นิพัทธ์ ทองเล็ก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
นิพัทธ์ ทองเล็ก | |
---|---|
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
ปลัดกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (0 ปี 235 วัน) | |
ก่อนหน้า | ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน |
ถัดไป | สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 ตุลาคม พ.ศ. 2498 จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย |
คู่สมรส | ทันตแพทย์หญิง รัตนาวดี ทองเล็ก |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก |
พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก เป็นอดีตนายทหารและนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ภูมิธรรม เวชยชัย) อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน) และเคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พล.อ. นิพัทธ์ เกิดเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของ พ.อ. สนอง และนางไพเราะ ทองเล็ก
พล.อ. นิพันธ์ สมรสกับ ทันตแพทย์หญิง รัตนาวดี ทองเล็ก อดีตนายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีบุตร 2 คน
การศึกษา
[แก้]พล.อ. นิพัทธ์ สำเร็จการศึกษา ดังนี้[1]
- พ.ศ. 2513 : โรงเรียนเทพศิรินทร์
- พ.ศ. 2514 : โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 14
- พ.ศ. 2521 : โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 25
- พ.ศ. 2523 : หลักสูตรชั้นนายร้อย ประเทศออสเตรเลีย
- พ.ศ. 2526 : หลักสูตรชั้นนายพัน ประเทศนิวซีแลนด์
- พ.ศ. 2530 : โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 65
- พ.ศ. 2531 : วิทยาลัยเสนาธิการทหารบก (CGSC) ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2551 : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
รวมถึงปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการ) จากมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์
การทำงาน
[แก้]พล.อ. นิพัทธ์ เริ่มชีวิตราชการทหารในตำแหน่งผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ต่อมาได้ปรับย้ายเป็น ผู้บังคับกองร้อยฝึก ร.21 พัน.3 รอ. ปฏิบัติการตามแผนป้องกันประเทศ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี โดยในช่วงที่เกิดเหตุกบฎเมษาฮาวาย ซึ่ง พล.อ. นิพัทธ์ ในขณะนั้นครองยศร้อยโท ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าชุดปฏิบัติการ ได้รับคำสั่งให้นำกำลังชุดปฏิบัติการพิเศษ เข้าควบคุมตัว พ.อ. ประจักษ์ สว่างจิตร และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายก่อการยึดอำนาจ[2]
หลังจากนั้น พล.อ. นิพัทธ์ได้ศึกษาต่อยังต่างประเทศ ได้รับตำแหน่งเป็นรองอาวุโสหัวหน้าภารกิจควบคุมการหยุดยิงในอาเจห์ อินโดนีเซีย (Principal Deputy Head of Mission of the Aceh Monitoring Mission) จนเกิดความสงบในจังหวัดอาเจห์ อินโดนีเซีย และชีวิตราชการของเขาก็ก้าวหน้าเป็นลำดับ จนกระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นปลัดกระทรวงกลาโหมเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 โดยผลงานสำคัญคือเป็นแกนนำเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งในภาคใต้กับขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ[3]ระหว่าง 21 มกราคม พ.ศ. 2557 - 31 มีนาคม 2557 จากนั้นหลังรัฐประหาร พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. มีคำสั่งให้ย้ายไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[4], ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม[5] และแต่งตั้งเขาเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามลำดับ[6]
ในปี พ.ศ. 2563 พล.อ. นิพัทธ์ เคยได้เสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่กรรมการสรรหาฯ วินิจฉัยว่าเขามีลักษณะต้องห้ามเพราะเพิ่งพ้นจากการดำรงตำแหน่ง สนช.[7]
