
  36. 36.0 36.1 "Population by religion community - 2011". Census of India, 2011. The Registrar General & Census Commissioner, India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2015.
  37. "Urban and Rural Population of India 2011". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2012. สืบค้นเมื่อ 29 October 2016.
  38. Hill K; Seltzer W; Leaning J; Malik SJ; Russell SS. "Full title: The Demographic Impact of Partition: Bengal in 1947". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-01.
  39. Singh, Vijaita (25 August 2015). "Bihar elections among factors in religious data of Census 2011 release". The Hindu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2017. สืบค้นเมื่อ 26 October 2017 – โดยทาง www.TheHindu.com.
  40. "C-16 Population By Mother Tongue - Bihar". Census of India 2011. Office of the Registrar General. สืบค้นเมื่อ 14 March 2020.
  41. Chitransh, Anugya (1 September 2012). "Bhojpuri is not the only language in Bihar". Hill Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2014. สืบค้นเมื่อ 10 April 2015.
  42. Cardona, George; Jain, Dhanesh, บ.ก. (11 September 2003). The Indo-Aryan Languages. Routledge Language Family Series. Routledge. p. 500. ISBN 978-0-415-77294-5. ...the number of speakers of Bihari languages are difficult to indicate because of unreliable sources. In the urban region most educated speakers of the language name Hindi as their language because this is what they use in formal contexts and believe it to be the appropriate response because of lack of awareness. The uneducated and the urban population of the region return Hindi as the generic name for their language.
  43. "लोकसभा में उठी मगही, भोजपुरी को आठवीं अनुसूची में शामिल करने की मां" [Demand for including Bhojpuri in the Eighth Schedule]. Firstpost (ภาษาฮินดี). 22 March 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2019. สืบค้นเมื่อ 24 February 2019.