ข้ามไปเนื้อหา

ปางคำ

พิกัด: 22°10′N 99°11′E / 22.167°N 99.183°E / 22.167; 99.183
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปางคำ

ปางซาง
ปางคำตั้งอยู่ในประเทศพม่า
ปางคำ
ปางคำ
ที่ตั้งในประเทศพม่า
พิกัด: 22°10′N 99°11′E / 22.167°N 99.183°E / 22.167; 99.183
ประเทศ พม่า
รัฐ รัฐฉาน (นิตินัย)
รัฐว้า (พฤตินัย)
ประชากร
 (2545)
 • ทั้งหมด15,000 คน
 • ชาติพันธุ์ว้า ไทใหญ่ จีน
 • ศาสนาพุทธ
เขตเวลาUTC+6.30 (MST)

ปางคำ (จีน: 邦康; พินอิน: Bāngkāng, ว้า: Bangkum) หรือชื่อเดิมว่า ปางซาง (จีน: 邦桑; พินอิน: Bāngsāng) เป็นเมืองหลักของอำเภอปางซาง จังหวัดหมากหมัง รัฐฉาน ประเทศพม่า[1] ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของรัฐฉานบริเวณโค้งน้ำข่า (Nam Hka) ตรงข้ามอำเภอปกครองตนเองชนชาติไท ลาหู่ และว้า เมืองแลม จังหวัดผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน ประเทศจีน

ปางคำเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดแหล่งใหญ่[2] มีโรงแรม ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ ร้านคาราโอเกะ ลานโบว์ลิง และกาสิโนที่คอยให้บริการ 24 ชั่วโมง[3] อาหารส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศจีน รถยนต์ส่วนใหญ่เป็นรถแลนด์โรเวอร์และรถกระบะญี่ปุ่นที่ลักลอบมาจากประเทศไทย[4]

ประวัติ

[แก้]

ปางคำหรือเดิมชื่อว่าปางซางเป็นเมืองหลวงโดยพฤตินัยของว้าแดง เป็นเขตพิเศษหมายเลขสองหลังจากที่โหป่างที่เป็นเมืองหลวงเดิมถูกรัฐบาลพม่ายึดครอง ปางคำถูกปกครองโดยกองทัพผสมรัฐว้าที่จัดตั้งขึ้นหลังการล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์พม่าเมื่อปี พ.ศ. 2532[4][5]

วันที่ 17 เมษายน 2552 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 20 ปีการรัฐประหารโดยพรรคคอมมิวนิสต์พม่าได้มีงานเฉลิมฉลองที่ปางคำ โดยมีตัวแทนจากรัฐบาลทหารพม่า โกก้าง องค์กรกะฉิ่นอิสระ กองทัพรัฐฉานเหนือ และอดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์พม่าเข้าร่วมในพิธีดังกล่าว[6] และในวันต่อมาได้เกิดเหตุเพลิงไหม้สถานีบริการน้ำมันและคลังสินค้าที่เก็บไม้สักกว่าหมื่นตันในปางคำ ซึ่งเป็นของเหว่ย์ เสฺวกัง (จีนตัวย่อ: 魏学刚; จีนตัวเต็ม: 魏學剛; พินอิน: Wèi Xuégāng) หนึ่งในผู้นำพรรคว้า[7]

ประชากร

[แก้]

ปางคำมีประชากรส่วนใหญ่เป็นว้าซึ่งอยู่ในตระกูลภาษามอญ-เขมร ส่วนใหญ่นับถือผี และไทใหญ่ที่จัดอยู่ในตระกูลภาษาขร้า-ไท นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขทั้งว้าและไทใหญ่เองต่างมีการสมรสข้ามเชื้อสาย จนกล่าวกันว่าในชาวว้าร้อยคนจะมีว้าแท้เพียงร้อยละห้า นอกนั้นผสมไทใหญ่เสียหมด[8] นอกจากนี้ยังมีชาวจีนเข้ามาตั้งรกราก ซึ่งบางส่วนเป็นจีนฮ่อมุสลิม[9] และจากการผสมปนเปทางเชื้อสายทำให้ชาวว้าพูดได้ทั้งภาษาว้าและไทใหญ่ ส่วนผู้นำว้าระดับสูงจะใช้ภาษาจีนในการติดต่อสื่อสารกัน[8] และตามร้านรวงต่าง ๆ ในเมืองก็ติดป้ายอักษรจีน[9]

ในเมืองปางคำ มีโบสถ์คริสต์ วัด และมัสยิดอย่างละแห่ง[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Shan Herald Agency for News (S.H.A.N)". English.panglong.org. 2016-01-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2016-02-05.
  2. "อาณาจักร...ยาเสพติด(1) "ค่ายทหาร" โรงงานผลิตยา". คมชัดลึก. 29 มิถุนายน 2553. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. Andrew Marshall, Anthony Davis (December 16, 2002). "Soldiers of Fortune". TIME asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-24. สืบค้นเมื่อ 2009-02-21.
  4. 4.0 4.1 Tor Norling (July 11, 2008). "Haven or Hell". The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-06. สืบค้นเมื่อ 2009-02-21.
  5. "Panghsang tightening security". Shan Herald Agency for News (S.H.A.N.). 2005-06-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-11. สืบค้นเมื่อ 2009-02-21.
  6. Wai Moe (April 17, 2009). "UWSA Leader Calls for 'Solid, United' Wa State". The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-27. สืบค้นเมื่อ 2009-04-19.
  7. "Fire in Panghsang". Shan Herald Agency for News (S.H.A.N.). 19 April 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-15. สืบค้นเมื่อ 2009-04-19.
  8. 8.0 8.1 นวลแก้ว บูรพวัฒน์. "เบื้องลึกชนวน 'สงครามตัวแทน' ว้าแดง-ไทใหญ่ (ยอดศึก)". เนชั่น. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-12. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  9. 9.0 9.1 9.2 Raymond Pagnucco (27 มกราคม 2557). "PANG KHAM DE FACTO CAPITAL OF THE WA PEOPLE?". Raypagnucco.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-12. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

22°10′N 99°11′E / 22.167°N 99.183°E / 22.167; 99.183