ได้เป็นแกนนำเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งในภาคใต้กับขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2556[8]
ในปี พ.ศ. 2565 พล.อ.นิพัทธ์เป็นหนึ่งในคณะที่ปรึกษาของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[9] เขาเสนอให้ปรับปรุงโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพฯ จำนวน 437 แห่ง และแนะนำให้เพิ่มศักยภาพเทศกิจ ให้สามารถช่วยงานด้านความปลอดภัยทางชีวิตและทรัพย์สินในช่วงเวลากลางคืน[10] ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[11] เป็นคีย์แมนคนสำคัญที่นำไปสู่การจับกุม แป้ง นาโหนด ได้ที่อินโดนีเซีย โดยใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัว สมัยที่เป็นนายทหารกระบวนการสันติภาพที่อาเจะห์ อินโดนีเซีย ประสานงานกับอดีตรองประธานาธิบดีอินโดนีเซีย นายยูซุฟ คัลลา ซึ่งสนิทสนมกันในตอนนั้น ยกหูไปเล่าให้ฟัง จนนำไปสู่การตามล่า แป้ง นาโหนด ร่วมกัน แบบไม่ต้องมีเอกสารทางการแม้แต่ใบเดียว[12] และในปี พ.ศ. 2567 เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ภูมิธรรม เวชยชัย) และยังได้เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์มติชน ทุกวันจันทร์ ในคอลัมน์ "ภาพเก่าเล่าตำนาน" อีกทั้งยังมีการทำสารคดีทั้งในยูทูป[13] และ tiktok ช่อง ปู่แป๊ะTIKTOK
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[14]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[15]
- พ.ศ. 2528 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[16]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[17]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[18]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2548 - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นนายทหาร[19]
- อินโดนีเซีย :
- พ.ศ. 2550 - เครื่องอิสริยาภรณ์บินตังจาซา ชั้นอุตมา[20]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติ พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก GEN NIPAT THONGLEK
- ↑ ""กบฏเมษาฮาวาย" รัฐประหารเรื่องคอขาดบาดตาย! กลับกลายเป็นครื้นเครงได้ในเดือนเมษายน!!". mgronline.com. 2020-04-17.
- ↑ ออกคำสั่งที่ พิเศษ 1/2557 เรื่องจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบ
- ↑ "คสช.สั่งย้ายบิ๊กขรก.'อดุลย์-ธาริต-นิพัทธ์'". กรุงเทพธุรกิจ. 25 May 2014. สืบค้นเมื่อ 2 June 2022.
- ↑ "คสช.สั่งเด้งข้าราชการล็อตใหญ่ ทั้ง "นิพัทธ์ - ธาริต - ทวี"". mgronline.com. 2014-06-27.
- ↑ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
- ↑ "มติกรรมการสรรหา กสม.'นิพัทธ์ ทองเล็ก'มีลักษณะต้องห้าม เหตุพ้น สนช.ไม่เกิน 10 ปี". สำนักข่าวอิศรา. 30 May 2020. สืบค้นเมื่อ 2 June 2022.
- ↑ "จับตา"บิ๊กเนม"-คนดัง ส่อวืดที่นั่ง "ทีมชัชชาติ" ฝุ่นตลบศาลาว่าการกรุงเทพ". NationTV. 27 May 2022. สืบค้นเมื่อ 2 June 2022.
- ↑ ""ชัชชาติ" เปิดตัว "รองผู้ว่าฯ" เน้นนโยบายเรียบง่าย ไม่คอรัปชั่น". คมชัดลึกออนไลน์. 2022-06-01.
- ↑ "เปิดใจ "พล.อ.นิพัทธ์" ที่ปรึกษาชัชชาติ เชื่อกรุงเทพฯ เปลี่ยนแปลงแน่". Thai PBS. 2022-06-01.
- ↑ มติครม. แต่งตั้งพรึบ ชัยเกษม-สงคราม ไขก๊อกส.ส. รับที่ปรึกษานายกฯ มีชื่อนิพัทธ์-พิชัย
- ↑ Ch7HDNews (2024-05-31), เปิดใจ “พล.อ.นิพัทธ์” คีย์แมนสำคัญจับ “แป้ง นาโหนด” | ข่าวเย็นประเด็นร้อน, สืบค้นเมื่อ 2024-11-06
- ↑ "ภาพเก่าเล่าตํานาน โดย ปู่แป๊ะ". YouTube.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๕, ๔ ตุลาคม ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๖๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๗, ๑๐ เมษายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 122 ตอนที่ 2 ข หน้า 19, 4 มีนาคม 2548
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 124 ตอนที่ 11 ข หน้า 9, 16 กรกฎาคม 2550
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเหรียญตราต่างประเทศ, เล่ม 127 ตอนที่ 13 ข หน้า 14, 5 พฤศจิกายน 2553