นิทรรศการสันถวไมตรีนานาชาติ
นิทรรศการสันถวไมตรีนานาชาติ | |
ชื่อเกาหลี | |
---|---|
โชซ็อนกึล | 국제친선전람관 |
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Gukje Chinseon Jeollamgwan |
เอ็มอาร์ | Kukche Ch'insŏn Chŏllamgwan |
นิทรรศการสันถวไมตรีนานาชาติ (เกาหลี: 국제친선전람관; International Friendship Exhibition) เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่มโยฮยังซัน จังหวัดพย็องอันเหนือ ประเทศเกาหลีเหนือ นิทรรศการเป็นโถงจัดแสดงของขวัญที่ได้รับมอบจากผู้แทนการทูตจากต่างชาติแก่อดีตผู้นำ คิม อิล-ซ็อง และคิม จ็อง-อิล ธรรมเนียมการให้ของขวัญแก่กันและกันนั้นเป็นส่วนสำคัญหนึ่งของวัฒนธรรมเกาหลี[1]
ประวัติศาสตร์
[แก้]อาคารโถงจัดแสดงสร้างขึ้นด้วยรูปแบบเกาหลีพื้นถิ่น และเปิดให้เข้าชมครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 1978[2] ภายในประกอบไปด้วยมากกว่า 150 ห้อง กินพื้นที่รวม 28,000[3] ถึง 70,000 ตารางเมตร[1] แม้ภายนอกจะดูเหมือนว่าอาคารนี้มีหน้าต่าง แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มี[4] ตามตำนานพื้นถิ่น ว่ากันว่าคิม จ็อง-อิล สร้างอาคารนิทรรศการนี้ขึ้นเสร็จภายในเวลาสามวัน กระนั้นในความเป็นจริงอาคารสร้างเสร็จในเวลาหนึ่งปี[5] ปัจจุบัน มีการคาดการณ์จำนวนสิ่งของจัดแสดงภายในนิทรรศการอยู่ที่ประมาณ 60,000[6] ถึง 220,000 ชิ้น ทั้งหมดเป็นของขวัญที่อดีตผู้นำเกาหลีเหนือได้รับ[7] ผู้เข้าชมจะต้องถอดรองเท้าก่อนเข้าชมนิทรรศการ และจะถูกร้องขอให้โค้งคำนับต่อภาพของคิม อิล-ซ็อง และ คิม จ็อง-อิล[8] ภาพถ่ายทางดาวเทียมเมื่อปี 2017 แสดงให้เห็นว่ามีกิจกรรมใต้ดินเกิดขึ้นในบริเวณ ซึ่งเสนอว่าอาจมีการขยับขยายพื้นที่ของโถงนิทรรศการ[9]
พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ท่ามกลางเขาเมียวฮยัง (Myohyang mountains) ไม่ไกลนักจากวัดโพฮย็อนซา รวมถึงถูกใช้เป็นประเด็นในบทกวีของคิม อิล-ซ็อง บทกวีดังกล่าวเขาได้กล่าวจากระเบียงของอาคารพิพิธภัณฑ์นิทรรศการสันถวไมตรีนานาชาติ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 1979 บทกวีดังกล่าวระบุว่า:[10]
"บนระเบียงนี้ข้าแลเห็น
ทิวอันตระการตาหาที่ใดเปรียบในโลก
ชายคาเขียวโค้งงอขึ้น เพื่อสรรเสริญ
เกียรติยศศักดิ์ศรีของชาติ
และยอดเขาพีโร ยังคงแลดูสูงขึ้น
ว่ากันว่าพิพิธภัณฑ์นี้ใช้งานเพื่อเป็นโฆษณาชวนเชื่อซึ่งให้ความรู้สึกว่ารัฐบาลเกาหลีเหนือได้รับความยอมรับและการสนับสนุนจากนานาชาติ[11] ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์จะได้รับข้อมูลว่าของขวัญจำนวนมหาศาลนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "การยืนยันถึงความรักและความเคารพอันประมาณมิได้ ต่อท่านผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ (คิม อิล-ซ็อง)"[12] อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าชมที่เป็นชาวเกาหลีเหนือไม่ได้ทราบว่าในโลกความเป็นจริงนั้นมีธรรมเนียมทางการทูตสำหรับการแลกเปลี่ยนของขวัญ เฮเลน ลุยส์ ฮันเตอร์ (Helen-Louise Hunter) บรรยายถึงผู้เข้าชมชาวเกาหลีเหนือว่า "ประทับใจจากคำอธิบายที่บรรยายตัวเอง" (impressed by the self-serving explanations)[13] บย็องโล ฟีโล คิม (Byoung-lo Philo Kim) ระบุว่านิทรรศการทั้งหมดนี้มีเป้าหมายคือเพื่อ "ยืนยันแก่ชาวเกาหลีเหนือที่มาเข้าชมว่าผู้นำของพวกเขาได้รับการชื่นชมในสากลโลก"[14]
ของขวัญ
[แก้]ของขวัญส่วนใหญ่ที่ได้รับนั้นมาจากรัฐคอมมิวนิสต์ ตัวอย่างเช่น:
- หัวหมีสตัฟฟ์ จากผู้นำสาธารณรัฐสังคมนิยมโรมาเนีย [นีกอลาเอ ชาวูเชสกู]][15]
- รูปปั้นโลหะรูปคนขี่ม้าขนาดจิ๋ว และกระดานหมากรุกที่ประดับอย่างวิจิตร จากผู้นำสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนลิเบีย มุอัมมัร กัดดาฟี[15]
- กระเป๋าหนังจระเข้ จากผู้นำคิวบา ฟิเดล กัสโตร[15]
