ข้ามไปเนื้อหา

ปลาน้ำกร่อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาชะลิน(Chanos chanos) ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม

ปลาน้ำกร่อย หรือ ปลาสองน้ำ[1] (อังกฤษ: Amphidromous fish) คือปลาที่สามารถปรับสภาพให้อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำเค็มหรือในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืดตามแม่น้ำลำคลอง

ปลาน้ำกร่อย ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  • Amphidromous fish เป็นปลาน้ำกร่อยที่มีความสามารถปรับตัวอยู่ในน้ำที่มีความเค็มได้หลากหลาย ส่วนใหญ่จะเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำกร่อย หรือบริเวณปากแม่น้ำ หรือบริเวณน้ำจืดที่บรรจบกับทะเล ซึ่งมีค่าความเค็มของน้ำไม่คงที่ จะเปลี่ยนแปลงไปตามปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง และฤดูกาล โดยอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
    • Euryhaline fish คือ ปลาที่สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มได้ในช่วงกว้าง ตั้งแต่ 0-35 ppt ปลาประเภทนี้อาจเป็นไปได้ทั้งปลาน้ำจืด หรือปลาทะเล รวมถึงปลาน้ำกร่อยแท้ ๆ แต่เมื่อต้องไปอาศัยอยู่ในที่ที่มีความเค็มเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันมาก ก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้เป็นอย่างดี เช่น ปลากะพงขาว (Lates calcarifer), ปลาตาเหลือก (Megalops cyprinoides) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาสอด (Poecilia latipinna) ที่สามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้อีกด้วย
    • Stenohaline fish คือ ปลาที่ทนต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มได้ในช่วงแคบ ปลากลุ่มนี้จัดเป็นปลากลุ่มใหญ่ ซึ่งก็คือ ปลาน้ำจืด หรือปลาทะเลทั่วไปนั่นเอง ซึ่งก็มีความสามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มได้แตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิด (ซึ่งในบางแหล่งข้อมูลไม่จัดปลาประเภทนี้เป็นปลาน้ำกร่อย)
  • Diadromous fish เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำกร่อยทั่วไป และยังรวมถึงปลาที่มีวงจรชีวิตอพยพย้ายถิ่น เพื่อการผสมพันธุ์และวางไข่ในแหล่งน้ำที่มีความเค็มแตกต่างกันไปอีกด้วย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
    • Catadromous fish เป็นปลาน้ำจืดที่อาศัยและหากินอยู่ในแหล่งน้ำจืดเป็นส่วนใหญ่ของวงจรชีวิต แต่ได้วางไข่หรือผสมพันธุ์ในแหล่งน้ำกร่อย หรือทะเล เช่น ปลาในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae) ฯลฯ
    • Andromous fish เป็นปลาทะเลหรือปลาที่และหากินอยู่ในแหล่งน้ำเค็มหรือน้ำกร่อยเป็นส่วนใหญ่ของวงจรชีวิต แต่ได้วางไข่หรือผสมพันธุ์ในแหล่งน้ำจืด เช่น ปลาแซลมอน ฯลฯ

แต่อย่างไรก็ตาม ปลาทั้ง 2 กลุ่มใหญ่นั้นอาจซ้อนกันได้ มีการประเมินว่ามีปลาที่จัดได้ว่าเป็นปลาน้ำกร่อย หรือปลาสองน้ำไว้ประมาณ 22,000 ชนิด [2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ปลาสองน้ำ[ลิงก์เสีย]
  2. หน้า 110-129, Amphidromous story สุดยอดนักล่า ปลาสองน้ำ คอลัมน์ Wild Ambition โดย ชวิน ตันพิทยคุปต์, กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์, นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 3 ฉบับที่ 35: พฤษภาคม 2013