ข้ามไปเนื้อหา

นกแก้วนิวซีแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นกแก้วนิวซีแลนด์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีนตอนต้นถึงปัจจุบัน
คากา ชนิดย่อยเกาะเหนือ
(Nestor meridionalis septentrionalis)
ที่สวนสัตว์ออกแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: Psittaciformes
วงศ์ใหญ่: Strigopoidea

Bonaparte, 1849
วงศ์: Strigopidae

Bonaparte, 1849
สกุล
ชื่อพ้อง
  • Nestoridae Bonaparte, 1849

นกแก้วนิวซีแลนด์ (อังกฤษ: New Zealand parrot) ในวงศ์ Strigopidae[1] ประกอบด้วยนกแก้วอย่างน้อย 3 สกุล ได้แก่ – Nestor, Strigops และฟอสซิล Nelepsittacus[2][3] และอาจรวมฟอสซิล Heracles[4] สกุล Nestor ประกอบด้วยคีอา, คากา, คากานอร์ฟอล์ก และคากาแชทัม[5][6] ส่วนสกุล Strigops ประกอบด้วยคากาโปที่มีชื่อเสียง[5] นกแก้วทุกชนิดในนี้เป็นสัตว์พื้นถิ่นในประเทศนิวซีแลนด์[7] โดยนกแก้วชนิดที่อยู่ในสกุล Nelepsittacus พบได้ในเกาะหลัก ส่วนสองชนิดที่สูญพันธุ์แล้วในสกุล Nestor พบในเกาะมหาสมุทรใกล้เคียง เช่น หมู่เกาะแชทัมของนิวซีแลนด์ และเกาะนอร์ฟอล์กกับเกาะฟิลลิปใกล้เคียง

คากานอร์ฟอล์กและคากาแชทัมได้สูญพันธุ์ไปในระยะหลังนี้[8][9] ส่วนนกแก้วชนิดในสกุล Nelepsittacus สูญพันธุ์ไปเมื่อ 16 ล้านปีก่อน ส่วนคากาโป คีอาทุกชนิด และคากาชนิดย่อย 2 ชนิด อยู่ในสถานะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์[10][11][12] กิจกรรมของมนุษย์ก่อให้เกิดการสูญพันธุ์ของนกสองชนิดก่อนหน้าและทำให้อีก 3 ชนิดลดลง ผู้ตั้งถิ่นฐานนำสัตว์ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน เช่น หมู แมว สุนัขจิ้งจอก วีเซิล หนู และพอสซัมที่กินไข่ของนกที่วางไข่บนพื้นดิน และจำนวนนกที่ลดลงมีสาเหตุเพิ่มเติมจากการล่าสัตว์เป็นอาหาร การฆ่าสัตว์ฐานเป็นศัตรูพืช การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติ และการนำเข้าต่อ[13][14][15]

นกแก้ววงศ์นี้แยกจากนกแก้วชนิดอื่น ๆ เมื่อนิวซีแลนด์แยกตัวออกจากกอนด์วานาประมาณ 82 ล้านปีก่อน ส่วนบรรพบุรุษของสกุล Nestor กับ Strigops แยกจากกันเมื่อระหว่าง 60 ถึง 80 ล้านปีก่อน[16][17]

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

[แก้]

ไม่มีฉันทามติเกี่ยวกับอนุกรมวิธานของ Psittaciformes จนกระทั่งเมื่อไม่นานนี้ การจัดตั้งชนิดใน Strigopoidea ในอดีตมีอยู่หลายแบบ[18] นกแก้ววงศ์นี้อยู่ในวงศ์ใหญ่ Strigopoidea โดยวงศ์ใหญ่นี้เป็นหนึ่งในสามวงศ์ใหญ่ในอันดับ Psittaciformes ส่วนอีกสองวงศ์คือ Cacatuoidea (นกกระตั้ว) และ Psittacoidea (นกแก้วแท้)[19] ในขณะที่นักอนุกรมวิธานบางส่วนรวมสามสกุล (Nestor, Nelepsittacus และ Strigops) เข้าในวงศ์ Strigopidae นักอนุกรมวิธานอีกส่วนจัดให้สกุล Nestor และ Nelepsittacus อยู่ในวงศ์ Nestoridae และเหลือเพียง Strigops เข้าในวงศ์ Strigopidae[19][20] ตามแบบดั้งเดิม สายพันธุ์ของวงศ์ Strigopoidea จัดอยู่ในวงศ์ใหญ่ Psittacoidea แต่งานศึกษาหลายชิ้นยืนยันการจัดวางที่ไม่เหมือนใครของกลุ่มนี้ที่ฐานต้นของนกแก้ว[16][19][21][22]

