ข้ามไปเนื้อหา

นิคม เชาว์กิตติโสภณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิคม เชาว์กิตติโสภณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 (68 ปี)
อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย (2538–2542)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2554)
ประชาธิปัตย์ (2554–ปัจจุบัน)
คู่สมรสนิภา เชาว์กิตติโสภณ
บุตรเชาวยุทธ เชาว์กิตติโสภณ

นิคม เชาว์กิตติโสภณ เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดลำปาง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่[1] และเป็นผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนประชาวิทย์ และ ประธานมูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาวิทย์ จังหวัดลำปาง ปัจจุบันสังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ

[แก้]

นิคม เชาว์กิตติโสภณ เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ด้านครอบครัว สมรสกับนางนิภา เชาว์กิตติโสภณ มีบุตรคือ นายเชาวยุทธ เชาว์กิตติโสภณ อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต 3 เมื่อปี พ.ศ. 2554

การทำงาน

[แก้]

นิคม เชาว์กิตติโสภณ เป็นนักธุรกิจผู้ประกอบกิจการเซรามิกในจังหวัดลำปาง ได้แก่ บริษัทเชาว์ลำปางเครื่องเคลือบดินเผา จำกัด และบริษัทกาสะลองเซรามิค จำกัด และเป็นผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนประชาวิทย์ ซึ่งเป็นโรงเรียนจีนจังหวัดลำปาง[2]

เขาเคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดลำปาง (ส.จ.) 2 สมัย และได้รับเลือกเป็นประธานสภาจังหวัดลำปาง ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดลำปางที่มาจากการเลือกตั้ง

ในปี พ.ศ. 2550 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน กลุ่มที่ 1 ลำดับที่ 9 สังกัดพรรคพลังประชาชน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในยุคของนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์[3] เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ต่อมาพรรคพลังประชาชน ถูกยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรค ทำให้นายนิคม เชาว์กิตติโสภณ ได้เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง ในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน[4]

ในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2553 เขาได้ลงมติสนับสนุนฝ่ายรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์[5] และร่วมกิจกรรมกับพรรคประชาธิปัตย์[6]หลายครั้ง กระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เขาตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขตเลือกตั้งที่ 4 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์[7] แต่สอบตก โดยแพ้ให้กับนายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ จากพรรคเพื่อไทย

ในปี 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 3 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ได้ 8,408 คะแนน เป็นลำดับที่ 4 ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับจรัสฤทธิ์ จันทรสุรินทร์ จากพรรคเพื่อไทย

ในการเลือกตั้งปี 2566 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 7 ประกอบด้วย อำเภอแม่อาย อำเภอฝาง และอำเภอไชยปราการ (เฉพาะตำบลแม่ทะลบและตำบลปงตำ) ได้หมายเลข 5

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

นิคม เชาว์กิตติโสภณ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดการแข่งขันฟุตบอลประชาชน แม่อายคัพ ครั้งที่ ๑ ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๕
  2. โรงเรียนประชาวิทย์
  3. คำสั่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 759/2551
  4. "ประกาศสภาผูแทนราษฎร เรื่ื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลําดับถัดไปในบัญชีรายชื่ื่อของพรรคการเมือง เลื่ื่อนขึ้ึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตําแหน่งที่ว่าง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 2022-06-05.
  5. เปิดใจ “นิคม เชาว์กิตติโสภณ” มือโหวตสวนมติ พท.-ยันไม่ใช่“งูเห่า”-รับอึดอัดเพื่อไทยจำกัดสิทธิ[ลิงก์เสีย]
  6. นิคม เชาว์กิตติโสภณจาก ไทยรัฐ
  7. ช้างชนช้าง-เขต4ลำปางเดือด"นิคม"แกะดำเพื่อไทยชิง"อิทธิรัตน์"
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