ประมุขแห่งรัฐซามัว
โอเลอาโอโอเลมาโล | |
---|---|
O le Ao o le Malo o Malo Saʻoloto Tutoʻatasi o Sāmoa | |
การเรียกขาน | ฮีส ไฮเนส |
ที่ว่าการ | อาปีอา |
ผู้แต่งตั้ง | รัฐสภาซามัว |
วาระ | 5 ปี ต่อได้หนึ่งสมัยติดต่อกัน[1] |
ตราสารจัดตั้ง | รัฐธรรมนูญซามัว |
ตำแหน่งก่อนหน้า | พระมหากษัตริย์แห่งซามัวตะวันตก |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | เมอาโอเล และ ตานุมาฟิลิที่ 2 |
สถาปนา | 1 มกราคม 1962 |
เงินตอบแทน | 82,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี[2] |
โอเลอาโอโอเลมาโล หรือ หัวหน้ารัฐบาล (ซามัว: O le Ao o le Malo)[a] เป็นประมุขแห่งรัฐของซามัว ตำแหน่งนี้มีระบุไว้ในส่วนที่ 3 ของรัฐธรรมนูญซามัว ค.ศ. 1960[3] ในช่วงที่รัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบ มีการคาดการณ์ไว้ว่าผู้ดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐจะถูกเลือกจากประมุขสูงสุดของราชสกุลทั้งสี่ อย่างไรก็ตามไม่มีการกำหนดเนื้อหาส่วนนี้ไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าซามัวเป็นประเทศสาธารณรัฐ มากกว่าที่จะเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ สำนักเลขาธิการด้านสื่อของรัฐบาลอธิบายตำแหน่งนี้ว่าเป็นลักษณะของ "ประธานาธิบดีทางพิธีการ" ผู้ดำรงตำแหน่งจะมีอิสริยยศที่ ไฮเนส ในฐานะที่เป็นหนึ่งในประมุขสูงสุดของแต่ละราชวงศ์
คณะผู้รักษาการแทนทำหน้าที่เป็นรองประมุขแห่งรัฐ และจะทำหน้าที่แทนประมุขแห่งรัฐหากไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ประมุขแห่งรัฐพระองค์ปัจจุบันคือวาอาเลโตอา ซูอาลาอูวีที่ 2 ผู้ซึ่งได้รับเลือกให้เป็นโอเลอาโอโอเลมาโลเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2017 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
ประวัติ
[แก้]เมื่อซามัวได้รับเอกราชในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1962 สอง[4]ในสี่ประมุขสูงสุด (ตามาอาอาอีงา) ได้แก่มาลีเอตัว ตานุมาฟิลิที่ 2 และตูปัว ตามาเซเซ เมอาโอเล ซึ่งมาจากราชวงศ์มาลีเอตัวและตูปัว ตามาเซเซตามลำดับ โดยทั้งสองพระองค์ได้รับตำแหน่งประมุขแห่งรัฐตลอดชีพตามความรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1960[5] ทั้งสองพระองค์เป็นที่รู้จักในฐานะ โออาโอโอเลมาโล และโดยส่วนพระองค์ในฐานะ โอเลอาโอโอเลมาโล[3] เมอาโอเลสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1963 ทำให้ตำแหน่งนี้ถูกครองโดยตานุมาฟิลิที่ 2 ตราบจนกระทั่งพระองค์สิ้นพระชนม์ในตำแหน่งเมื่อ ค.ศ. 2007 พระชนมายุ 94 พรรษา[6][7] ผู้ดำรงตำแหน่งต่อมาได้แก่ตูปัว ตามาเซเซ เอฟี ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย และเป็นพระโอรสองค์ใหญ่ของตูปัว ตามาเซเซ เมอาโอเล พระองค์ได้รับเลือกจากรัฐสภาซามัวโดยมีวาระ 5 ปี เริ่มตั้งแต่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2007[8] และอีกวาระหนึ่งในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 เป็นเวลา 5 ปี ประมุขแห่งรัฐพระองค์ที่ 4 และองค์ปัจจุบันได้แแก่ ตูอิมาเลอาลีอีฟาโน วาอาเลโตอา เอตี ซูอาลาอูวีที่ 2 เหลนของผู้นำขบวนการเมาคือตูอิมาเลอาลีอีฟาโน ฟาอาโอโลอีอี และหลานชายของตูอิมาเลอาลีอีฟาโน ซูอาตีปาตีปาที่ 2 ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งคณะผู้รักษาการแทนชุดแรก[9] โดยได้รับเลือกจากรัฐสภาซามัวในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2017 ให้ดำรงตำแหน่งต่อจากตูฟูงา เอฟี ในช่วงที่วาระของตูฟูงา เอฟีกำลังหมดลง
คุณสมบัติ
[แก้]รัฐธรรมนูญซามัวมาตรา 18 กำหนดคุณสมบัติของประมุขแห่งรัฐ ดังนี้
- มีคุณสมบัติเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา
- มีคุณสมบัติตามที่รัฐสภา (โฟโน) มีมติกำหนด
- ไม่เคยถูกถอดถอนจากตำแหน่งจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือภาวะทุพพลภาพ[3]
วาระการดำรงตำแหน่ง
