ธีโอฟิลลีน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่อทางการค้า | Theolair, Slo-Bid |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
MedlinePlus | a681006 |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ |
|
ช่องทางการรับยา | oral, IV, rectal |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | 100% |
การจับกับโปรตีน | 40%, primarily to albumin |
การเปลี่ยนแปลงยา | hepatic to 1-methyluric acid |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 5–8 ชั่วโมง |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.000.350 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C7H8N4O2 |
มวลต่อโมล | 180.164 g/mol g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
| |
(verify) | |
ธีโอฟิลลีน (อังกฤษ: Theophylline) หรือ 1,3-ไดเมทิลแซนทีน (อังกฤษ: 1,3-dimethylxanthine) เป็นยาประเภทสารขยายหลอดลม ใช้ในการรักษาโรคระบบหายใจ อาทิ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และ โรคหืด
ธีโอฟิลลีนเป็นสารที่สกัดได้จากใบชา ถูกค้นพบโดย อัลเบรชท์ ค็อดเซิล นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันในปี ค.ศ. 1888 จากนั้นมีการนำมาพัฒนาโดยสามารถสังเคราะห์ขึ้นภายในปี ค.ศ. 1900 ในครั้งแรกทีโอฟิลลีนถูกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ จากนั้นก็นำมาใช้รักษาโรคหืด ด้วยมีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอกและปอดคลายตัว ส่งผลให้ภาวะหลอดลมเกร็งตัวทุ เลาเบาบางลง หลังจากร่างกายได้รับยาธีโอฟิลลีน ยาจะถูกส่งไปเปลี่ยนโครงสร้างที่อวัยวะตับ และ 50% ของระดับยาในร่างกายจะถูกกำจัดออกโดยทางปัสสาวะภายในเวลา 5-8 ชั่วโมง ในต่างประเทศสามารถพบรูปแบบของการจัดจำหน่ายยานี้ ทั้งชนิดรับประทาน ชนิดฉีด และชนิดเหน็บทวาร
ธีโอฟิลลีน จัดอยู่ในหมวดยาอันตราย การใช้ยาต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ผู้ทำการรักษาเท่านั้น ไม่สมควรซื้อยามาใช้เอง
การใช้งานทางการแพทย์
[แก้]ผลจากการใช้ธีโอฟิลลีน มีดังต่อไปนี้:
- ขยายหลอดลมของกล้ามเนื้อเรียบ
- เพิ่มแรงบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
- เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ[1]
- เพิ่มความดันโลหิต
- เพิ่มการไหลเวียนโลหิตที่ไต
- ป้องกันการเกิดการอักเสบ
- ระบบประสาทกลางไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมการหายใจที่สมองส่วนใน
ข้อควรระวัง
[แก้]การใช้ยาทีโอฟิลลีนร่วมกับยาแก้ปวดบางประเภท อาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอา การชัก โดยเฉพาะการนำมาใช้กับผู้ที่เคยมีประวัติด้วยโรคลมชัก ผู้ที่ติดเหล้า ผู้สูงอายุ ผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บที่สมอง หรือผู้ที่ป่วยเป็นเนื้องอกสมอง ยาแก้ปวดดังกล่าว เช่น Tramadol การใช้ทีโอฟิลลีนร่วมกับยาลดความดันโลหิตบางกลุ่ม สามารถลดประสิทธิภาพในการควบคุมความดันโลหิตของยาลดความดันโลหิตให้ด้อยประสิทธิภาพลงไป พร้อมกับมีอาการต่างๆเหล่านี้ตามมาเช่น คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ มือเท้าสั่น หายใจติดขัด เป็นต้น ยาลดความดันโลหิตที่กล่าวถึง เช่น Acebutolol, Atenolol, Esmolol, Metoprolol และ Nadolol เป็นต้น
การใช้ทีโอฟิลลีนร่วมกับยาปฏิชีวนะ บางประเภทสามารถทำให้ปริมาณยาทีโอฟิลลีนในกระแสเลือดมีระดับสูงขึ้น จนอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงตามมา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ชัก ใจสั่น
การใช้ทีโอฟิลลีนร่วมกับการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาเฟอีน สามารถกระตุ้นให้เกิดผลข้างเคียงของทีโอฟิลลีนติดตามมาเช่น คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ มือเท้าสั่น เป็นต้น จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาทีโอฟิลลีนร่วมกับการดื่มหรือรับประทานอาหารที่มีกาเฟอีนเป็นส่วนผสม