ข้ามไปเนื้อหา

นิวโรเซอร์ปิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
SERPINI1
Available structures
PDBOrtholog search: PDBe RCSB
Identifiers
AliasesSERPINI1, PI12, neuroserpin, serpin family I member 1, HNS-S2, HNS-S1
External IDsOMIM: 602445 MGI: 1194506 HomoloGene: 21045 GeneCards: SERPINI1
Orthologs
SpeciesHumanMouse
Entrez
Ensembl
UniProt
RefSeq (mRNA)

NM_005025
NM_001122752

NM_009250
NM_001357514

RefSeq (protein)

NP_001116224
NP_005016

NP_033276
NP_001344443

Location (UCSC)Chr 3: 167.74 – 167.83 MbChr 3: 75.46 – 75.55 Mb
PubMed search[3][4]
Wikidata
View/Edit HumanView/Edit Mouse

นิวโรเซอร์ปิน หรือ เซอร์ปิน ไอ1 (อังกฤษ: Neuroserpin: SERPINI1 หรือ Serpin I1) เป็นโปรตีนของมนุษย์ และเป็นโปรตีนสมาชิกลำดับที่ 1 ในเคลดไอของมหาวงศ์เซอร์ปิน (Serpin family I member 1) ถูกถอดรหัสได้จากยีน SERPINI1 บนโครโมโซมคู่ที่ 3 ออกฤทธิ์ต้านการทำงานของเอนไซม์ซีรีนโปรตีเอส ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการของเซลล์หลายอย่าง[5] นิวโรเซอร์ปินถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1989 จากกลุ่มสารที่ถูกหลั่งออกมาจากแอกซอนของปมประสาทรากหลัง[6] โดยโปรตีนชนิดนี้จะแสดงออกในขั้นท้ายของการกำเนิดประสาท (neurogenesis) ระหว่างกระบวนการสร้างจุดประสานประสาท (Synaptogenesis)[5]

การกลายพันธุ์ของยีน SERPINI1 ที่ทำหน้าที่ควบคุมการแสดงออกของนิวโรเซอร์ปิน มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคสมองฝ่อสาเหตุกรรมพันธุ์จากการสะสมของนิวโรเซอร์ปิน (Familial encephalopathy with neuroserpin inclusion bodies; FENIB) ซึ่งจะทำให้เกิดความบกพร่องทางสติปัญญาและอาการชักได้[7]

อันตรกิริยา

[แก้]

การทดสอบในหลอดทดลองพยว่านิวโรเซอร์ปินสามารถเกิดอันตรกิริยากับตัวกระตุ้นพลาสมิโนเจนจากเนื้อเยื่อ (Tissue plasminogen activator; tPA หรือ PLAT) ได้ดี[8][9] ซึ่งแตกต่างสารยับยั้งตัวกระตุ้นพลาสมิโนเจนชนิดอื่นๆ ที่มักมีประสิทธิภาพในการยับยั้งตัวกระตุ้นพลาสมิโนเจนชนิดยูโรไคเนส (Urokinase หรือ urokinase-type plasminogen activator; uPA) มากกว่า[9]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 GRCh38: Ensembl release 89: ENSG00000163536Ensembl, May 2017
  2. 2.0 2.1 2.2 GRCm38: Ensembl release 89: ENSMUSG00000027834Ensembl, May 2017
  3. "Human PubMed Reference:". National Center for Biotechnology Information, U.S. National Library of Medicine.
  4. "Mouse PubMed Reference:". National Center for Biotechnology Information, U.S. National Library of Medicine.
  5. 5.0 5.1 "Entrez Gene: SERPINI1 serpin peptidase inhibitor, clade I (neuroserpin), member 1".
  6. Cassandra L. Kniffin (2008). "Serine Protease Inhibitor, Clade I, Member 1; SERPINI1". Omim.org. Online Mendelian Inheritance in Man. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2020. สืบค้นเมื่อ 7 October 2020.
  7. National Library of Medicine. Genetics Home Reference - Familial encephalopathy with neuroserpin inclusion bodies
  8. Parmar, Parmjeet K; Coates Leigh C; Pearson John F; Hill Rena M; Birch Nigel P (September 2002). "Neuroserpin regulates neurite outgrowth in nerve growth factor-treated PC12 cells". J. Neurochem. 82 (6): 1406–15. doi:10.1046/j.1471-4159.2002.01100.x. ISSN 0022-3042. PMID 12354288.
  9. 9.0 9.1 Hastings GA, Coleman TA, Haudenschild CC, และคณะ (December 1997). "Neuroserpin, a brain-associated inhibitor of tissue plasminogen activator is localized primarily in neurons. Implications for the regulation of motor learning and neuronal survival". Journal of Biological Chemistry. 272 (52): 33062–7. doi:10.1074/jbc.272.52.33062. ISSN 0021-9258.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • ฐานข้อมูลออนไลน์ MEROPS สำหรับเปปทิเดส และสารยับยั้งเปปทิเดส: I04.025[ลิงก์เสีย]