[แก้]โฟโน เป็นผู้เลือกประมุขแห่งรัฐ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และสามารถได้รับการเลือกตั้งต่อได้ ข้อยกเว้นจากกรณีนี้คือมาลีเอตัว ตานุมาฟิลิที่ 2 และเมอาโอเล ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นจากวาระ 5 ปีดังกล่าว ตามความในรัฐธรรมนูญมาตรา 19[3] รัฐธรรมนูญมิได้กำหนดจำนวนวาระในฐานะประมุขแห่งรัฐ แต่เป็นที่เข้าใจกันว่าตำแหน่งจะสลับสับเปลี่ยนกันระหว่างราชตระกูล (ตามาไองา) ทั้งสี่ ผู้ที่ได้รับเลือกล่าสุดมาจากราชตระกูลตูอีมาเลอาลีอีโฟโน นอกจากสามตระกูลดังกล่าวข้างต้น อีกราชตระกูลหนึ่งคือมาตาอาฟา[5]
การออกจากตำแหน่งประมุขของรัฐมีสาเหตุดังนี้
- ลาออก
- ถูกถอดถอนจากตำแหน่งจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือภาวะทุพพลภาพ
- ถูกถอดถอนโดยโฟโนด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 โดยการถอดถอนดังกล่าวต้องได้รับการสนับสนุน 1 ใน 4 ของสมาชิกรัฐสภา จากนั้นต้องใช้เวลาอย่างน้อย 14 วันระหว่างการประกาศให้ทราบและการอภิปราย[3]
- สิ้นพระชนม์
อำนาจหน้าที่
[แก้]ตำแหน่งดังกล่าวมีสถานะเป็นประมุขแห่งรัฐทางพิธีการ ขณะที่อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่นายกรัฐมนตรี ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากประมุขแห่งรัฐตามคำแนะนำของโฟโน ขณะที่ประมุขแห่งรัฐมิได้มีบทบาทในรัฐบาล แต่เขาสามารถยุบ โฟโน ได้ และพระราชบัญญัติจากรัฐสภาจะเป็นกฎหมายไม่ได้หากไม่ได้รับความเห็นชอบจากประมุขแห่งรัฐ[10] นอกจากนี้ประมุขแห่งรัฐมีอำนาจในการให้อภัยโทษอีกด้วย[11]
การเลือกตั้ง
[แก้]จนถึงปัจจุบัน มีการเลือกตั้งประมุขแห่งรัฐทั้งสิ้น 3 ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นในวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2007 ที่โฟโนเลือกตูฟูงา เอฟี ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ 49 เสียง ครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 เมื่อเอฟีได้รับการเสนอชื่อจากตูอีลาเอปา ไอโอโน ไซเลเล มาลีเอเลงาโออี นายกรัฐมนตรีและปาลูซาลูเอ ฟาอาโปที่ 2 ผู้นำฝ่ายค้าน ครั้งที่สามเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2017 ซึ่งในครั้งนี้วาอาเลโตอา ซูอาลาอูวีที่ 2 ได้รับเลือก[12]
รายพระนามประมุขแห่งรัฐ
[แก้]- สัญลักษณ์
- หมายถึงรักษาการประมุขแห่งรัฐ
- † สิ้นพระชนม์ในตำแหน่ง
เชิงอรรถ
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sobserver
- ↑ Hill, Bruce (28 September 2016). "Samoan leaders salaries published by newspaper". ABC Radio Australia.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Constitution of the Independent State of Western Samoa 1960". University of the South Pacific. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กรกฎาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2007.
- ↑ Hassall, Graham & Saunders, Cheryl (2002). Asia-Pacific Constitutional Systems. Cambridge University Press. p. 41. ISBN 0-521-59129-5.
- ↑ 5.0 5.1 New Zealand Herald (28 June 2007). "Name says it all for Samoa's new leader". The New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 28 December 2007.
- ↑ "Samoan king dies at the age of 94". The Sydney Morning Herald. 13 May 2007. สืบค้นเมื่อ 13 May 2007.
- ↑ Jackson, Cherelle (13 May 2007). "Samoa's Head of State Malietoa dies aged 95". The New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 1 November 2011.
- ↑ New Zealand Herald (16 June 2007). "New head of state for Samoa". The New Zealand Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 16 June 2007.
- ↑ "TUIMALEALI'IFANO". members.iinet.net.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2016. สืบค้นเมื่อ 17 September 2017.
- ↑ Kogan Page; World of information (2003). Asia and Pacific Review 2003/04, 21st edition. Essex, England: Walden Publishing Ltd. p. 41. ISBN 0-7494-4063-5.
- ↑ eDiplomat.com. "Samoa". สืบค้นเมื่อ 28 December 2007.
- ↑ Samoa’s parliament reappoints Tui Atua as head of state Radio New Zealand International, 19 July 2012.
- ↑ Samoa Planet[ลิงก์เสีย]