ข้ามไปเนื้อหา

ล่าเสี้ยว

พิกัด: 22°56′N 97°45′E / 22.933°N 97.750°E / 22.933; 97.750
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ล่าเสี้ยว
เมือง
เมืองล่าเสี้ยว
เมืองล่าเสี้ยว
ล่าเสี้ยวตั้งอยู่ในประเทศพม่า
ล่าเสี้ยว
ล่าเสี้ยว
ที่ตั้งเมืองล่าเสี้ยวในประเทศพม่า
พิกัด: 22°56′N 97°45′E / 22.933°N 97.750°E / 22.933; 97.750
ประเทศ พม่า
รัฐ รัฐฉาน
จังหวัดล่าเสี้ยว
อำเภอล่าเสี้ยว
ความสูง2,746 ฟุต (836 เมตร)
ประชากร
 (ค.ศ. 2009)
 • ทั้งหมด131,000 คน
 • ศาสนาหลักพุทธ
เขตเวลาUTC+6:30 (เวลามาตรฐานพม่า)

ล่าเสี้ยว (ไทใหญ่: လႃႈသဵဝ်ႈ; พม่า: လားရှိုး; เอ็มแอลซีทีเอส: la: hrui:, ออกเสียง: [láʃó]) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางตอนเหนือของรัฐฉานในประเทศพม่า อยู่ห่างจากมัณฑะเลย์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 200 กิโลเมตร (120 ไมล์) ตั้งอยู่ท่ามกลางภูเขาต่ำ ซึ่งมีหุบเขานัมเยา ส่วนภูเขาที่สูงที่สุดของรัฐฉาน มีชื่อว่า ล่อยเลง อยู่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 45 km (28 mi)[1]

เดิมล่าเสี้ยวมีชื่อเป็นภาษาไทใหญ่ว่า "ดอยเย่ว" แปลว่า "ดอยเยี่ยว" เพราะตั้งอยู่บนดอยสูงลาดชันจนผู้ที่ขึ้นไปปัสสาวะราด บ้างก็แปลว่า "ดอยเหยี่ยว" เพราะมีนกเหยี่ยวอยู่มาก[2]

ปัจจุบันล่าเสี้ยวเป็นศูนย์กลางของจังหวัดและอำเภอล่าเสี้ยว แต่ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางของรัฐฉานทางตอนเหนือ จนถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 2010 ประชากรในเมืองเพิ่มขึ้นจาก 5,000 คน (ค.ศ. 1960) เป็น 88,590 คน (ค.ศ. 1983) ในระยะเวลา 23 ปี ปัจจุบันคาดว่ามีประชากรประมาณ 130,000 คน[3]

กลุ่มชาติพันธุ์ที่สำคัญในเมืองได้แก่ ชาวไทใหญ่ ชาวพม่าเชื้อสายจีน และชาวพม่า

ภูมิอากาศ

[แก้]

มีลักษณะภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น มีฝนตกหนักตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีคือ 54 นิ้ว (1,400 มิลลิเมตร) อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดคือ 27 องศาเซลเซียส (81 องศาฟาเรนไฮต์) และเฉลี่ยต่ำสุดคือ 13 องศาเซลเซียส (55 องศาฟาเรนไฮต์)[4][5] อุณหภูมิจะอบอุ่นตลอดทั้งปี แต่ในตอนกลางคืนจะค่อนข้างเย็น ในช่วงเดือนธันวาคม ถึงมีนาคม

ข้อมูลภูมิอากาศของล่าเสี้ยว
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 24.6
(76.3)
27.4
(81.3)
30.7
(87.3)
32.2
(90)
31.4
(88.5)
30.0
(86)
29.0
(84.2)
29.0
(84.2)
29.5
(85.1)
28.6
(83.5)
26.3
(79.3)
24.4
(75.9)
28.59
(83.47)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 5.2
(41.4)
6.2
(43.2)
9.9
(49.8)
15.1
(59.2)
19.3
(66.7)
21.6
(70.9)
21.6
(70.9)
21.5
(70.7)
20.6
(69.1)
18.3
(64.9)
13.1
(55.6)
7.9
(46.2)
15.03
(59.05)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 6.0
(0.236)
7.0
(0.276)
9.0
(0.354)
61.0
(2.402)
141.0
(5.551)
205.0
(8.071)
230.0
(9.055)
293.0
(11.535)
188.0
(7.402)
151.0
(5.945)
69.0
(2.717)
18.0
(0.709)
1,378
(54.252)
แหล่งที่มา: NOAA (ค.ศ. 1961-1990) [6]

การขนส่ง

[แก้]

ตั้งอยู่ปลายสายถนนพม่า และปลายทางรถไฟสายมัณฑะเลย์คุนหลง และยังเป็นจุดสิ้นสุดทางเกวียนจากมัณฑะเลย์ซึ่งมีระยะทาง 178 ไมล์ (286 กิโลเมตร) นอกจากนี้ยังมีสะพานโกะเทะ สะพานรถไฟหอสูงที่สูงที่สุดในประเทศ และยังมีท่าอากาศยานล่าเสี้ยว

การศึกษา

[แก้]

ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยล่าเสี้ยว, มหาวิทยาลัยคอมพิวเตอร์ล่าเสี้ยว,[7] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีล่าเสี้ยว[8] และโรงเรียนพยาบาลล่าเสี้ยว

ระเบียงภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Loi Leng". Peakbagger.com. 2004-11-01. สืบค้นเมื่อ 2014-02-25.
  2. ประทีป ฉายลี (เมษายน–กันยายน 2557). "กว่าแหล่เมืองไต ในการเปลี่ยนผ่านของกาลเวลา (Kalemantai in Transition)". วารสารไทยคดีศึกษา (11:2), หน้า 129
  3. "Population of Lashio, Myanmar". Population.mongabay.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-12. สืบค้นเมื่อ 2014-02-25.
  4. [1]
  5. "Maps, Weather, Videos, and Airports for Lashio, Burma". Fallingrain.com. สืบค้นเมื่อ 2014-02-25.
  6. "Lashio Climate Normals 1961-1990". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ January 11, 2013.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-01-24. สืบค้นเมื่อ May 30, 2011.
  8. "Technological University (Lashio) - Lashio District". Most.gov.mm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-01. สืบค้นเมื่อ 2014-02-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

22°56′N 97°45′E / 22.933°N 97.750°E / 22.933; 97.750