ณัฐ อินทรเจริญ
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ณัฐ อินทรเจริญ | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
สมาชิกโดยตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 30 กันยายน พ.ศ. 2564 | |
ถัดไป | พลเอก วรเกียรติ รัตนานนท์ |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[1] | |
ดำรงตำแหน่ง 25 กันยายน พ.ศ. 2557 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
ปลัดกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 30 กันยายน พ.ศ. 2564 | |
ก่อนหน้า | พลเอก เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ |
ถัดไป | พลเอก วรเกียรติ รัตนานนท์ |
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 มกราคม พ.ศ. 2504 |
คู่สมรส | รมิดา อินทรเจริญ |
บุตร | สุนัดดา อินทรเจริญ ณบดี อินทรเจริญ ภัทรภร อินทรเจริญ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย กระทรวงกลาโหม |
ประจำการ | พ.ศ. 2527 - 2564 |
ยศ | พลเอก
พลเรือเอก พลอากาศเอก[2] |
พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ กรรมการมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด อดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 นายทหารชาวไทย อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม[3]อดีตเป็นกรรมการศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด – 19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ[4], อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)[5]กรรมการในคณะกรรมการฝ่ายโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 กรรมการในคณะอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก[6]ประธานคณะกรรมการควบคุมยุทธภัณฑ์[7]กรรมการในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ[8] และ กรรมการ มูลนิธิร่วมจิตต์ น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์[9]กรรมการในคณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ[10]
ในวันที่ 13 สิงหาคม 2563 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) [11]
ประวัติ
[แก้]พลเอกณัฐ อินทรเจริญ เกิดที่อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน) เป็นบุตรของนายวิจัย กับนางอมร อินทรเจริญ มีพี่น้อง 7 คน คู่สมรส นางรมิดา อินทรเจริญ นายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีบุตรและธิดา 3 คน
การศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2520 โรงเรียนหอวัง กรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2522 โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๒๐ (ตท.20)
- พ.ศ. 2527 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ ๓๑ (จปร.31)
- พ.ศ. 2529 หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าทหารราบ รุ่นที่ ๗๔
- พ.ศ. 2533 หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารราบ รุ่นที่ ๕๓
- พ.ศ. 2536 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ ๗๑
- พ.ศ. 2558 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๘
การรับราชการทหาร
[แก้]- พ.ศ. 2527 ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบากองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2531 ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2534 นายทหารยุทธการและการฝึก กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2539 หัวหน้าฝ่ายการข่าวกรอง กองพลทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2540 หัวหน้าฝ่ายยุทธการ กองพลทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2548 เสนาธิการมณฑลทหารบกที่ ๑๑
- พ.ศ. 2549 ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกกาญจนบุรี
- พ.ศ. 2552 หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พ.ศ. 2553 ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกกาญจนบุรี (อัตราพลตรี)
- พ.ศ. 2556 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๑๔[12]
- พ.ศ. 2557 ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๙[13]
- พ.ศ. 2558 รองแม่ทัพภาคที่ ๑[14]
- พ.ศ. 2559 รองเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2560 หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[15]
- พ.ศ. 2560 รองปลัดกระทรวงกลาโหม
- พ.ศ. 2561 ปลัดกระทรวงกลาโหม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[17]
- พ.ศ. 2541 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)
- พ.ศ. 2554 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. 2540 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557
- ↑ "พระราชทานยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-10. สืบค้นเมื่อ 2019-04-07.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอน ๒๑๒ ง พิเศษ หน้า ๑-๕๔ วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๑
- ↑ กรรมการศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด – 19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๒/๒๕๖๑ เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๒๓๙ ง พิเศษ หน้า ๕๙ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๑
- ↑ "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 17/2562" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-11-04. สืบค้นเมื่อ 2019-04-29.
- ↑ ประธานคณะกรรมการควบคุมยุทธภัณฑ์
- ↑ กรรมการในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
- ↑ รายชื่อกรรมการมูลนิธิ
- ↑ กรรมการในคณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ
- ↑ มติคณะรัฐมนตรี 13 สิงหาคม 2563
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๐ ตอน พิเศษ ๑๑๘ ง
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๑ ตอน พิเศษ ๑๗๖ ง
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๒ ตอน พิเศษ ๑๙๘ ง
- ↑ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓
- ↑ "เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-02. สืบค้นเมื่อ 2017-12-21.
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2504
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ทหารบกชาวไทย
- ปลัดกระทรวงกลาโหมไทย
- นักการเมืองไทย
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- บุคคลจากโรงเรียนหอวัง
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมทหาร
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- บุคคลจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา