นอร์ทโรด
ที่ตั้ง | นิวตันฮีท แมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ |
---|---|
พิกัด | 53°30′13″N 2°11′56″W / 53.50361°N 2.19889°W |
เจ้าของ | มหาวิหารแมนเชสเตอร์ |
ความจุ | ~15,000 |
พื้นผิว | หญ้า |
การใช้งาน | |
สโมสรฟุตบอลนิวตันฮีท (1878–1893) |
นอร์ทโรด (อังกฤษ: North Road) เคยเป็นสนามฟุตบอลและคริกเกตในนิวตันฮีท แมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เป็นสนามเหย้าสนามแรกของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเมื่อครั้งยังใช้ชื่อว่า สโมสรฟุตบอลนิวตันฮีทแลนคาเชียร์แอนด์ยอร์กเชียร์เรลเวย์ เป็นสนามเหย้าตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนกระทั่งปี ค.ศ. 1893 เมื่อสโมสรย้ายไปยังสนามฟุตบอลแห่งใหม่ที่แบงก์สตรีตที่เคลย์ตัน
เดิมทีสนามฟุตบอลแห่งนี้มีแต่สนามแข่งขันที่สามารถรองรับผู้ชมได้ราว 12,000 คน จนมีการเพิ่มอัฒจันทร์ในปี 1891 ทำให้จุเพิ่มได้ราว 15,000 คน สโมสรได้เซ็นสัญญากับนักฟุตบอลอาชีพในปี 1886 จึงเริ่มแยกจากผู้สนับสนุนที่เป็นบริษัททางรถไฟ แต่หากปราศจากการสนับสนุนด้านการเงินจากบริษัทแล้วก็ไม่สามารถเช่าสนามได้อีกต่อไปจึงถูกขับไล่ออกไป
ประวัติ
[แก้]ช่วงแรก
[แก้]หลังจากที่ได้ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลนิวตันฮีทแลนคาเชียร์แอนด์ยอร์กเชียร์เรลเวย์ ลูกจ้างของคาร์เรจแอนด์วากอนเวิกส์ (Carriage and Wagon Works) ของบริษัทแลงคาเชอร์แอนด์ยอร์กเชอร์เรลเวย์ (Lancashire and Yorkshire Railway (LYR)) ได้เรียกร้องขอสนามไว้สำหรับเล่น สถานที่เลือกนั้นมีเจ้าของคือหน่วยงานมหาวิหารแมนเชสเตอร์ ถึงแม้ว่าสถานที่จะสะดวกต่อการทำงานขนส่ง[1] แต่ก็ "ขรุขระ มีเศษหินในช่วงฤดูร้อน และเป็นโคลน ท่วมนองอย่างหนักในช่วงฤดูฝน"[2] บริษัททางรถไฟจึงเห็นด้วยที่จะลงนามเช่ากับหน่วยงานนี้และเช่าสนามให้แก่สโมสรฟุตบอล[3] ซึ่งก็อยู่ติดกับทางรถไฟที่ดำเนินงานโดย LYR สนามแห่งนี้มักจะมีหมอกลงจัดจากไอน้ำเมื่อรถไฟวิ่งผ่าน เวลาเปลี่ยนผู้เล่นก็จะทำกันที่ร้านจำหน่ายสุราทรีเฮาส์ ที่อยู่ห่างจากถนนโอลดัมหลายร้อยหลา เนื่องด้วยไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่รอบข้าง[4] ในบางครั้งอาจมีเครื่องดื่มจากผู้สนับสนุนให้บ้างบริเวณปลายทางทิศตะวันออกของที่ดิน[1]
นัดการแข่งขันที่ได้รับการบันทึกครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1880 สองปีหลังจากสโมสรได้ก่อตั้งขึ้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเกมกระชับมิตร นัดการแข่งขันชิงชัยครั้งแรกที่จัดขึ้นที่นอร์ทโรดเป็นการแข่งขันถ้วยแลงคาเชอร์ รอบแรกที่พบกับทีมสำรองของสโมสรฟุตบอลแบล็กเบิร์นโอลิมปิก แข่งเมื่อ 27 ตุลาคม 1883 โดยนิวตันฮีทแพ้ 7–2 รายละเอียดผู้ชมสูญหายไป แต่คาดว่าสนามมีการล้อมรั้ว มีค่าเข้า 3 เพนนี (ราว 1 ปอนด์ในปี 2018) ของนัดการแข่งขัน[5] เมื่อฟุตบอลเป็นกีฬาอาชีพในอังกฤษในปี 1885 นิวตันฮีทได้เซ็นสัญญานักฟุตบอลอาชีพครั้งแรกในช่วงฤดูร้อนปี 1886 รายได้ของสโมสรไม่เพียงพอในการจ่ายค่าจ้าง จึงมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 3 เพนนีในทุกนัดการแข่งขันที่นอร์ทโรด ต่อมาเพิ่มเป็น 6 เพนนี[6]
