ข้ามไปเนื้อหา

จุดประสานประสาท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพของไซแนปส์เคมี ซึ่งเป็นการติดต่อกันระหว่างเซลล์ประสาทเพื่อเปลี่ยนกระแสประสาทเป็นสารสื่อประสาทในการนำสัญญาณประสาทไปยังเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์

ไซแนปส์ (อังกฤษ: Synapse) หรือ จุดประสานประสาท เป็นช่องว่างพิเศษระหว่างส่วนแรก คือ เซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์ กับส่วนที่สองที่อาจเป็นเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์หรือเซลล์ชนิดอื่น เช่น เซลล์กล้ามเนื้อลาย และเซลล์ของต่อม เป็นต้น เพื่อสื่อสารและถ่ายทอดข้อมูลในการทำงานของระบบประสาท ในทางประสาทวิทยาศาสตร์ ไซแนปส์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

  1. ไซแนปส์เคมี (Chemical synapse) เป็นไซแนปส์ที่ใช้สารเคมีที่เรียกว่าสารสื่อประสาทเป็นตัวสื่อสาร ไซแนปส์ชนิดนี้พบได้เกือบทั้งหมดในระบบประสาทของมนุษย์ที่โตเต็มที่แล้ว ดังนั้นไซแนปส์ในความหมายโดยทั่วไปจึงหมายถึงไซแนปส์เคมี
  2. ไซแนปส์ไฟฟ้า (Electrical synapse) มีโครงสร้างและการทำงานที่ไม่ซับซ้อน โดยเกิดจากการเคลื่อนย้ายกระแสไฟฟ้าระหว่างเซลล์ที่อยู่ติดกันผ่านทางแกปจังชัน (gap junction) ไซแนปส์ชนิดนี้มีความสำคัญในการเจริญพัฒนาของสมองในระยะตัวอ่อน (เอ็มบริโอ)

อ้างอิง

[แก้]
  • Mark Bear, Mark F. Bear, Barry W. Connors, Michael A. Paradiso (2001). Neuroscience: Exploring the Brain. Hagerstown, MD: Lippincott Williams & Wilkins. ISBN 0-7817-3944-6.