- ดาบเงินประกับอัญมณี และโมเดลมัสยิดจำลองทำมาจากไข่มุก จากผู้นำรัฐปาเลสไตน์ ยัสเซอร์ อาราฟัต[15]
- แกรมโมโฟนโบราณจากผู้นำคนแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน โจว เอินไหล และขบวนรถไฟหุ้มเกราะ จากเหมา เจ๋อตง (ปีกหนึ่งของอาคารมีไว้จัดแสดงของขวัญจากจีนโดยเฉพาะ)[15]
- ลูกบาสเกตบอลที่ลงชื่อโดยไมเคิล จอร์แดน จากรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ แมเดลีน ออลไบรต์[16]
- รถลีมูซีนหุ้มเกราะ จากผู้นำสหภาพโซเวียต โจเซฟ สตาลิน[7]
- จระเข้ถือถาดไม้ซึ่งวางแก้วค็อกเทลและที่เชี่ยบุหรี่ที่เข้าคู่กัน จากซันดินิสตา นิการากัว[17]
ของขวัญชิ้นอื่น ๆ ยังรวมถึง รูปปั้นสิงโตทำจากงาช้าง จากแทนซาเนีย, กล่องบุหรี่หุ้มทอง จากยูโกสะลาเวีย, โมเดลรถถังโซเวียตทำจากทองแดง จากเยอรมนีตะวันออก และ ตะเกียบเงินคู่หนึ่งจากมองโกเลีย[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Martin, Bradley, K. (May 16, 2007). "Kim Jong Il Gets the Gifts, and All North Korea Ends Up Paying". Bloomberg L.P.
- ↑ "Anniversary of International Friendship Exhibition marked". Korean Central News Agency. August 26, 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2012. สืบค้นเมื่อ December 3, 2009.
- ↑ Pang, Hwan Ju (1987). Korean Review (3 ed.). Foreign Languages Pub. House. p. 212.
- ↑ "International Friendship Exhibition, treasure-house of Korea". Korean Central News Agency. June 5, 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2013. สืบค้นเมื่อ December 4, 2009.
- ↑ Lim, Jae-Cheon (2009). Kim Jong Il's Leadership of North Korea. Taylor & Francis. p. 162. ISBN 978-0-415-48195-3.
- ↑ Houtryve, Tomas Van (August 20, 2009). "Journey to North Korea, Part II: The Pack-Rat Dictatorship". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 4, 2012.
- ↑ 7.0 7.1 "North Korean museum shows off leaders' gifts". The Age. Reuters. December 21, 2006.
- ↑ Vines, Stephen (August 14, 1997). "The Great Leader rules from beyond the grave". The Independent.
- ↑ "International Friendship Exhibition Expands". MyNorthKorea-AccessDPRK. July 7, 2017. สืบค้นเมื่อ July 29, 2017.
- ↑ Deane, Hugh (1999). The Korean War 1945-1953. China Books. p. 210. ISBN 978-0-8351-2644-1. เนื้อความคำแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า "On the balcony I see the most glorious scene in the world... The Exhibition stands here, its green eaves upturned, to exalt The dignity of the nation, and Piro Peak looks higher still."
- ↑ Portal, Jane; British Museum (2005). Art under control in North Korea. Reaktion Books. p. 95. ISBN 978-1-86189-236-2.
- ↑ Hunter, Helen-Louise (1999). Kim Il-sŏng's North Korea. Greenwood Publishing Group. p. 22. ISBN 978-0-275-96296-8.
- ↑ Hunter, 1999, p. 213.
- ↑ Kim, Byoung-lo Philo (1992). Two Koreas in development: a comparative study of principles and strategies of capitalist and communist Third World development. Transaction Publishers. pp. 102. ISBN 978-0-88738-437-0.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 15.5 Gluckman, Ron (1990s). "90,000 ways to Love a Leader".
- ↑ Wire News Services (November 15, 2009). "Kim Jong-il's North Korea welcomes legal U.S. tourists". Herald de Paris. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2010. สืบค้นเมื่อ December 3, 2009.
- ↑ "North Korea's International Friendship Exhibition Hall". Atlas Obscura (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-08.