ขยับขยายและถูกขับไล่
[แก้]เดิมทีสนามมีความจุราว 12,000 คน แต่เจ้าหน้าที่ของสโมสรตัดสินใจว่า นี่ไม่เพียงพอต่อความหวังพวกเขาเหล่านั้นที่จะเข้าร่วมในลีกฟุตบอลได้[7] ได้มีการขยับขยายสนามในปี 1887[1] แต่ปี 1891 นิวตันฮีทได้ใช้เงินสำรองบางส่วนที่มีซื้ออัฒจรรย์หลัก 2 อัฒจรรย์ แต่ละอัฒจรรย์จุได้ 1,000 คน อย่างไรก็ตาม การซื้อนี้ทำให้สโมสรไม่ลงรอยกับบริษัททางรถไฟที่ปฏิเสธการช่วยเหลือข้อตกลงทางการเงิน[7] มีสององค์กรที่ได้แยกออกไปนับจากนั้นและในปี 1892 สโมสรพยายามหาทุนเรือนหุ้นจำนวน 2,000 ปอนด์ เพื่อจ่ายหนี้จากการขยับขยายสนามนี้[8] การแยกออกไปนี้ทำให้บริษัททางรถไฟหยุดจ่ายค่าเช่าให้เนื่องจากสนามนี้เป็นของมหาวิหารที่ ณ ขณะนั้นตัดสินใจเพิ่มค่าเช่าด้วย[9] ภายใต้ความดันทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหน่วยงานมหาวิหารรู้สึกว่าเป็นการไม่เหมาะสมที่สโมสรคิดค่าเข้าสนาม[4] จึงมีการประกาศขับไล่สโมสรในเดือนมิถุนายน 1893[10] ผู้บริหารสโมสรจึงเริ่มหาสนามแห่งใหม่ตั้งแต่เริ่มมีการพยายามขับไล่ตั้งแต่ครั้งแรกในเดือนพฤษภาคมของปีก่อนหน้านี้ พวกเขาสามารถย้ายไปยังสนามแห่งใหม่ที่แบงก์สตรีต อยู่ห่างจากเคลย์ตัน 3 ไมล์[10] การจะย้ายอัฒจรรย์ใหญ่ 2 อัฒจรรย์ไปยังสนามแห่งใหม่เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ พวกเขาจึงขายไปที่ 100 ปอนด์[8]
ปัจจุบัน
[แก้]สนามไม่คงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน และนอร์ทโรดถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นนอร์แทมป์ตันโรด[1] หลังจากที่สนามถูกใช้เป็นสนามท้องถิ่น โรงเรียนมัธยมมอสตันบรูก (Moston Brook High School) ก็ได้มาบนที่ดินแห่งนี้[11] มีแผ่นจารึกสีแดงติดอยู่หนึ่งในผนังของโรงเรียน โดยระบุว่าเป็นสถานที่ของสนามกีฬาเก่า[12] แต่แผ่นจารึกก็ถูกขโมยและไม่มีอันใหม่ทดแทน[13] หลังจากโรงเรียนปิดตัวลงในเดือนสิงหาคม 2000 นอร์ทเวสต์รีเจียนนอลเดเวลอปเมนต์เอเจนซี (Northwest Regional Development Agency (NWDA)) ก็ได้เลือกที่นี้เป็นที่ตั้งของนอร์ทแมนเชสเตอร์บีซิเนสพาร์ก (North Manchester Business Park) เมื่อปี 2002[14][15]
การใช้งานอื่น
[แก้]สโมสรฟุตบอลนิวตันฮีทยังได้ก่อตั้งสโมสรคริกเกต[16] และใช้สนามนอร์ทโรดในการเล่นกีฬาทั้งสองชนิด อย่างไรก็ดีฤดูกาลของคริกเกตและฟุตบอลมักคาบเกี่ยวกัน เป็นเหตุให้เกิดความขัดแจ้งระหว่างกีฬาสองชนิดนี้[17] สนามไม่ได้ถูกใช้อย่างพอเหมาะสำหรับการเล่นฟุตบอล ทั้ง ๆ ที่ได้รับการลงแรงอย่างดีเยี่ยมจากผู้ดูแลสนาม ชาร์ลี และเนด แมสซีย์ แต่กลับใช้สนามในช่วงฤดูหนาว ยังขาดความเหมาะสมในการเล่นคริกเกตในฤดูร้อน[17]
สถิติ
[แก้]แม้จำนวนผู้เข้าชมจะไม่ได้บันทึกไว้ในนัดการแข่งขันแรก ๆ ที่นอร์ทโรด สถิติผู้เข้าชมสูงสุดในสนามประมาณ 15,000 คน ในนัดการแข่งขันเฟิสต์ดิวิชันพบกับสโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 1893[18] ผู้เข้าชมในลักษณะเดียวกันนี้ยังมีการบันทึกไว้ในนัดกระชับมิตรที่แข่งกับกอร์ดอนวิลลาเมื่อวันที่ 5 กันยายน 1889[19] สถิติผู้เข้าชมเบาบางในลีกมีราว 1,000 คน ในลีกฟุตบอลอัลไลแอนซ์ นัดการแข่งขันระหว่างวัลซอลล์ทาวน์สวิฟส์และเบอร์มิงแฮมซิตี เมื่อวันที่ 21 เมษายน 1890 และ 13 ธันวาคม 1890 ตามลำดับ[19][20] อย่างไรก็ตาม มีการบันทึกสถิติผู้เข้าชมเพียง 400 คนในการแข่งขันแมนเชสเตอร์คัปที่แข่งกับเอ็กเคิลส์เมื่อวันที่ 31 มกราคม 1885[21]
