ปลาหนวดพราหมณ์
ปลาหนวดพราหมณ์ | |
---|---|
ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 14 เส้น (P. multifilis) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
วงศ์: | Polynemidae |
สกุล: | Polynemus Linnaeus, 1758 |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง | |
ปลาหนวดพราหมณ์ หรือ ปลาหนวดตาแป๊ะ (อังกฤษ: Threadfins)[1][2][3] เป็นสกุลของปลาน้ำกร่อยและน้ำจืดจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลากุเรา (Polynemidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Polynemus (/โพ-ลี-นี-มัส/)
เป็นปลาที่พบได้ในน้ำกร่อยและน้ำจืดเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน มีลักษณะโดยรวม คือ ครีบอกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนบนเหมือนครีบปลาทั่วไป แต่ส่วนล่างแบ่งเป็นเส้น ๆ มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ชนิด ตั้งแต่ 3-14 เส้น
เป็นปลาที่ผสมพันธุ์และวางไข่ ฟักเป็นตัวในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ อาจพบได้บ้างตามแหล่งน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำหรือชายฝั่ง พบแพร่กระจายพันธุ์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศอินโดนีเซีย มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร[4]
สำหรับในชนิดที่พบในประเทศไทย ได้แก่ ปลาหนวดพราหมณ์เหนือ (P. aquilonaris), ปลาหนวดพราหมณ์ตะวันออก (P. dubius), ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 7 เส้น (P. paradiseus), ปลาหนวดพราหมณ์ทอง (P. melanochir) และ ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 14 เส้น (P. multifilis) นิยมรับประทานเป็นอาหาร และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
การจำแนก
[แก้]- Polynemus aquilonaris Motomura, 2003
- Polynemus dubius Bleeker, 1854
- Polynemus hornadayi Myers, 1936
- Polynemus kapuasensis Motomura & van Oijen, 2003
- Polynemus melanochir Valenciennes, 1831
- Polynemus multifilis Temminck & Schlegel, 1843
- Polynemus paradiseus Linnaeus, 1758 [5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2019). Species of Polynemus in FishBase. December 2019 version.
- ↑ แม่แบบ:Cof genus
- ↑ Nelson, J. S. (2006). Fishes of the World (4 ed.). Hoboken, NJ: John Wiley & Sons. p. 372. ISBN 978-0-471-25031-9.
- ↑ สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 257 หน้า. หน้า 140. ISBN 974-00-8738-8
- ↑ จาก Fishbase.org