ชนิด

[แก้]

ชื่อสามัญ

[แก้]
ที่อยู่ในปัจจุบันของนกแก้วชนิดนี้ทั้งหมด รวมถึงชนิดบนเกาะในอดีตที่สูญพันธุ์แล้ว[23]

ชื่อสามัญทั้งหมดของนกแก้วชนิดที่อยู่ในวงศ์นี้มีชื่อเดียวกันกับชื่อในภาษามาวรี[24] คำว่า kākā ในภาษามาวรีมีที่มาจากศัพท์พอลินีเชียดั้งเดิมสมัยโบราณที่แปลว่านกแก้ว[25] Kākāpō เป็นการขยายความเชิงตรรกะของชื่อนั้น เนื่องจากคำว่า หมายถึงกลางคืน ทำให้มีความหมายว่า คากาแห่งราตรี หรือนกแก้วกลางคืน สะท้อนถึงพฤติกรรมการออกหากินในเวลากลางคืนของนกชนิดนี้[26] (ในอักขรวิธีภาษามาวรีสมัยใหม่ รูปเสียงยาวของสระ a และ o เขียนพร้อมกับขีดขวางบนสระ เช่น ā และ ō; สระ ā เสียงยาวในภาษามาวรีออกเสียงคล้ายกับอักษร a ในคำว่า "father" ในภาษาอังกฤษ)[27][28] รากศัพท์ของ kea ในภาษามาวรีไม่เป็นที่กระจ่าง โดยอาจเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติจากเสียงร้อง kee-aah[5][29]

ความสัมพันธ์กับมนุษย์

[แก้]

ความสำคัญต่อชาวมาวรี

[แก้]

นกแก้วมีความสำตัญต่อชาวมาวรีในหลายด้าน พวกเขาล่ามันเป็นอาหาร เก็บไว้เลี้ยง และใช้ขนนกในการทอผ้า[30] เช่น เครื่องใช้อย่างคาฮู ฮูรูฮูรู (เสื้อคลุมขนนก)[31] ขนนกยังใช้ประดับหัวไตอาฮา อาวุธของมาวรี แต่จะนำออกก่อนเข้ารบ[32] หนังคากาโปที่ติดขนนกไว้จะนำมาใช้ทำเสื้อคลุม (kākahu) และเสื้อคลุมสำหรับสวมทับ (kahu kākāpō) โดยเฉพาสำหรับภรรยาและลูกสาวของหัวหน้าเผ่า[32]

สถานะ

[แก้]

จากนกแก้วนิวซีแลนด์ 5 ชนิด คากานอร์ฟอล์ก[9][33] และคากาแชทัม[8]ได้สูญพันธุ์ไปในระยะหลังนี้ โดยคากานอร์ฟอล์กตัวสุดท้ายเท่าที่รู้จักตายในกรงที่ลอนดอนช่วงหลัง ค.ศ. 1851[34] และมีหนังนกที่เหลือรอดเพียง 7[35] ถึง 20 อัน[36] คากาแชทัมสูญพันธุ์หลังจากที่ชาวพอลินีเชียเดินทางมาถึงเกาะเมื่อระหว่าง ค.ศ. 1500 ถึง 1650 ก่อนหน้าชาวยุโรป และรู้จักกันเฉพาะจากกระดูก subfossil[8] ในบรรดานักแก้วนิวซีแลนด์ที่เหลืออยู่ คากาโปมีสถานะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก[10][37] โดยมีเหลือเพียง 244 ตัว (ณ ค.ศ. 2024)[38] คากาบนพื้นดินใหญ่ถูกจัดให้มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์[11][39]ร่วมกับคีอา

