ประวัติศาสตร์ของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (ค.ศ. 1986–2013)
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 ที่ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทีม แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด จนถึงปี ค.ศ. 2013 เมื่อเขาประกาศเกษียณจากวงการฟุตบอล นับว่าประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสร เฟอร์กูสันเข้าร่วมสโมสรในวันเดียวกับที่ รอน แอตกินสัน ถูกปลดออก[1] และนำสโมสรไปสู่การจบอันดับที่ 11 ในลีก[2] แม้จะจบอันดับสองในฤดูกาล 1987-88 สโมสรก็กลับมาอยู่ในอันดับที่ 11 ในฤดูกาลถัดมา[3] มีรายงานว่าเฟอร์กูสันใกล้จะถูกปลดออก ชัยชนะเหนือคริสตัลพาเลซ ใน เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ ปี 1990 นัดรีเพลย์ (หลังจากเสมอ 3-3 ในนัดแรก) ช่วยเซฟอาชีพการงานของเฟอร์กูสันไว้ได้[4][5] ในฤดูกาลถัดมา แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด คว้าแชมป์ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพเป็นครั้งแรกชัยชนะครั้งนี้ทำให้สโมสรสามารถแข่งขันในยูโรเปียนซูเปอร์คัพได้เป็นครั้งแรกโดยที่ยูไนเต็ดเอาชนะเรดสตาร์เบลเกรด แชมป์ ยูโรเปียนคัพ 1-0 ที่ โอลด์แทรฟฟอร์ด การเข้าชิงชนะเลิศ ลีกคัพ ครั้งที่ 2 ติดต่อกันในปี ค.ศ. 1992 ทำให้สโมสรคว้าแชมป์เป็นครั้งแรกเช่นกัน หลังจากเอาชนะ นอตทิงแฮมฟอเรสต์ 1-0 ที่ สนามเวมบลีย์[6] ในปี 1993 สโมสรคว้าแชมป์ลีกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967 และอีกหนึ่งปีต่อมา เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 ที่สโมสรคว้าแชมป์ลีกติดต่อกันเป็นครั้งที่สอง ควบคู่ไปกับเอฟเอ คัพ ได้สำเร็จเป็น "ดับเบิ้ลแชมป์" ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสโมสร[6] จากนั้นยูไนเต็ดก็กลายเป็นสโมสรฟุตบอลจากอังกฤษทีมแรกที่ได้ดับเบิลแชมป์ถึง 2 ครั้งเมื่อพวกเขาชนะการแข่งขันทั้งสองรายการอีกครั้งในฤดูกาล 1995-96[7] ก่อนที่จะรักษาตำแหน่งแชมป์ลีกได้อีกครั้งในฤดูกาล 1996-97[8]
ฤดูกาล 1998–99 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลอังกฤษ เนื่องจากพวกเขากลายเป็นทีมแรกที่คว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก เอฟเอ คัพ และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก - "สามแชมป์" - ในฤดูกาลเดียวกัน[9] โดนนำไปก่อน 1-0 จนถึงช่วงทดเวลาบาดเจ็บใน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 1999 เท็ดดี เชอริงแฮม และ โอเล กุนนาร์ โซลชา ยิงประตูในช่วงท้ายเกมคว้าชัยชนะเหนือ บาเยิร์นมิวนิค ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในการคัมแบ็กที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[10][11] ปีศาจแดงกลายเป็นทีมจากอังกฤษเพียงทีมเดียวที่เคยคว้าแชมป์ อินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ ได้หลังจากเอาชนะ พัลไมรัส จากบราซิล 1-0 ที่โตเกียว[12] ต่อมาเฟอร์กูสันได้รับตำแหน่งอัศวินมียศเป็นเซอร์ กลายเป็น เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน จากการรับใช้วงการฟุตบอลของเขา[13]
การมาถึงของอเล็กซ์ เฟอร์กูสัน 1986–1992
[แก้]อเล็กซ์ เฟอร์กูสันเข้าร่วมทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดจากแอเบอร์ดีนเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่รอน แอตกินสันผู้จัดการทีมคนก่อนถูกปลดออกจากตำแหน่ง และเขาก็เริ่มสร้างระบบเยาวชนของสโมสรขึ้นมาใหม่ทันที ในนัดแรกของเฟอร์กูสันที่คุมทีม ทีมแพ้ 0–2 ให้กับออกซฟอร์ดยูไนเต็ด ชัยชนะนัดแรกของเขาเกิดขึ้นในวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986 โดยเอาชนะควีนส์พาร์กเรนเจอส์ 1–0 ที่โอลด์แทรฟฟอร์ด ในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา ผลงานก็ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในวันบ็อกซิ่งเดย์ปี ค.ศ. 1986 ทีมเอาชนะลิเวอร์พูล แชมป์ลีกฤดูกาลที่แล้ว 1–0 ที่แอนฟีลด์ ซึ่งเป็นชัยชนะเกมเยือนนัดเดียวของสโมสรในฤดูกาลนี้ และเป็นความพ่ายแพ้ในบ้านนัดเดียวของฤดูกาลสำหรับเจ้าบ้าน ผลงานที่ดีของยูไนเต็ดยังคงดำเนินต่อไปตลอดทั้งฤดูกาล แม้จะไม่มีการเซ็นสัญญาผู้เล่นใหม่เข้าสู่สโมสรก็ตาม และพวกเขาจบอันดับที่ 11 ในดิวิชัน 1 โดยที่เอฟเวอร์ตันได้แชมป์ และลิเวอร์พูลได้รองแชมป์ ซึ่งแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของฟุตบอลอังกฤษโดยสโมสรจากเมอร์ซีย์ไซด์ในเวลานั้น
ซัมเมอร์นั้น เฟอร์กูสันเซ็นสัญญาคว้าผู้เล่น 2 คนแรกในยุคของเขา คนแรกคือวิฟ แอนเดอร์สัน กองหลังประสบการณ์สูงของอาร์เซนอล คนที่สองคือไบรอัน แมคแคลร์ กองหน้าจอมถล่มประตูของเซลติก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Barnes et al. (2001), p. 21
- ↑ Barnes et al. (2001), p. 148
- ↑ Barnes et al. (2001), pp. 148–9
- ↑ "Arise Sir Alex?". BBC News. 27 May 1999. สืบค้นเมื่อ 2 April 2010.
- ↑ Bevan, Chris (4 November 2006). "How Robins saved Ferguson's job". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2 April 2010.
- ↑ 6.0 6.1 Barnes et al. (2001), pp. 20–1
- ↑ Bloomfield, Craig (4 May 2017). "Clubs ranked by the number of times they have claimed trophy doubles".
- ↑ "Golden years: The tale of Manchester United's 20 titles". BBC Sport. 22 April 2013.
- ↑ "United crowned kings of Europe". BBC Sport. 26 May 1999. สืบค้นเมื่อ 22 June 2010.
- ↑ "Champions League: Greatest comebacks in football, Liverpool, Barcelona, Manchester United, AC Milan". Fox Sports. 8 May 2019. สืบค้นเมื่อ 15 October 2020.
- ↑ "6 of the greatest Champions League comebacks". Yahoo Sport. 11 March 2020. สืบค้นเมื่อ 15 October 2020.
- ↑ Magnani, Loris; Stokkermans, Karel (30 April 2005). "Intercontinental Club Cup". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 24 June 2010.
- ↑ Hughes, Rob (8 March 2004). "Ferguson and Magnier: a truce in the internal warfare at United". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 June 2010.