ข้ามไปเนื้อหา

ช้างตระกูลพรหมพงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ช้างตระกูลพรหมพงศ์ เป็นหนึ่งช้างเผือกสี่ตระกูลซึ่งสร้างโดยมหาเทพ พระพรหมในวิชาไตรเทพของศาสนาพราหมณ์ โดยตำราพระคชศาสตร์ และตำรานารายณ์ประทมสินธุ์ ได้กล่าวถึงการกำเนิดช้างมงคลว่า พระนารายณ์บรรทมบนเกษียรสมุทร บังเกิดดอกบัวจากพระอุทรมี 8 กลีบ 173 เกสร จึงนำไปถวายพระอิศวร ที่เขาไกรลาศ พระอิศวรแบ่งเกสรดอกบัวนั้นประทานแก่พระองค์เอง พระอิศวร รับเกสรไว้ 8 เกสร ประทานแก่ พระพรหม จำนวน 24 เกสร ประทานแก่ พระวิษณุ หรือพระนารายณ์ จำนวน 8 เกสร และประทานแก่พระอัคคีหรือพระเพลิง จำนวน 135 เกสร

พระอิศวร พระพรหม พระวิษณุ และพระเพลิง มหาเทพทั้ง 4 ต่างสร้างช้างเผือกตระกูลต่าง ๆ 4 ตระกูล จากดอกบัวนั้นดอกบัวให้เป็นโลก พระพรหม พระอิศวร พระวิษณุและพระอัคนี มหาเทพทั้ง 4 ทรงเนรมิตช้างจากกลีบและเกสรบัว ที่พระนารายณ์ประทาน และสามารถแบ่งช้างมงคลเป็น 4 ตระกูล ตามนามแห่งเทพผู้ให้กำเนิด คือ

ประเภท

[แก้]

ช้างตระกูลพรหมพงศ์ สร้างขึ้นโดย พระพรหม อันพระพรหมให้บังเกิดด้วยเกสรประทุมชาติ์ ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีย่อมให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางวัตถุและวิทยาการต่าง ๆ พระพรหมได้สร้าง

ช้างประจำทิศทั้ง 8 ด้วยเกสรดอกบัวทั้ง 8 คือ เกสรที่

  1. ช้างไอยราพต อยู่ทิศบูรพา เกสรหนึ่งทิ้งออกไปข้างทิศบูรพา เกิดเป็นช้างชื่อไอยราพต สมบูรณด้วยลักษณะ 15 ประการ สีกายดุจสีเมฆเมื่อคลุ้มฝน เท้าทั้ง 4 เท้ากลมดังกงฉัตร เล็บเสมอ หน้าสูงท้ายต่ำอย่างสิงห์ ตัวใหญ่กว่าช้างทั้งปวง ตาใหญ่ดังดาวประกายพฤกษ งายาวขึ้นขวางวงดังภุชงค์นาค หลังราบดังคันธนูปลายหูปรบหน้า หลัง ถึงกัน โขมดทั้ง 2 สูง เสียงดุจเสียงสังข์ หาง บังคลองต้องด้วยลักษณะ 15 ประการ
  2. ช้างบุณฑริก อยู่ทิศอาคเนย์ เกสรหนึ่งทิ้งไปข้างทิศอาคเนย์ บังเกิดเป็นช้างชื่อบุณฑริกมีลักษณะ 5 ประการ สีกายดังดอกบัวขาว งาใหญ่สั้นสีดังสังข์ เล็บงามคือทอง ท้องมัวดังฝนคร่ำ กลิ่นหอมดังดอกสัตบงกช พร้อมด้วยลักษณะ
  3. ช้างพราหมณ์โลหิต อยู่ทิศทักษิณ เกสรหนึ่งไปประดิษฐานอยู่ทิศทักษิณ บังเกิดเป็นช้างชื่อพราหมณโลหิต มีลักษณะ 5 ประการ สีกายดังสีโลหิต งาใหญ่คอกลม เสียงดุจเสียงแตรแตร้น พร้อมด้วยลักษณะ
  4. ช้างกระมุท อยู่ทิศหรดี เกสรหนึ่งทิ้งไปข้างทิศหรดี ให้บังเกิดเป็นช้างชื่อกระมุท มีลักษณะ 5 ประการ สีดังดอกกระมุท ตัวสูงโสตรยาวกลมหูอ่อน เสียงดุจเสียงแตรงอน งางอนขึ้นขวาดังพระจันทร์ เมื่อขึ้น 3 ค่ำ พร้อมด้วยลักษณะ
  5. ช้างอัญชัน อยู่ทิศประจิม เกสรหนึ่งทิ้งไปข้างทิศประจิม ให้บังเกิดเป็นช้างชื่ออัญชัน มีลักษณะ 5 ประการ สัดังอัญชันงาใหญ่ตรง คอใหญ่เสียงดังลมพัดในปล้องไม้ไผ่ พร้อมด้วยลักษณะ 5 ประการ
  6. ช้างบุษปทันต์ อยู่ทิศพายัพ เกสรหนึ่งทิ้งไปข้างทิศพายัพ บังเกิดเป็นช้างชื่อบุษปทันต์ มีลักษณะ 7 ประการ สีดังหมากสุกผิวเนื้อเลอียด มีกระหน้าตัวใหญ่งามงาน้อยขึ้นขวา เสียงดังเสียงเมฆ พร้อมด้วยลักษณะ
  7. ช้างเสาวโภค อยู่ทิศอุดร เกสรหนึ่งทิ้งไปข้างทิศอุดร บังเกิดเป็นช้างชื่อเสาวโภม มีลักษณะ 5 ประการ สีดังตองแก่ สูงสัณฐานดังใส่เสื้อ เท้าทั้ง 4 ดังตองอ่อน ตัวกลมหน้าใหญ่งาน้อยยาว เสียงดังเสียงนกกเรียนพร้อมด้วยลักษณะ
  8. ช้างสุประดิษฐ์ อยู่ทิศอีสาน เกสรหนึ่งทิ้งไปข้างทิศอิสาน บังเกิดเป็นช้างสุปรดิษฐ์ มีลักษณ 9 ประการ สีเนื้อดังสีเมฆเมื่อสนธยา ผนฎท้องดังผนฎท้องงู งาซื่อสีขาวบริสุทธิ์ดังผ้าขาวที่เนื้ออ่อนดังสีบัวแดง ขนปากยาว อัณฑโกษอ่อน เต้ามันอ่อน ร้องเสียงดังเสียงฟ้า พร้อมด้วยลักษณะ 9 ประการ

