บุลศักดิ์ โพธิเจริญ
พันเอก บุลศักดิ์ โพธิเจริญ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี 2 สมัย อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) อดีตสมาชิกกลุ่ม 10 มกรา เป็นหนึ่งในผู้ต้องหาร่วมกับพลตรี มนูญกฤต รูปขจร ในคดีลอบสังหารบุคคลสำคัญ[1]
ประวัติ
[แก้]พันเอก บุลศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2478[2] สำเร็จการศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิต จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
พันเอก บุลศักดิ์ เคยได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อ พ.ศ. 2521 ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี ครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยเขาเป็นสมาชิกในกลุ่ม 10 มกรา[3] ซึ่งต่อมาย้ายไปอยู่พรรคพลังธรรม และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531
ต่อมาพันเอก บุลศักดิ์ มีบทบาทสำคัญในการล้มรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. เผยแพร่ภาพคำสารภาพของเขาผ่านทางสถานีโทรทัศน์ โดยระบุว่าเขายอมรับความผิดในการวางแผนล้มล้างราชวงศ์จักรี[4] พร้อมทั้งแฉว่า พล.ต.มนูญ เพื่อนร่วมรุ่น เป็นบุคคลที่ชอบหักหลังและทรยศ มีความทะเยอทะยานต้องการให้ตัวเองเป็นใหญ่ แต่ต่อมาในปี 2537 พลตำรวจเอก เสรี เตมียเวส เปิดเผยว่าคำให้การดังกล่าวเป็นการสร้างหลักฐานเท็จเพื่อล้มรัฐบาล[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2533 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
- พ.ศ. 2531 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[7]
- พ.ศ. 2516 –
เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[8]
- พ.ศ. 2519 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[9]
- พ.ศ. 2511 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พลิกตำนาน “ลอบสังหาร” ผู้นำไทย เรื่องจริงหรืออิงนิยาย ?
- ↑ ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2532. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2532
- ↑ บทเรียนสอนไม่จำ 32ปี กลุ่ม "10 มกรา" คนประชาธิปัตย์ ซ้ำรอยเสี้ยมกันเอง
- ↑ "แถลงการณ์คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 1" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-04-03.
- ↑ พลิกตำนาน ลอบสังหาร บุคคลสำคัญ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓๐, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๗๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