ภัยคุกคาม

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nestoridae and Strigopidae are described in the same article, Bonaparte, C.L. (1849) Conspectus Systematis Ornithologiae. Therefore, under rules of the ICZN, the first reviser determines priority, which is Bonaparte, C.L. (1850), Conspectus Generum Avium, E.J. Brill, Leyden.
  2. Christidis L, Boles WE (2008). Systematics and Taxonomy of Australian Birds. Canberra: CSIRO Publishing. p. 200. ISBN 978-0-643-06511-6.
  3. Worthy, Trevor H.; Tennyson, Alan J. D.; Scofield, R. Paul (2011). "An early Miocene diversity of parrots (Aves, Strigopidae, Nestorinae) from New Zealand". Journal of Vertebrate Paleontology. 31 (5): 1102–16. doi:10.1080/02724634.2011.595857. S2CID 86361015.
  4. Worthy, Trevor H.; Hand, Suzanne J.; Archer, Michael; Schofield, R. Paul; De Pietri, Vanesa L. (2019). "Evidence for a giant parrot from the early Miocene of New Zealand". Biology Letters. 15 (8): 20190467. doi:10.1098/rsbl.2019.0467. PMC 6731479. PMID 31387471.
  5. 5.0 5.1 5.2 Forshaw, Joseph M.; Cooper, William T. (1981) [1973, 1978]. Parrots of the World (corrected second ed.). David & Charles, Newton Abbot, London. ISBN 0-7153-7698-5.
  6. Millener, P. R. (1999). "The history of the Chatham Islands' bird fauna of the last 7000 years – a chronicle of change and extinction. Proceedings of the 4th International meeting of the Society of Avian Paleontology and Evolution (Washington, D.C., June 1996)". Smithsonian Contributions to Paleobiology. 89: 85–109.
  7. Forshaw, Joseph Michael (2017). Vanished and vanishing parrots : profiling extinct and endangered species. Collingwood: CSIRO Publishing. p. 19. ISBN 978-1501704697. สืบค้นเมื่อ 17 September 2022.
  8. 8.0 8.1 8.2 Millener, P. R. (1999). "The history of the Chatham Islands' bird fauna of the last 7000 years – a chronicle of change and extinction. Proceedings of the 4th International meeting of the Society of Avian Paleontology and Evolution (Washington, D.C., June 1996)". Smithsonian Contributions to Paleobiology. 89: 85–109.
  9. 9.0 9.1 BirdLife International (2016). "Nestor productus". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T22684834A93049105. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-3.RLTS.T22684834A93049105.en. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
  10. 10.0 10.1 BirdLife International (2018). "Strigops habroptila". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T22685245A129751169. doi:10.2305/IUCN.UK.2018-2.RLTS.T22685245A129751169.en. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021. Database entry includes a range map and justification for why this species is endangered,
  11. 11.0 11.1 BirdLife International (2016). "Nestor meridionalis". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T22684840A93049267. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-3.RLTS.T22684840A93049267.en. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021. Database entry includes a range map and justification for why this species is endangered.
  12. BirdLife International (2017). "Nestor notabilis". IUCN Red List of Threatened Species. 2017: e.T22684831A119243358. doi:10.2305/IUCN.UK.2017-3.RLTS.T22684831A119243358.en. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021. Database entry includes a range map and justification for why this species is endangered.
  13. "Threats to Kākāpō". Department of Conservation Te Papa Atawbai. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-04. สืบค้นเมื่อ 2008-12-31.
  14. "Threats to Kākā". Department of Conservation Te Papa Atawbai. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-31. สืบค้นเมื่อ 2008-12-31.
  15. "Threats to Kea". Department of Conservation Te Papa Atawbai. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-03. สืบค้นเมื่อ 2008-12-31.