สถิติยุคแรกสุดสำหรับผู้เข้าชมจำนวนสี่หลักที่สนามคือ 3,000 คนในนัดกระชับมิตรกับเวสต์กอร์ตัน (เซนต์มากส์) เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 1881 ถือเป็นการบันทึกการเจอกันครั้งแรกของทั้งสองฝั่งที่ปัจจุบันคือ สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี[22]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 James, p. 392
- ↑ Tyrrell et al., p. 93
- ↑ McCartney, p. 7
- ↑ 4.0 4.1 Inglis, p. 234
- ↑ Shury, pp. 6–7
- ↑ Shury, p. 8
- ↑ 7.0 7.1 White, p. 21
- ↑ 8.0 8.1 White, p. 23
- ↑ Tyrrell et al., p. 97
- ↑ 10.0 10.1 Shury, p. 21
- ↑ "Establishment: Moston Brook High School". EduBase. Her Majesty's Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กันยายน 2009. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2009.
- ↑ "Red commemorative plaques in Manchester". manchester.gov.uk. Manchester City Council. 17 November 2005. สืบค้นเมื่อ 5 July 2009.
- ↑ White, p. 15
- ↑ "NWDA formally makes Compulsory Purchase Order North Manchester Business Park". NWDA.co.uk. Northwest Regional Development Agency. 19 กันยายน 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กันยายน 2009. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2009.
- ↑ James, p. 393
- ↑ Belton, p. 2
- ↑ 17.0 17.1 Belton, p. 9
- ↑ Shury, p. 54
- ↑ 19.0 19.1 Shury, p. 51
- ↑ Shury, p. 52
- ↑ Shury, p. 46
- ↑ Cawley & James, p. 338
บรรณานุกรม
- Belton, Brian (2009). Red Dawn – Manchester United in the Beginning: From Newton Heath to League Champions. London: Pennant Books. ISBN 978-1-906015-26-8.
- Cawley, Steve; James, Gary (1991). The Pride Of Manchester: The History of the Manchester Derby. Leicester: ACL & Polar. ISBN 0-9514862-1-7.
- Inglis, Simon (1996) [1985]. Football Grounds of Britain (Third ed.). London: CollinsWillow. ISBN 0-00-218426-5.
- James, Gary (2008). Manchester – A Football History. Halifax: James Ward. ISBN 978-0-9558127-0-5.
- McCartney, Iain (1996). Old Trafford – Theatre of Dreams. Harefield: Yore Publications. ISBN 1-874427-96-8.
- Shury, Alan; Landamore, Brian (2005). The Definitive Newton Heath F.C. SoccerData. ISBN 1-899468-16-1.
- Tyrrell, Tom; Meek, David (1996) [1988]. The Hamlyn Illustrated History of Manchester United 1878–1996 (Fifth ed.). London: Hamlyn. ISBN 0-600-59074-7.
- White, Jim (2008). Manchester United: The Biography. London: Sphere. ISBN 978-1-84744-088-4.