ข้ามไปเนื้อหา

ปัณฑรหัตถี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปัณฑรหัตถี เป็นสัตว์หิมพานต์ตระกูลช้าง ลักษณะภายนอกเป็นช้างที่มีกายสีดั่งรัศมีเงิน มีอีกชื่อหนึ่งว่า นาคันธร ห้าวหาญองอาจในการสงคราม[1] ปัณฑรหัตถี เรียกได้ว่าเป็นประติมากรรม “คชสาร หรือ ช้าง” อีกองค์ประกอบหนึ่งที่ประดับอยู่บริเวณสระอโนดาตทางทิศเหนือของพระเมรุมาศ[2] ซึ่งประติมากรรมของสัตว์หิมพานต์ถูกสร้างขึ้นมาพื่อประดับตกแต่งพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ความหมายของชื่อ

[แก้]

ปัณฑรหัตถี [ปันดะระ-] น. ชื่อช้างตระกูล 1 ใน 10 ตระกูล กายสีขาวดังเขาไกรลาส, ช้าง 10 ตระกูล คือ 1. กาฬาวกหัตถี 2. คังไคยหัตถี 3. ปัณฑรหัตถี 4. ตามพหัตถี 5. ปิงคลหัตถี 6. คันธหัตถี 7. มงคลหัตถี 8. เหมหัตถี 9. อุโบสถหัตถี 10. ฉัททันต์หัตถี[3] ซึ่งเป็นช้าง ที่พระพรหมได้สร้างขึ้น ช้างตระกูลพรหมพงศ์ เป็นชาติพราหมณ์ มี 10 หมู่[4] ช้างตระกูลปัณฑรนาเคนทร์หรือปัณฑรหัตถี ว่ามีสีตัวดังเขาไกรลาส ไกรลาส คือ หมายถึงสีขาวนั่นเอง เพราะเขาไกรลาสนั้นว่ากันว่ามีหิมะจับขาวไปหมด[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ตระกูลช้าง[ลิงก์เสีย]
  2. ช้างมงคล 10 ตระกูล
  3. ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๕๔[ลิงก์เสีย]
  4. "เอกสารประกอบ:พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยามร.ศ.110". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-24. สืบค้นเมื่อ 2018-06-09.
  5. https://th.wiktionary.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%B5