นอกจากนี้พระพรหมยังได้สร้างช้างอีก 10 หมู่ คือ

  1. ฉัททันต์หัตถี กายสีขาว หางเท้าสันหลังสีแดง งาเป็นแขนง เป็นพญาช้าง มีกำลังสูงสุดเหาะไปในอากาศได้ เดินรวดเร็วมาก มีผิวกายขาวบริสุทธิ์ดุจสีเงินยวง ว่ามีฤทธิ์เดชมาก แม้นจะเหาะไปในนภากาศก็ได้ ถ้าจะไปทางบกก็ไปได้รวดเร็ว คือในระยะทางสามล้านหกแสนหนึ่งหมื่นสามร้อยสิบโยชน์นั้น ช้างฉัททันต์ใช้เวลาเดินทางเพียง 3 นาทีเท่านั้นเอง เร็วกว่าจรวดที่สหรัฐอเมริกา หรือรัสเซียส่งไปโลกพระจันทร์มากมายนัก และกำลังของช้างตระกูลฉัททันต์นี้ เหนือกว่าช้างใด ๆ ช้างตระกูลอุโบสถ 10 เชือก จึงจะมีกำลังเท่าพญาช้าง ฉัททันทต์นี้เชือกหนึ่ง
  2. อุโบสถหัตถี กายดั่งสีทองนพคุณ เดินได้รวดเร็ว เหาะไปในอากาศได้ อยู่บริเวณป่ากรรณิการ์ ส่วนหนึ่งของป่าหิมพานต์ มีนางช้าง ปีตวรรณ เป็นบริวาร มีลักษณะสูงใหญ่สง่างาม ผิวดังสีทอง มีฤทธิ์เหาะไปในอากาศไค้ เดินทางบกช้ากว่าช้างฉัททันต์ มีช้างสีเหลืองเป็นบริวาร อยู่ในป่าหิมพานต์ พญาช้างอุโบสถย่อมจะนำเอาลูกมายกให้เป็นภรรยาพญาช้างฉัททันต์ และถือกันว่าพญาช้างอุโบสถนั้น สมควรเป็นพาหนะของพระมหาจักรพรรดิ์เท่านั้น
  3. เหมหัตถี กายดั่งสีรัศมีทอง มีกำลังมาก คือช้างทอง มีลักษณะสูงใหญ่ มีสีตัวเหลืองดังทอง มีหมู่ช้างพลายพังเป็นบริวารเป็นอันมาก แต่กำลังน้อยกว่าช้างอุโบสถ ช้างเหมหัตถี 10 เชือก จึงจะเท่าช้างอุโบสถเชือกหนึ่ง
  4. มงคลหัตถี กายสีดังสีดอกอัญชัญ ฤทธิ์น้อยกว่าช้างเหมหัตถี
  5. คันธหัตถี กายสูงใหญ่ ผิวตัวดังไม้กฤษณา กลิ่นตัวและมูตรคูตหอมหวนชื่นใจ ช้างตระกูลคันธหัตถีนี้ว่ามีกำลังมากเหมือนกัน แต่ยังน้อยกว่าช้างมงคลหัตถี
  6. ปิงคัลหัตถี หรือ ปิงคลหัตถี หรือบิงคลหัตถี กาย สีตาและเล็บ เป็นสีเหลืองเหลือบน้ำตาล ดั่งสีตาแมว ลักษณะสูงสง่างาม สีตัวเหลืองอ่อนดังสีตาแมวมีช้างเป็นบริวารมาก แต่กำลังน้อยกว่าพญาช้างคันธหัตถี
  7. ตามพหัตถี หรือ ดามพหัตถี กายสีดั่งทองแดง ขนหางคล้ายดอกบัวแดง ลักษณะสูงใหญ่ มีอานุภาพห้าวหาญในการศึก แต่มีกำลังน้อยกว่าพญาช้างปิงคัลหัตถี
  8. บัณฑรหัตถี หรือ นาคันธรหัตถี ช้างตระกูลปัณฑรนาเคนทร์หรือปัณฑรหัตถี ว่ามีสีตัวดังเขาไกรลาส ไกรลาส คือ หมายถึงสีขาวนั่นเอง เพราะเขาไกรลาสนั้นว่ากันว่ามีหิมะจับขาวไปหมด กายสีดั่งรัศมีเงิน มีอีกชื่อหนึ่งว่า นาคันธร ห้าวหาญองอาจในการสงคราม
  9. คังไคยหัตถี หรือ ช้างคับเคยยนาเคนทร์ กายดั่งสีน้ำไหล (สีเขียวน้ำทะเล) มีลักษณะสูงใหญ่ สมบูรณ์งดงาม เกิดบริเวณลุ่มน้ำคงคา
  10. กาลวกะหัตถี กาลาวกหัตถี กายสีดำดังปีกอีกา

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]