อิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์
อิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 มกราคม พ.ศ. 2507 |
เสียชีวิต | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 (56 ปี) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2543–2549) พลังประชาชน (2549–2551) เพื่อไทย (2551–2563) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
อิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ (22 มกราคม พ.ศ. 2507 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง 5 สมัย
ประวัติ
[แก้]อิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2507 เป็นบุตรของนายพินิจ จันทรสุรินทร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนางจุไรรัตน์ มีพี่น้อง 3 คน หนึ่งในนั้นคือนายจรัสฤทธิ์ จันทรสุรินทร์ ส.ส.ลำปาง เขต 3 สำเร็จการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง และรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมรสกับนางภุมรา มีบุตร 1 คน
งานการเมือง
[แก้]อดีตรับราชการกรมการปกครอง และสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ก่อนลาออกมาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย ร่วมกับนายพินิจ (บิดา) หลังจากนั้นได้รับการเลือกตั้งต่อกันมาอีก 4 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย เอาชนะนายนิคม เชาว์กิตติโสภณ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]อิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดลำปาง สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดลำปาง สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดลำปาง สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดลำปาง สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดลำปาง สังกัดพรรคเพื่อไทย
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]อิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือด ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 สิริอายุรวม 56 ปี[1][2] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ณ สุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2551 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สิ้นส.ส.ดังลำปาง! 'อิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์'จากไปอย่างสงบด้วยวัย56ปี
- ↑ "อิทธิรัตน์"ส.ส.ลำปาง เพื่อไทย ติดเชื้อในกระแสเลือดเสียชีวิต!
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2507
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2563
- บุคคลจากอำเภอเกาะคา
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดลำปาง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.