  16. 16.0 16.1 Wright, T.F.; Schirtzinger E. E.; Matsumoto T.; Eberhard J. R.; Graves G. R.; Sanchez J. J.; Capelli S.; Muller H.; Scharpegge J.; Chambers G. K.; Fleischer R. C. (2008). "A Multilocus Molecular Phylogeny of the Parrots (Psittaciformes): Support for a Gondwanan Origin during the Cretaceous". Mol Biol Evol. 25 (10): 2141–2156. doi:10.1093/molbev/msn160. PMC 2727385. PMID 18653733.
  17. Grant-Mackie, E.J.; J.A. Grant-Mackie; W.M. Boon; G.K. Chambers (2003). "Evolution of New Zealand Parrots". NZ Science Teacher. 103.
  18. For a discussion about older taxonomic positions, see Sibley, Charles Gald; Jon E. Ahlquist (1991). Phylogeny and Classification of Birds. Yale University Press. For more recent taxonomies, see Christides.
  19. 19.0 19.1 19.2 Leo Joseph, Alicia Toon, Erin E. Schirtzinger, Timothy F. Wright & Richard Schodde. (2012) A revised nomenclature and classification for family-group taxa of parrots (Psittaciformes). Zootaxa 3205: 26–40
  20. Homberger, D. G. (2006). "Classification and the status of wild populations of parrots". ใน Luescher AU (บ.ก.). Manual of parrot behavior. Ames, Iowa: Blackwell Publishing. pp. 3–11. ISBN 978-0-8138-2749-0.
  21. Tokita, M; Kiyoshi T; Armstrong KN (2007). "Evolution of craniofacial novelty in parrots through developmental modularity and heterochrony". Evolution & Development. 9 (6): 590–601. doi:10.1111/j.1525-142X.2007.00199.x. PMID 17976055. S2CID 46659963. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-05.
  22. de Kloet, RS; de Kloet SR (2005). "The evolution of the spindlin gene in birds: Sequence analysis of an intron of the spindlin W and Z gene reveals four major divisions of the Psittaciformes". Molecular Phylogenetics and Evolution. 36 (3): 706–721. doi:10.1016/j.ympev.2005.03.013. PMID 16099384.
  23. Juniper, Tony; Mike Parr (1998). Parrots: A Guide to Parrots of the World. Yale University Press. ISBN 978-0300074536.
  24. "Maori Bird Names". Kiwi Conservation Club. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2010. สืบค้นเมื่อ 12 December 2012.
  25. "Kaakaa". Polynesian Lexicon Online. สืบค้นเมื่อ 2012-02-29.
  26. "kakapo". The American Heritage Dictionary of the English Language: Fourth Edition. 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-20. สืบค้นเมื่อ 2008-12-31.
  27. "The Māori Language – Ko Te Reo". สืบค้นเมื่อ 2009-01-01.
  28. "Māori dictionary". สืบค้นเมื่อ 2009-01-02.
  29. "kea". The American Heritage Dictionary of the English Language: Fourth Edition. 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-18. สืบค้นเมื่อ 2008-12-31.
  30. Evans, Miriama; Ranui Ngarimu; Creative New Zealand; Norman Heke (2005). The Art of Māori Weaving. Wellington, N.Z.: Huia Publishers. ISBN 978-1-86969-161-5.
  31. "Kahu huruhuru (feather cloak)". Museum of New Zealand Te Papa Tongarewa. สืบค้นเมื่อ 2008-12-31.
  32. 32.0 32.1 Tipa, Rob (2006). "Kakapo in Maori lore" (PDF). Notornis. 53: 193–194. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-10-14.
  33. "Norfolk Island Kaka – BirdLife Species Factsheet". BirdLife International. 2008.
  34. Greenway, James Cowan (1967). Extinct and Vanishing Birds of the World (2nd ed.). New York: Dover Publications.
  35. "Nestor productus – Norfolk Island Kaka specimen(s) in the ZMA". Nlbif.eti.uva.nl. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-08. สืบค้นเมื่อ 2008-12-28.
  36. "Naturalis – Extinct bird: Nestor productus (Norfolk Island Kaka)". Nlbif.eti.uva.nl. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-08. สืบค้นเมื่อ 2008-12-28.
  37. "Kakapo – BirdLife Species Factsheet". BirdLife International. 2008.
  38. "Kākāpō Recovery". Department of Conservation. New Zealand. Retrieved 26 September 2024
  39. "Kaka – BirdLife Species Factsheet". BirdLife International. 2008.